Membranous Organelles
8. Nucleus

ภาพที่ 1A

ภาพที่ 4A

ภาพที่ 1B


ภาพที่ 3A

    พบอยู่กลางเซลล์ ล้อมรอบด้วยผิวเปลือก ที่เรียกว่า nuclear envelope หรือ nuclear membrane ส่วนใหญ่นิวเคลียสรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 1-14 ไมโครเมตร (ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์)

 

ในการย้อม H&E ติดสีม่วงน้ำเงิน ภายในบรรจุ nuclear sap (karyoplasm) ซึ่งประกอบด้วย สารละเอียด จับกันเป็นกลุ่ม มีผิวและขนาดไม่สม่ำเสมอ เรียก chromatin และมีก้อนทรงกลม  1-2 ก้อน ติดสีเข้ม เรียก nucleolus

ภาพที่ 2A

ภาพที่ 5A
    โครมาติน ประกอบด้วย nucleic acids ที่สัมพันธ์กับโปรตีนฮิสโตน nucleic acid ชนิดหลัก และสำคัญของ chromatin คือ deoxyribonucleic acid (DNA) ซึ่งติดสีเฉพาะกับ Feulgen reaction พบว่า DNA มี 2 สภาวะ คือสภาวะ inactive เรียกว่า condensed chromatin (heterochromatin) ติดสีเข้ม และสภาวะ active transcription เรียก dispersed หรือ extended chromatin (euchromatin) ติดสีอ่อนกว่าสภาวะแรก ส่วน nucleolus เป็นแหล่งสร้าง ribonucleoprotein และไม่ให้ปฏิกริยาบวกกับ Feulgen reaction

ภาพที่ 1B
    จากภาพ TEM (รูปภาพที่ 1B) nuclear envelope มีลักษณะเป็น unit membrane 2 ชั้น ขนานกัน มีช่องกลาง เรียก perinuclear cisternae ห่างกัน 10-30 นาโนเมตร ผิวเปลือกแผ่นนอก (outer membrane) มี ribosomes มาเกาะ และต่อเนื่องกับผิวเปลือก ของ rER พบ nuclear pore ใน nuclear envelope เพราะใช้เป็นช่องทางติดต่อระหว่าง nucleoplasm และ cytoplasm จำนวน nuclear pores มีตั้งแต่ 12 จนถึงเป็นพัน ขึ้นอยู่กับเมตตาบอลิซึม ในการทำงานของเซลล์ การกระจายของ nuclear pores ไม่เป็นระเบียบ บางตำรากล่าวว่าพบมี pore diaphragms