รูปภาพที่
1
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด simple squamous epithelium พบดาด lumen ของ loop
of Henle ซึ่งเป็นท่อไตส่วนที่บางพบอยู่ใน
renal medullaหัวศรชี้นิวเคลียสของ
simple squamous cell ถ้าตัดชิ้นเนื้อตามขวาง เซลล์เหล่านี้มีลักษณะคล้ายกระสวยมี
oval nuclei เด่นชัด เมื่อศึกษาผิวด้านบนของเซลล์ มีลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้อง
โดยแต่ละเซลล์เชื่อมติดต่อกัน เป็นแผ่นบาง เซลล์เนื้อผิวชนิดนี้ดาดใน
lumen ของหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง ช่องหัวใจ เรียกว่า endothelial
cells แต่ถ้าดาดในช่องต่างๆ ภายในร่างกายเรียก mesothelium |
|
รูปภาพที่
2
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด simple cuboidal epithelium พบดาดท่อไตส่วนต้น
ของ collecting tubule รูปร่างของเซลล์คล้าย ลูกเต๋า มีนิวเคลียสกลมอยู่กลางเซลล์
เยื่อผิวเปลือกด้านข้างของเซลล์ เห็นขอบเขตชัด ในบางเซลล์ |
|
รูปภาพที่
3
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด simple columnar epithelium พบดาดท่อไตส่วน collecting
duct ลักษณะเซลล์เรียงตัวชั้นเดียวรูปทรงกระบอก มีนิวเคลียสยาว พบบริเวณฐานของเซลล์
ให้สังเกต basement membrane (ภาพขวา) มีลักษณะเป็นเส้นแยก
หรือกั้นเนื้อผิวออกจากเนื้อประสานที่รองรับ ส่วนกรอบเล็กบน-ซ้าย ของภาพขวา
เป็น ganglion cells สาธิต เส้น mitochondria (ศรชี้) |
รูปภาพที่
4
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด simple columnar epithelium พบดาดลำไส้เล็กส่วน
duodenum ให้สังเกตเยื่อผิวเปลือก ด้านบนของเซลล์
มีส่วนยื่นออกเป็น brush border (bb) หรือ microvilli ส่วนเส้นสีเข้มอยู่ระหว่าง
brush border และ apical cytoplasm คือ terminal web (ส่วนของ cytoplasm
ใต้ต่อ apical cell membrane) ซึ่งเป็น บริเวณที่ microvilli ฝังตัวอยู่
ตรงบริเวณใสแทรกอยู่ใน เซลล์เนื้อผิว คือ goblet cell เป็นเซลล์มีลักษณะคล้าย
แก้วไวน์ ที่ฐานแก้วเป็นที่อยู่ของนิวเคลียส ส่วนโครงสร้าง ทรงกลมสองอันที่ทับอยู่บน
apical cytoplasm ของเซลล์ คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เคลื่อนผ่านเนื้อผิวออกมา |
|
รูปภาพที่
5
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด simple ciliated (c) columnar epithelium ดาดในท่อรังไข่
เซลล์รูปทรงกระบอก มีนิวเคลียสยาวตาม รูปทรงของเซลล์ เยื่อผิวเปลือกด้านบนมีส่วนยื่น
เป็น cilia (c) ให้สังเกตเซลล์เนื้อผิวบางตัวไม่มี
cilia |
|
รูปภาพที่
6
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด Pseudostratified columnar epithelium with cilia
(ย้อมสี Mallory พวกใย collagen ติดสีฟ้า) พบดาดหลอดลม ขนาดใหญ่และกลาง
เช่น trachea และ bronchi การเรียงตัวของพวกเซลล์คล้าย หลายชั้น เพราะระดับของนิวเคลียสไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน
