![]() |
![]() |
อาการปวดท้อง เป็นอาการนำ
ที่สำคัญที่สุด
โดยเริ่มจากบริเวณ รอบสะดือหรือ
epigastrium ตอนล่าง ปวดค่อนข้างมาก
ปวดตื้อตลอดเวลา
ร่วมกับมีการปวดบิด
เป็นครั้งคราว จากนั้น 4-6 ชั่วโมง
จะเริ่มย้าย ไปปวดที่บริเวณ right lower
quadrant ผู้ป่วยบางราย อาจเริ่มต้น
ปวดที่ตำแหน่งนี้ ตั้งแต่ต้น ตำแหน่งของปลายไส้ติ่ง เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วย มีอาการปวดท้อง ที่ตำแหน่งต่างๆ กัน ผู้ป่วยที่มีไส้ติ่งอยู่ในretro cecal position อาจมีอาการปวดเอว ค่อนไปหลัง ไส้ติ่งที่ยาว และปลายยื่นไปด้านซ้าย อาจทำให้ปวดตรง Lt. lower quadrant ถ้าปลายยื่น ไปด้านบน อาจปวดตรง Rt. upper quadrant, retroileal type อาจปวดลงไปใน testis จากการระคายเคือง ของ spermatic artery และ ureter ผู้ป่วยที่มี malrotation ของลำไส้ cecum จะอยู่ผิดที่ไป ทำให้มีการปวด ในตำแหน่งที่ผันแปร มากขึ้นไปอีก |
|
อาการเบื่ออาหาร ( anorexia ) เป็นอาการสำคัญ มากที่สุด อย่างหนึ่ง ของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ถ้าผู้ป่วย ไม่มีอาการ เบื่ออาหารเลย แพทย์จำเป็น ต้องทบทวน การวินิจฉัยอีกครั้ง อาการอาเจียน มีได้ประมาณ 75% มักเป็นเพียงครั้ง หรือสองครั้ง ผู้ป่วยบางราย มีท้องเสีย แต่บางราย ก็มีอาการไม่ถ่าย ไม่ผายลม | |
ผู้ป่วยมักมีคลื่นไส้
นำมาก่อนตามด้วย
ปวดท้องแล้วจึงอาเจียน (พบได้ 95%)
หากผู้ป่วย
มีอาเจียนก่อนปวดท้อง อาจไม่ใช่
ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน การตรวจร่างกาย จะมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะวินิจฉัย ว่ามีการอักเสบของไส้ติ่ง จริงหรือไม่ และถ้ามี ไส้ติ่งอักเสบนั้น แตกทะลุแล้วหรือยัง ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ มักจะมีไข้เล็กน้อย หรืออาจยังไม่มีไข้ pulse rate ปกติ หากมีไข้สูง pulse เร็วมักมีการแตกทะลุ หรือเน่าตายแล้ว ผู้ป่วยมักชอบนอนนิ่งๆ และงอขาขวา เล็กน้อยเวลาไอ หรือเดิน จะเจ็บที่ช่องท้องน้อย ด้านขวา และเดินตัวงอ Mc Burney เป็นคนบรรยาย ตำแหน่งของจุด ที่กดเจ็บที่สุด บนหน้าท้อง ว่าอยู่ประมาณ 1.5-2 นิ้ว จากanterior superior iliac spine บนเส้นที่ลากจาก anterior superior iliac spineไปยัง umbilicus และมี rebound tebderbess + ve ซึ่งบ่งว่ามี peritoneal irritation Rovsing's sign หมายถึง อาการเจ็บปวด ที่ท้องน้อยด้านขวา เมื่อผู้ตรวจกดตรงท้องน้อยด้านซ้าย Cutaneous hyperesthesia พบได้บ่อยในบริเวณที่เลี้ยงด้วย T10 ถึง T12 ด้านขวา บางครั้งเป็น sign แรก ๆ ที่ตรวจพบในผู้ป่วย วิธีตรวจ โดยใช้นิ้วชี้ และนิ้วโป้ง หยิบดึงหนังใน area ดังกล่าว ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก Muscle resistance มักจะมากขึ้น ตามการอักเสบของไส้ติ่ง ระยะแรกอาจเป็น voluntary guarding ต่อมาจะเป็น Involuntary guarding ทั้งนี้ก็ขึ้นกับ ตำแหน่งปลายไส้ติ่งด้วย ในretrocecal type ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวด ไปด้านข้าง และหลังมากกว่าหน้าท้อง, pelvic type อาจพบ การตรวจ positive จากการตรวจ per rectum เท่านั้น และแทบไม่มี sign ทางหน้าท้องเลย Psoas sign บ่งให้รู้ว่า การอักเสบ อยู่ชิดกับตัวกล้ามเนื้อ ตรวจโดยให้ผู้ป่วย นอนตะแคงซ้าย คนตรวจ extend ขาขวา ผู้ป่วยมีอาการปวด เพิ่มขึ้น Obturator sign ตรวจโดยผู้ตรวจทำ internal rotation ของต้นขาขวา ของผู้ป่วย ขณะนอนหงาย มักพบใน pelvic type ของไส้ติ่งอักเสบ |
|