ภาพและคำอธิบายประกอบ

Figure 159 : Seminiferous tubule (ST) ตัดตามขวางแสดงระยะต่าง ๆ ในขบวนการ spermatogenesis เนื้อผิวที่ดาดท่อเป็นชนิด stratified cuboidal epithelium บริเวณ interstitial supporting tissue (ST) พบกลุ่มเซลล์พวก Interstitial (Leydig) cell (IC) of testis สร้าง และหลั่ง male sex hormones (testosterone) ให้สังเกต extensive eosinophilic cytoplasm ในระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนบรรจุ lipid vacuoles หลาย ขนาด และมักพบกลุ่มของเส้นเลือดฝอยและน้ำเหลืองอยู่ใกล้กับ Leydig cells

      การหลั่ง testosterone อยู่ภายใต้การควบคุมของ pituitary gonadotrophic hormone คือ interstitial cell stimulating hormone (ICSH)

Figure 160 : ภาพขยายใหญ่ของขบวนการ spermatogenesis เริ่ม Spermatogonia (spg) เป็น germ cells พบติดอยู่กับ basement membrane (bm) ของ seminiferous epithelium เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวโดยวิธี mitosis ให้เป็น stem cells คือ type A spermatogonia และ spermatogonia Type B ไม่ต้องแยกชนิด Type A และ Type B แต่ความเป็นจริงแล้วมีข้อแตกต่างตรงที่ Type A มีนิวเคลียส์ที่กลมขนาดใหญ่ และ chromatin ติดสีเข้ม มีนิวเคลียส์โอลายติดกับ nuclear membrane ส่วน Type B มี chromatin กระจายและนิวเคลียส์โอลายอยู่กลางนิวเคลียส์

      Spermatogonia Type B เข้าสู่ระยะแรกของการแบ่งตัวแบบ meiosis ให้เป็น primary spermatocyte (spc) มี cytoplasm เห็นชัด นิวเคลียส์ขนาดใหญ่ บรรจุกลุ่มของ chromatin แบบหยาบหรือเป็นเส้นบาง ๆ หลังจากนั้น 3 อาทิตย์ มีการแบ่งตัวต่อไปได้ เป็น secondary spermatocyte ระยะนี้เร็วมาก (มักไม่เห็นเซลล์ในระยะนี้) และแบ่งต่อ ไปเข้าระยะที่สองของ meiosis ให้เป็น spermatid (spt) ต่อมาเกิดขบวนการ spermiogenesis ซึ่ง spermatids เปลี่ยนรูปร่างจากเซลล์กลมมีนิวเคลียส์กลายเป็น mature spermatozoon โดยมีหางที่เคลื่อนได้ ขบวนการในระยะนี้นิวเคลียส์ของ spermatids มี ขนาดเล็กลงติดสีเข้มและมีลักษณะยาว ส่วน golgi apparatus กลายเป็น acrosomal head cap (ศึกษาอย่างละเอียดในตำรา)

      Sertoli cell (s) ทำหน้าที่เกื้อหนุนขบวนการเจริญของ spermatogenesis เซลล์นี้มี นิวเคลียส์เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ มีนิวเคลียส์โอลัสเด่นชัด ส่วนโครมาติมกระจาย ในระดับ L/M นั้น cytoplasm ไม่เด่นชัด แต่ในระดับกล้องจุลทรรน์อิเลคตรอนพบว่ามี cytoplasm มากและแผ่กระจายตลอดทั่วเนื้อผิวที่สร้างตัวเซลล์อสุจิ มักพบเซลล์ทุกระยะ ของ spermatogenesis เกาะที่ผิวของ sertoli cells.