เนื่องจากพวกเซลล์แม้นตั้งอยู่บนฐานระดับเดียวกัน แต่มีความสูงต่ำไม่เท่ากันตลอด
Cilia พบที่เยื่อผิวเปลือกส่วนยอดของเซลล์ ทำหน้าที่
พัดโบกฝุ่นละออง และเมือก แต่ละ cilium กำเนิดมาจาก basal body ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับ
centriole (กลับไปทบทวนในบทที่
1) basal bodies พบบริเวณ apical cytoplasm ใต้ต่อ apical cell
membrane นั่นคือ terminal web |
|
รูปภาพที่
7
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด Pseudostratified columnar epithelium with stereocilia
พบดาดท่อนำอสุจิส่วน ductus epididymis
โครงสร้าง stereocilia เป็นส่วนของ apical cell
membrane modification มีลักษณะยาวคล้าย cilia แต่มีองค์ประกอบทางโมเลกุลคล้าย
microvilli (กลับไปทบทวนในบทที่ 1) |
|
รูปภาพที่
8
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด stratified squamous epithelium with keratin
(k) ของหนังกำพร้าในส่วนฝ่ามือฝ่าเท้า ให้สังเกตพวกเซลล์ชั้นฐาน
มีลักษณะเป็น cuboidal cells และนิวเคลียส มี mitotic ctivity สูง
หน้าที่ของ keratin (ขี้ไคล) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ช่วยปกป้องและคลุมพวกเซลล์เนื้อผิว
ที่อยู่ข้างใต้ ไม่ให้เกิดการถลอก (abrasion) ได้ง่าย |
|
รูปภาพที่
9
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด stratified squamous epithelium ชนิด non-keratin
พบดาด lumen ของหลอดอาหาร (oesophagus) และช่องคลอด (vagina) พวกเซลล์
ชั้นเดียวตรงบริเวณฐานของเนื้อผิว มีลักษณะรูปทรงลูกเต๋า และมีนิวเคลียสกลม
ซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นแบน เมื่อพวก เซลล์เหล่านี้แบ่งตัว และเลื่อนขึ้นไปแทนที่เซลล์ที่อยู่ชั้น
ผิวบน เป็นขบวนการที่เกิดในเนื้อผิวชนิดนี้เรียก cell desquamation |
|
รูปภาพที่
10
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด stratified cuboidal epithelium พบเป็นชั้นเปลือกหุ้ม
mature follicle ในรังไข่ (ovary) เรียกพวกเซลล์เหล่านี้ว่า granular
cells หรือ follicular cells
หัวศรชี้พวกเซลล์ที่อยู่ชั้นแรก (ฐาน)
ให้สังเกตนิวเคลียสของเซลล์มีลักษณะกลม
เรียงกันหลายชั้น |
|
รูปภาพที่
11
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด stratified columnar epithelium (ep) พบดาดท่อขนาดใหญ่
นำสิ่งคัดหลั่งออกจากเนื้อต่อมมีท่อ เช่น ต่อมน้ำลาย ขนาดใหญ่ทั้ง
3 ชนิด บางตำราเรียกเนื้อผิวชนิดนี้ว่า ductal epithelium |
|
รูปภาพที่
12
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด transitional epithelium พบดาดท่อนำน้ำปัสสาวะออก
เช่น renal calyces, ureter และ urinary bladder (กระเพาะปัสสาวะ)
เซลล์เนื้อผิวมีหลายชั้น และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เพื่อการตอบสนองต่อปริมาณของน้ำปัสสาวะที่ผ่าน
