โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยมีพยาธิไส้เดือนกลมประมาณ
5-10 ตัว มักจะไม่ปรากฏอาการ ให้ทราบ นอกจากจะได้รับการตรวจอุจจาระหรือพยาธิตัวแก่ปนออกมากับอุจจาระเอง
สำหรับในผู้ป่วยที่มีอาการ อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ
มีอาการปวดท้อง (vague abdominal pain) ระดับเม็ดเลือดขาวชนิด
eosinophil ในเลือดจะสูง (eosinophilia) โดยเฉพาะช่วงที่ตัวอ่อนไชผ่านอวัยวะต่างๆ
ตัวพยาธิเองจะก่อให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อน้อยมาก
แต่สารหลั่งจากพยาธิทั้งที่มีชีวิตอยู่และตาย
อาจทำให้เกิดภาวะแพ้ในคนไข้ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่พยาธิมี
lung migration พยาธิอาจกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโรค
(immune responses) ของผู้ป่วย และส่งผลให้เกิดภาวะภูมิแพ้
(allergic manifestation) ในผู้ป่วยบางรายพยาธิไส้เดือนกลมอาจทำให้เกิดอาการ
Loefflers syndrome และ tropical eosinophilia ได้จากการเคลื่อนที่ของตัวอ่อน
มีอาการหอบหืด (asthmatic attack) มีการบวมของริมฝีปาก
(edema of lips) หรือปอดมี pulmonary infiltration ได้
เคยมีรายงานจากการทดลองพบว่า
ผู้ที่รับประทานไข่พยาธิไส้เดือนที่มีระยะติดต่อเป็นจำนวนมากถึง
2,000 ฟอง ทำให้เกิด hemorrhagic pneumonia ได้
ในบางครั้งการเคลื่อนที่ของพยาธิไส้เดือนกลมตัวแก่อาจก่อให้เกิดผลที่รุนแรง
และบางครั้งผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตายได้
หรือในบางกรณีพยาธิตัวแก่อาจถูกขย้อน
(regurgitated) ขึ้นมา และถูกอาเจียน (vomited) ออกมา หรือออกมาทางจมูก
ในบางกรณีมีรายงานพบตัวแก่เข้าไปอยู่ในระบบทางเดินน้ำดี
(bile ducts) ถุงน้ำดี (gall bladder) ตับ และไส้ติ่งได้
นอกจากนี้พยาธิตัวแก่อาจจะหลุดไปอยู่บริเวณ
ampulla of vater และทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
ชนิด acute hemorrhagic pancreatitis พยาธิตัวแก่เหล่านี้อาจนำเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมาจากลำไส้ไปที่อวัยวะต่างๆ
ดังกล่าว ก่อให้เกิดภาวะติดเชื้ออักเสบและเป็นฝี
(abscess) ได้ พยาธิตัวแก่อาจทำให้ผนังลำไส้ทะลุและไปสู่บริเวณช่องท้อง
(peritoneal cavity) และทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
(peritonitis) หรือเคลื่อนออกไปบริเวณสะดือ (umbilicus)
ของเด็ก หรือบริเวณขาหนีบ (inguinal region) ในผู้ใหญ่
นอกจากนี้ภาวะลำไส้อุดตัน (intestinal obstruction) ตลอดจน
intestinal volvulus และ intussusception ก็สามารถพบได้ พบว่าภาวะที่ผู้ป่วยมีไข้และยาบางชนิดมีผลต่อการเคลื่อนที่พยาธิตัวแก่
ผู้ป่วยอาจมีอาการนอนไม่หลับและไม่เจริญอาหาร
ตลอดจน |