>>เภสัชจลศาสตร์ (Pharmacokinetics)<<
เภสัชจลศาสตร์ (Pharmacokinetios)
       เภสัชจลศาสตร์ หมายถึง  การเคลื่อนที่ของยาในร่างกาย ตั้งแต่การดูดซึมเข้ากระแสเลือด
จากเลือดไปที่เนื้อเยื่ออื่น ๆ และการขับออกจากร่างกาย  ในการฉีดยาชาเพื่อให้เกิด neural
blockade นั้นเรามักฉีดยาในบริเวณใกล้กับเส้นประสาทนั้นแล้วยาชาจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปอาบ
รอบ ๆ เส้นประสาท  ยาชาบางส่วนจะไปจับกับเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เส้นประสาทบางส่วน
จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้วถูกจำกัดออกจากร่างกายในที่สุด  เมื่อระดับยาในกระแสเลือด
ลดลง  ยาชาจะถูกดูดซึมออกมาจากบริเวณที่เราฉีดยา ความเข้มข้นของยาบริเวณนั้นก็จะ
ลดระดับลงจนถึงจุดที่ความเข้มข้นของยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เพียงพอยาชาก็จะหมดฤทธิ์
การฉีดยาชาเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการเราต้องฉีดยาชาเป็นปริมาณมากพอโดยเฉพาะบริเวณ
กลุ่มเส้นประสาทขนาดใหญ่ เช่น การทำ brachial plexus block การคำนวณความเข้มข้น
ของยาชาในบริเวณนั้นเพื่อให้ออกฤทธิ์เพียงพออาจทำได้ยาก บางครั้งเราต้องใช้ยาปริมาณมาก
ที่สุดแต่ไม่เกิดพิษต่อผู้ป่วย

การดูดซึมของยาชา  (Absorption)
       การดูดซึมของยาชาจากบริเวณที่ฉีดขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ตำแหน่งที่ฉีดยา
ขนาดยา การใส่ vasoconstrictor ด้วยหรือไม่ และชนิดของยาชา
       ตำแหน่งที่ฉีดยาชามีความสำคัญต่อการดูดซึมยาเข้าสู่เลือด พบว่าตำแหน่งที่ทำให้ระดับยา
ในเลือดสูงที่สุด คือ บริเวณเส้นประสาท intercostal   ตามมาด้วยช่อง epidural, brachial
plexus และใต้ผิวหนังตามลำดับ   การเลือกขนาดยาที่ฉีดต้องคำนึงถึงตำแหน่งการฉีดยาชา
ด้วยเสมอ เพราะระดับยาในเลือดจะขึ้นสูงกว่าเมื่อฉีดยาชาเข้าสู่ตำแหน่งที่มีเลือดไปเลี้ยงมากกว่า
เช่น การฉีด lidocaine 400 mg ทำให้ระดับยาในเลือดขึ้นสูงถึง 7 ไมโครกรัม/มล. เมื่อทำ
intercostal nerve block แต่จะขึ้นเพียง 3 ไมโครกรัม/มล. เมื่อทำ brachial plexus block
       ระดับยาชาในเลือดมีความสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดยาที่ใช้ เช่น ระดับ lidocaine
ในเลือดเพิ่มขึ้นจาก 1.5 เป็น 4.0 ไมโครกรัม/มล. เมื่อใช้ยาชาขนาด 200 และ 600 มก. ตามลำดับ
       การใส่ยาที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัวร่วมกับยาชาจะทำให้ระดับยาชาในเลือดเพิ่มขึ้น
น้อยกว่าเพราะไปลดอัตราการดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือด   ซึ่งมีข้อดีตรงที่ทำให้เกิดอาการเป็นพิษ
ของยาชาน้อยกว่า
       ชนิดของยามีผลต่อการดูดซึมยาเพราะยาชาแต่ละตัวมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดไม่เท่ากัน เช่น
prilocaine ทำให้หลอดเลือดขยายตัวน้อยกว่า lidocaine   prilocaine  จึงถูกดูดซึมเข้าเลือด
ได้ช้ากว่า  นอกจากนั้นยาชาที่ละลายในไขมันได้มากกว่าจะถูกดูดซึมได้ช้ากว่า เช่น etidocaine
ละลายในไขมันได้มากกว่า bupivacaine ทำให้ยาสะสมในไขมันและลดอัตราการดูดซึมยา

การกระจายของยา  (Distribution)
       เมื่อยาชาถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ยาจะกระจายไปสู่บริเวณที่มีเลือดเลี้ยงมากก่อน  ทำให้
ระดับยาชาในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า a phase  ตำแหน่งที่ยาชากระจายไปมากที่สุด
คือกล้ามเนื้อลาย ต่อมาระดับยาในเลือดจะลดลงอย่างช้า ๆ  จากการขับถ่ายออกจากร่างกาย
โดยการถูกทำลายที่ตับ  ความเร็ว ของการกำจัดยาขึ้นอยู่กับชนิดของยาเรียกว่า b phase a และ
b half-life ของ prilocaine จะเร็วกว่า lidocaine กับ mepivacaine  ในขณะที่ lidocaine และ
mepivacaine มีค่าใกล้เคียงกัน  ค่าต่าง ๆ ของ  a และ b half-life  แสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3

การทำลายและขับถ่าย (Biotransformation and excretion)
       ยาชาในกลุ่ม aminoester ถูกทำลายโดย hydrolysis ในพลาสมาด้วยเอนไซม์
pseudocholinesterase  ความเร็วของการทำลายเรียงตามลำดับจากเร็วไปหาช้า คือ
chloroprocaine, procaine และ tetracaine
       ยาชาในกลุ่ม aminoamide ถูกทำลายที่ตับความเร็วในการถูกทำลายเรียงตามลำดับจากเร็ว
ไปหาช้า คือ prilocaine, lidocaine, mepivacaine,etidocaine และ bupivacaine ยาส่วนน้อย
คือน้อยกว่าร้อยละ 5 ถูกขับออกทางไตโดยไม่เปลี่ยนแปลง9

สภาพของผู้ป่วยกับการขับถ่ายยา
       1. อายุ ผู้ป่วยสูงอายุจะมี half life ของยาชากลุ่ม aminoamide นานขึ้น  เนื่องจากตับ
ทำลายยาต่าง ๆ ได้ช้าลง  คนปกติอายุ 61-71 ปี จะมี half-life ของ lidocaine 138 นาที
ซึ่งยาวกว่าวัยหนุ่มสาวที่มี half-life 80 นาที ทารกก็มี elimination half-lifeนานกว่าผู้ใหญ่
เพราะระบบเอนไซม์ของตับยังทำงานได้ไม่เต็มที่10
       2. โรคตับ  ทำให้ half-life ของยานานขึ้น  half-life ของ lidocaine ในผู้ป่วยโรคตับ
จะนานขึ้นเป็น 5 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับ 1.5 ชั่วโมงในคนปกติ
       3. Cardiac output  ผู้ป่วยที่มี cardiac output ต่ำจะขับถ่ายยาได้ช้าลง เช่น
congestive heart failure11
       ผู้ป่วยที่มี half-life ของยานานขึ้นจะทำให้ระดับยาชาในเลือดสูงกว่าคนปกติ  ความสำคัญ
คือ  ถ้าเราให้ยาชาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การให้  continuous infusion  ของยาชาในการทำ
epidural block ระหว่างการผ่าตัดหรือเพื่อแก้ปวดหลังผ่าตัดเป็นเวลานานอาจทำให้ระดับยาชา
ในเลือดขึ้นสูงเกินจนเกิดอาการเป็นพิษได้12