หรือเก็บไว้ โดยมีการหดหรือยืด ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังท่อ
เช่น เมื่อมีการผ่านออกของน้ำปัสสาวะที่มีจำนวนน้อย หรือมาก ในสภาวะที่ไม่มีการยืดของผนัง
พวกเซลล์ ชั้นบน (2-3 แถว) มีรูปทรงเป็นลูกเต๋าและนูนออก ถ้าอยู่ ในสภาวะผนังยืด
พวกเซลล์จะแบน แต่แบนไม่มากเท่า ที่พบใน squamous epithelium |
|
รูปภาพที่
13
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวแสดงลักษณะโครงสร้างของ Striated Border (SB) หรือ
Microvilli ซึ่งเป็น apical cell membrane modification ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเพิ่มเยื่อผิวเปลือกด้านบน
ของเซลล์ เพื่อการดูดซึม และเป็นแหล่งมีการย่อยอาหาร ให้โมเลกุลเล็กลง
ก่อนการดูดซึม |
|
รูปภาพที่
14
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวกำลังขยายใหญ่ขึ้นจากรูปภาพที่ 6 แสดงลักษณะของ Cilia
(C) ให้สังเกต เส้นใย collagen ที่บริเวณฐานของเนื้อผิว
ติดสีฟ้า เนื่องจากการเนื้อเยื่อนี้ย้อมสีชนิด Mallory Azan |
|
รูปภาพที่
15
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวขยายใหญ่จากรูปภาพที่ 7 แสดงลักษณะโครงสร้างของ stereocilia
(SC) ทำหน้าที่เคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่พัดโบก |
|
รูปภาพที่
16
|
ภาพถ่ายเนื้อผิวชนิด stratified squamous epithelium กำลังขยายใหญ่
ศรชี้ ลักษณะโครงสร้างของ intercellular bridges เป็น lateral
cell membrane modification ในระดับภาพอิเล็กตรอน คือ Macula adherens
ทำหน้าที่ยึดติดกับเซลล์ข้างเคียง |
|
รูปภาพที่
17
|
ภาพถ่ายแสดงองค์ประกอบของเนื้อต่อมมีท่อ ซึ่งประกอบด้วย secretory
units และ excretory units โดย secretory unit มีลักษณะเป็น Acinus
ประกอบด้วย Acinar cells มี myoepithelial cells โอบรัด (หน้าที่บีบรัดช่วยนำน้ำคัดหลั่งออก)
และรองรับด้วย Basal lamina ส่วน excretory unit เริ่มจาก intercalated
duct (ยังคงมี myoepithelial cells โอบรัด), striated duct และ main
excretory duct (ไม่ได้แสดง) (ภาพวาดโดย L.R. Johnson, 1981) |
|
รูปภาพที่
18
|
ภาพถ่ายเนื้อต่อมน้ำลายชนิด sublingual salivary gland ซึ่งมี mucous
acinus cells เด่นชัดกว่า serous acinus cells สิ่งที่ mucous cells
สร้าง มีลักษณะเป็นเมือกใน H&E section เห็นใสอยู่บริเวณ apical
cytoplasm ส่วนนิวเคลียสมีลักษณะแบน พบใกล้ฐานของเซลล์
organelles สำคัญที่ทำหน้าที่สร้างน้ำเมือก
คือพวก rough endoplasmic reticulum และ Golgi apperatus ส่วน striated
duct (ลูกศรชี้) ดาดด้วยเนื้อผิวชนิด low columnar cells ที่มีลาย
บริเวณ basal cytoplasm เรียกว่า basal striation ซึ่งในระดับภาพ อิเลคตรอน
ประกอบด้วย basal cell membrane infoldings ที่มี Mitochondria แทรก |
|
รูปภาพที่
19
|
ภาพถ่าย Goblet cells (gc) แทรกท่ามกลางเนื้อผิว ที่ดาดลำไส้ส่วน Ileum
(ย้อมสีพิเศษ) และจัดเป็น unicellular exocrine gland เนื้อผิวดาดลำไส้