      Basal layer ของ germinal cells รองรับด้วย basement membrane (bm) ซึ่งล้อม รอบด้วย lamina propria ที่บรรจุ spindle-shaped fibromyocytes (myoloid cells) ซึ่ง มีหน้าที่สร้าง collagen และ elastic fibers ในขณะเดียวกันมีการหดตัวเพื่อช่วยให้มี การเคลื่อนที่ของ spermatozoa ผ่านตามท่อ

Figure 161 : ภาพ A ภาพวาดตัดตามยาว ของลูกอัณฑะ แสดงท่อทางเดินชนิดต่าง ๆ ที่ลำเลียงตัวอสุจิม ภาพ B แสดงลักษณะโครงสร้างของ rete testis พบอยู่ใน Mediastinum testis, โครงสร้าง Seminiferous tubules ที่บรรจุอยู่ในแต่ละ lobule ต่อออกมาเป็นท่อตรงเรียก tubuli recti และมารวมกันเป็นร่างแห rete testis ( R ) ณ บริเวณ Mediastinum testis บริเวณ rete testis มี vascular collagenous supporting tissue ล้อมรอบจำนวนมาก ภาย ในท่อของ rete testis ดาดด้วย เซลล์เนื้อผิวทรงลูกเต๋าชั้นเดียวที่มี surface microvilli และ a single flagellum

       ภาพวาดมาจาก Histology : A Text and Atlas by Ross et.al, Chapter 21, pp 637.

Figure 162 : Ductutes efferens เริ่มจาก rete testis เทลงสู่ส่วนหัวของ epididymis โดยผ่านเข้าทาง ductuli efferentes ภายในท่อนี้ดาดด้วยเนื้อผิว (Ep) ชั้นเดียวที่ประกอบด้วยเซลล์ สองลักษณะคือ tall columnar and ciliated และอีกชนิด short and non-ciliated cells เซลล์ทั้ง 2 ชนิดมักบรรจุเม็ดสีน้ำตาลใน cytoplasm หน้าที่ของเซลล์ที่มี cila คือ พัดโบกให้ non-motile spermatozoa เคลื่อนออกไปสู่ epididymis ส่วน non-ciliated cells ดูดซับของเหลวที่สร้างมาจาก testis ส่วนผนังชั้นกล้ามเนื้อเรียบนั้นเรียงเป็น วงล้อมรอบ ductulus มีส่วนร่วมบีบให้การเคลื่อนของ spermatozoa ออกสู่ epididymis สังเกตผิวบนของเนื้อผิวที่ดาดท่อชนิดนี้มีลักษณะเป็นคลื่น
Figure 163 : Ductus Epididymis พบในส่วนหัว และตัว ของ epididymis ซึ่งประกอบด้วย ท่อยาวมาก และขดม้วนลงมาเกาะบริเวณด้านหลังจากขั้วบนของ อัณฑะลงมาอยู่ที่ขั้วล่าง แล้วจึงต่อให้เป็นส่วนของ ductus deferens หน้าที่ของ epididymis เป็นส่วนที่เก็บขัง spermatozoa (Sp) ไว้ชั่วคราวเพื่อให้ spermatozoa มีการ เจริญเติบโตเต็มที่ในระยะนี้ spermatozoa เริ่มเคลื่อนที่เองได้

       ท่อ epididymis ดาดด้วย pseudostratified columnar epithelium (Ep) ที่มี stereocilia, Sc (มุมล่างซ้าย : ศรชี้ที่ stereocilia) หน้าที่ของ long microvilli or stereocilia เข้าใจว่าเกี่ยวกับดูดซับของเหลวส่วนเกินที่ปนมากับ spermatozoa จาก อัณฑะ

Figure 164 : Ductus (vas) deferens เป็นท่อที่นำ spermatozoa มาจาก epididymis และผ่านออกจาก ejaculatory duct ไปยัง prostatic urethra ผนังของท่อ ส่วนนี้ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ (M) หนา 3 ชั้น คือ ด้านในและ นอกกล้ามเนื้อเรียงตัวตามความยาว ส่วนตรงกลางกล้ามเนื้อเรียงตัวเป็นวงกลมหนา เส้นประสาทที่มายังท่อส่วนนี้เป็น sympathetic nervous system ที่ทำให้เกิด peristaltic contraction อย่างแรง เพื่อดัน spermatozoa ออกมายัง urethra ในขณะที่ เกิดการหลั่งของน้ำอสุจิ ผนังชั้นนอกสุดคือชั้น adventitia (ad)

