เซลล์เนื้อผิวส่วนใหญ่มีเยื่อหุ้มเซลล์แต่ละด้าน รวมทั้ง organelles แต่ละชนิดที่บรรจุ
อยู่ในเซลล์ มักพบมีลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการทำงานของพวกเซลล์เนื้อเยื่อชนิดนั้น
ลักษณะดังกล่าวเรียก เซลล์เนื้อผิวมี polarity เช่น
1. พวกเซลล์เนื้อผิวที่มี
polarity ต่อชนิดของออร์แกนแนล ซึ่งบ่งชี้ในระดับ LM ตัวอย่าง
- cytoplasmic basophilia เป็นบริเวณที่มี
ribonucleic acids รวมกันเป็นกลุ่มและติดสีด่าง
- basal striation บริเวณ cytoplasm
ด้านฐานมี basal membrane infolds และมี mitochondria แทรก พบในเซลล์ที่ดาดท่อคัดหลั่ง
และมีชื่อว่า striated excretory ducts
- ตำแหน่งของ golgi apperatus
มักพบอยู่เหนือต่อนิวเคลียส บ่งชี้เป็น negative image
- ตำแหน่งของ secretory granules
พบบริเวณ apical cytoplasm เพื่อการส่งออกทางเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน เช่น secretory
cells ของ exocrine pancreas
2. พวกเซลล์เนื้อผิวที่เยื่อหุ้มเซลล์บริเวณด้านบนสุด
มีลักษณะโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษเฉพาะ หรือเยื่อหุ้มเซลล์ด้านข้างที่สัมผัสติด-เชื่อมกับเซลล์ข้างเคียง
โดยมีบางบริเวณเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น
ภาพที่
13 |
microvilli
หรือ striated (brush) border (ภาพที่ 13) ของ apical cell surface ใน
absorptive cells พบดาดในลำไส้เล็ก |
ภาพที่
14
|
motile
cilia (ภาพที่ 14) พบในเซลล์เนื้อผิวดาดหลอดลม |
ภาพที่
15
|
non-motile
stereocilia (ภาพที่ 15) พบในเซลล์เนื้อผิว ที่ดาดท่อบางส่วน ของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย |
Terminal
bar (ศึกษาในบทที่ 1) พบเป็นจุดตรงบริเวณขอบบนสุดของเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ด้านข้าง
สัมผัสพิเศษกับเซลล์ข้างเคียง
ภาพที่
16 |
ในระดับกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน
ประกอบโครงสร้างเรียงกันตามลำดับ ได้แก่
1. Zonula occuldens
2. Zonula adherens
3. Macula adherens (desmosome) ในระดับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
คือ intercellular bridge (ภาพที่ 16) |
นอกจากนั้นพบ gap junctions สัมผัสกับเซลล์ข้างเคียง ทำหน้าที่เป็นช่องทางผ่านของสาร
โมเลกุลขนาดเล็ก ระหว่างเซลล์
โดยทั่วไปเซลล์เนื้อผิวต้องมีเนื้อประสานรองรับ เรียกว่า
basement membrane แต่ในระดับอิเลคตรอนเรียก lamina รองรับ ดังนั้นเซลล์เนื้อผิวได้รับสารอาหารอ๊อกซิเจน
และพวกเมตตาบอไลท์ โดยการซึมผ่านออกจากหลอดเลือดที่อยู่ใต้ต่อ basal lamina
เท่านั้น
Cilia หน้าที่พัดโบกขนส่งโมเลกุลหรือสารที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบนของเซลล์
Stereocilia (non-motile cilia) มีลักษณะยาวคล้ายกับ
cilia แต่มีหน้าที่เหมือนกับ microvilli คือ เพิ่มผิวเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน
และยังช่วยดูดซึมสารละลายที่ผ่านอยู่ในท่อ นอกจากนั้น microvilli (ไม่ใช่ stereocilia)
ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของน้ำย่อย และเกิดปฏิกริยาการย่อย
Junctional complex พบด้านข้างส่วนบนสุดของเซลล์ เนื้อผิว ทำหน้าที่กั้นสาร
ไม่ให้แทรกซึมเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ และเชื่อมติดกับเซลล์ข้างเคียง
แต่มีบางบริเวณที่เป็น gap junction ใช้เป็นช่องทางติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง
Basal membrane infolds เพิ่มเยื่อหุ้มเซลล์ ด้านฐาน
โดยแทรกเข้าไปในพื้นที่ของ basal cytoplasm และให้เป็นที่ตั้งฐานน้ำย่อย
ทำหน้าที่ปั้มพวกเกลือโซเดียม ผ่านเข้า-ออกเซลล์ โดยมี mitochondria
แทรกจำนวนมาก เพื่อให้พลังงานในการทำงาน พบลักษณะดังกล่าวตรงบริเวณ
basal striation ของ excretory ducts (ภาพที่ 18) |
ภาพที่
18
|
|