เป็นชนิด simple columnar epithelium ที่มี brush border (sb = striated
border) cytoplasm ของ goblet cells ใส เพราะบรรจุ secretory granules
พวก mucin จำนวนมาก และถูกละลายออกในขบวนการเตรียมชิ้นเนื้อ นิวเคลียสของเซลล์มีลักษณะยาว
ติดสีเข้ม พบที่ฐานของ เซลล์ ให้สังเกตรูปร่างของ goblet cells คล้ายแก้วไวน์
ก้านของแก้วไวน์เป็นที่อยู่ของนิวเคลียส |
|
รูปภาพที่
20
|
ภาพถ่ายอวัยวะอัณฑะในส่วน seminiferous tubules ซึ่งจัดเป็น cytogenic
exocrine gland เพราะสร้างและหลั่งพวกเซลล์อสุจิ เนื้อผิวที่ ดาดท่อ
เป็นชนิด stratified cuboidal epithelium นอกจากนั้น พบกลุ่มพวกเซลล์ที่
หลั่งฮอร์โมนอยู่ระหว่าง seminiferous tubules คือ Ledig's cells (ไม่ได้แสดง)
ดังนั้น testis จัดเป็น mixed-exo-endocrine gland |
|
รูปภาพที่
21
ภาพถ่ายหนังแท้แสดงลักษณะโครงสร้าง sebaceous gland (Sg) (ต่อมไขมัน) และจัดเป็น
Holocrine exocrine gland ทำหน้าที่สร้างและหลั่งพวกไขมัน (sebum) ออกทางท่อ
เซลล์ของเนื้อต่อมประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มี cytoplasm ติดสีใส เนื่องจากบรรจุพวก
lipid droplets จำนวนมาก แต่ถูกสารละลายในขบวนการเตรียมชิ้นเนื้อ ละลายออกไป |
รูปภาพที่
22
|
ภาพถ่ายหนังแท้แสดงลักษณะโครงสร้าง ต่อมเหงื่อชนิด Apocrine sweat
gland ลักษณะสำคัญของพวกเซลล์เนื้อต่อม คือ พบ AP = Apical Cap (prominent
typical cytoplasm budding) ซึ่งเป็นส่วนที่พบใน secretory unit, แต่ไม่พบใน
eccrine sweat gland, dct = duct (excretory unit) |
|
รูปภาพที่
23
|
ภาพถ่ายต่อมมีท่อชนิด Unbranched, simple tubular glands ซึ่งไม่พบ
excretory duct ต่อมมีท่อชนิดนี้ พบมากในลำไส้ มีชื่อเรียกว่า crypts
of Lieberkuhn or intestinal glands ให้สังเกต
surface epithelium และ มีต่อมชนิด goblet cells แทรกอยู่เป็นจำนวนมาก
สิ่งคัดหลั่งออกตรงมาจาก secretory cells |
|
รูปภาพที่
24
|
ภาพถ่ายต่อมมีท่อชนิด compound tubuloacinar exocrine gland ได้แก่
ต่อมน้ำลายทั้ง 3 ชนิด ในภาพเป็น parotid salivary gland ซึ่งจัดเป็น
pure serous exocrine gland เนื้อของต่อมประกอบด้วย serous acinar
cells เป็นส่วนใหญ่ ให้สังเกต ส่วนที่เป็น
excretory (ductal) unit (ติดสีใส) |
|
รูปภาพที่
25
|
ภาพถ่ายต่อมมีท่อชนิด compound tubuloacinar exocrine gland และจัดเป็น
mucous exocrine gland ได้แก่ sublingual salivary gland เพราะเนื้อต่อมประกอบด้วย
mucous acinar cells เป็นส่วนใหญ่เนื่องจาก mucous มีจำนวนมากใน cytoplasm
จึงเบียด นิวเคลียสแบนติดอยู่บริเวณฐานของเซลล์ ในต่อมน้ำลายชนิดนี้
อาจพบ serous acinar cells ได้ประปราย |
|
รูปภาพที่
26
|
A
ภาพถ่าย compound tubulo-acinar exocrine gland และจัดเป็น
mixed sero-mucous exocrine gland ได้แก่ submandibular salivary gland