       ท่อส่วนนี้ดาดด้วย pseudostratified stereociliated columnar epithelium (Ep) เหมือนกับ ductus epididymis เนื้อผิวรองรับด้วย lamina propria (lp) ปลายสุดของ ductus deferens ขยายออกเป็นกระเปาะเรียกว่า ampulla และมีท่อสั้นจาก seminal vesicle มาเปิด ร่วมก่อนที่รวมกันเป็นท่อเดียวสั้นเรียกว่า ejaculatory duct ซึ่งแต่ละข้างมาเปิดออก สู่ prostatic urethra

Figure 165 : Seminal vesicle มี 1 คู่ แต่ละข้างประกอบด้วย glandular diverticulum ที่ยุ่งยาก มีท่อเปิดออกร่วม กับ ductus deferens ท่อแต่ละ seminal vesicle คดเคียวมีลักษณะคล้ายรังผึ้งเนื้อผิวที่ ดาดเป็น pseudostratified epithelium ที่มีทั้ง columnar or cuboidal cells and small round basal cells (ภาพขยายในภาพที่ 166)

       M = Mucosal fold ที่ต่อเนื่องกันมาก m = muscular wall ที่เด่นชัด มี 2 ชั้น ชั้นในเรียงเป็นวงกลมชั้นนอกเรียงตามยาวและมี sympathetic nervous system มาเลี้ยง

       หน้าที่ของ seminal vesicle หลั่งของเหลวให้เป็นอาหารแก่ spermatozoa พบว่าครึ่งของ seminal fluid สร้างมาจาก seminal vesicle ที่เหลืออีกครึ่งหลั่งมา จากต่อมลูกหมากขณะที่มีการหลั่งของน้ำอสุจิ กล้ามเนื้อเรียบจะบีบให้หลั่งของเหลว จาก seminal vesicle ผ่านร่วมกับ ampulla ออกสู่ prostatic urethra ทาง ejaculatory duct

Figure 166 : ภาพขยาย mucosal fold ของ seminal vesicle เซลล์เนื้อผิวประกอบ columnar (ศรชี้) หรือ cuboidal cells และ small round basal cells เนื่องจากเซลล์ชนิดสุดท้ายแทรก ห่าง ๆ ระหว่าง columnar cell ทำให้เนื้อผิวดูไม่เหมือน pseudostratified cells, c = core หรือ แกนของ mucosal fold.
Figure 167 : Prostate gland (ต่อมลูกหมาก) เป็นต่อมขนาดใหญ่ ล้อมรอบส่วนแรกของท่อ urethra ประกอบด้วย 30-50 tubuloalveolar glands ฝังอยู่ในเนื้อ fibroelastic stroma (fs) ภายใน stroma พบ กลุ่มของกล้ามเนื้อเรียบ บางครั้งเรียกเนื้อต่อมลูกหมากว่า fibromuscular stroma มี ท่อออกจากต่อมเนื้อลูกหมากเทเข้าสู่ prostatic urethra โดยผ่านแกนกลางของต่อม ลูกหมากพบว่า mucosal fold (m) แตกแขนงและมีแกนกลางเป็น lamina propria เนื้อผิวที่ดาดเป็นทั้งชนิด simple และ pseudostratified ที่ประกอบด้วย tall cuboidal or columnar (co) ที่มี basal cells (bc) แทรกอยู่ในระยะที่ห่าง (มุมล่างซ้าย) พบมี prostatic concretion (Pc) or corpora amylacea ซึ่งเป็น lamellated glycoprotein อยู่ภายใน lumen ของ ต่อมลูกหมาก

       หน้าที่ของต่อมลูกหมากสร้าง และหลั่งของเหลวประมาณครึ่งหนึ่งปนกับ ของ seminal fluild มีลักษณะข้นคล้ายน้ำนมประกอบด้วย citric acid, hydrolytic enzymes ที่สำคัญ คือ fibrinolysin ที่ละลาย coagulated semen ที่เกาะภายใน female genital tract