สร้างและหลั่ง sero-mucous secretion ลักษณะเด่นของต่อม น้ำลายชนิดนี้
คือ พบ serous acinar cells ครอบอยู่บนส่วนของ mucous acinar cells
เรียก serous demilune |
|
B
ภาพถ่ายขยายของ serous demilune พบ จำนวนมากใน submandibular
salivary gland |
|
รูปภาพที่
27
|
A
ภาพถ่ายกำลังขยายต่ำของต่อมไร้ท่อ 2 ชนิด คือ
- ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) = T (ล่าง) เนื้อต่อมมีลักษณะเป็น
follicle-like structure สร้างและหลั่ง Thyroid hormone
- พาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) = P (บน)
เนื้อต่อมมีลักษณะเป็น plate-like structure สร้างและหลั่ง Parathyroid
hormone
ให้สังเกต
เนื้อประสานซึ่งเป็นเปลือกหุ้มต่อม (capsule) กั้นอยู่ระหว่าง
ต่อมไร้ท่อทั้งสองชนิด หลอดเลือดแดงฝอยที่อยู่ในเนื้อต่อม ทั้งสองชนิดเป็นชนิด
fenestrated capillaries
|
|
B
ภาพถ่ายขยายต่อมไร้ท่อไทรอยด์ ลักษณะโครงสร้างของ เนื้อต่อม
ประกอบด้วยถุงขนาดเล็กจำนวนมาก เปลือกถุง ดาดด้วย follicular cells
ซึ่งเป็นเนื้อผิวชนิด simple cuboidal cells แต่ถ้าพวกเซลล์ของต่อมมีประสิทธิภาพ
ในการทำงานสูง เซลล์จะแบนลง มีลักษณะเป็น low cuboidal cells ภายใน
follicles บรรจุและเก็บองค์ประกอบ ของฮอร์โมนที่เรียกว่า colloid ติดสีกรด |
|
C
ภาพถ่ายขยายต่อมไร้ท่อพาราไทรอยด์ ลักษณะเนื้อต่อม ประกอบด้วยเซลล์
2 ชนิด คือ chief cells (พบเป็นส่วนมาก) และ oxyphil cells (พบน้อยมี
cytoplasm มาก ติดสีกรด) พวกเซลล์สำคัญสร้างฮอร์โมน พาราไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับแคลเซียมเมตตาบอริซึม
คือ chief cells (cytoplasm น้อย มักเห็นแต่นิวเคลียส) |
|
รูปภาพที่
28
|
A
ภาพถ่ายอวัยวะเนื้อตับอ่อน (pancreas) ซึ่งจัดเป็น mixed
exo-endocrine gland ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ คือ Islet of Langerhans
(IS) และต่อมมีท่อ คือ exocrine pancreatic gland ต่อมไร้ท่อชนิดนี้
จัดเป็น cord-like structure ติดสีอ่อน อยู่เป็นกลุ่ม ท่ามกลางต่อมมีท่อที่ติด
สีด่าง และรวมกันเป็นกระเปาะ ลักษณะโครงสร้างสำคัญ ของ exocrine
pancreas คือ excretory unit เริ่มจาก centroacinar cells เป็นส่วนต้น
ตามด้วย intercalated duct
|
|
B
ภาพถ่ายขยาย exocrine pancreas แสดงลักษณะโครงสร้างของ
central acinar cell (ศรชี้) พบตรงกลางของ acinus ให้สังเกตเซลล์
มี cytoplasm ติดสีใส
คำย่อ
: cac = centroacinar cell
icd
= intercalated duct
zgg
= zymogen granules ของ acinar cell
|
|
รูปภาพที่
29
|
ภาพถ่ายอวัยวะลูกอัณฑะ (ย้อมสีพิเศษ) ในส่วน seminiferous tubule (ลูกศร)
ซึ่งเป็นส่วน exocrine gland สร้างและหลั่งพวกเซลล์อสุจิ แต่พบกลุ่มของ
Leydig cellls (C) อยู่ระหว่าง seminiferous tubules ซึ่งเป็นส่วน
endocrine gland (En) สร้างและหลั่งฮอร์โมน testosterone ดังนั้น testis
(ลูกอัณฑะ) จัดเป็น mixed exo-endocrine gland |
|