>>การเป็นพิษของยาชา<<
       การใช้ยาชาจะเกิดผลข้างเคียงน้อยถ้าฉีดในขนาดและตำแหน่งที่ถูกต้อง
อาการข้างเคียงเกิดจากการฉีดยาชาเกินขนาดหรือฉีดเข้าหลอดเลือดโดยไม่ตั้งใจ จะทำให้
เกิดอาการเป็นพิษของยาชาต่อร่างกาย   จากการฉีดยาผิดตำแหน่ง  เช่น  ฉีดเข้าช่อง
subarachnoid แทนที่จะเป็น epidural ทำให้เกิด  total spinal block   นอกจากนั้น
ยาชาในกลุ่ม aminoester อาจทำให้เกิดการแพ้และ prilocaine  อาจทำให้เกิด
methemoglobinemia
1. การเป็นพิษต่อร่างกายทั่วไป (Systemic toxicity)  เกิดจากการให้ยา
เกินขนาดหรือฉีดเข้าหลอดเลือดโดยไม่ตั้งใจจะเกิดผลข้างเคียงต่อระบบประสาท
ส่วนกลางและระบบไหลเวียนโลหิตเป็นสำคัญ  ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่ทนต่อ
ยาชาได้มากกว่าระบบประสาทส่วนกลาง  เพราะขนาดยาที่ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิต
ล้มเหลวเป็น 4-7 เท่าของขนาดที่ทำให้ชัก  อาการเป็นพิษของยาชาต่อร่างกายจะรุนแรง
ขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดยาที่ได้รับและระดับยาในเลือด (รูปที่ 5)
รูปที่ 5    อาการเป็นพิษของ lidocaine เมื่อค่อยๆ เพิ่มระดับยาในพลาสมา
     1.1 พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง  พิษของยาชาต่อระบบประสาทส่วนกลางขึ้นกับ
ระดับยาในเลือดโดยตรง  ผู้ป่วยจะรู้สึกมึนงงตามมาด้วยอาการทางตาและหู
คือเห็นภาพซ้อนและมีเสียงดังในหู (tinnitus)  สับสนและรู้สึกง่วงนอน  อาการแสดง
ที่ตรวจพบคือ  อาการของการกระตุ้นระบบประสาท ได้แก่ การสั่นและกระตุกโดยเริ่มต้น
บริเวณใบหน้าลงมาตามแขนขาในที่สุดจะเกิดอาการชักทั้งตัว  ตามมาด้วยอาการกดของ
ระบบประสาท คือ หยุดหายใจและหมดสติ ผู้ป่วยบางคนหรือการฉีดยาชาเข้าหลอดเลือด
อย่างรวดเร็วจะพบเฉพาะอาการกดของระบบประสาทเท่านั้น    การกระตุ้นของระบบ
ประสาทในช่วงแรกเกิดจากการยังยั้ง  inhibitory pathways ในสมองส่วนนอกทำให้เกิด
excitatory activity  จึงเกิดการชัก แต่ถ้าระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้นจะยับยั้งทั้ง inhibitory
และ facilitatory pathways   จึงพบอาการกดระบบประสาทตามมา
พิษของยาชาต่อระบบประสาทส่วนกลางขึ้นกับ
- potency ของยา  ยาที่มี potency  สูงทำให้ชักได้ง่ายกว่า22  เช่น
bupivacaine ซึ่งมีความแรงมากกว่า procaine 8 เท่า ทำให้ชักด้วยยา
ขนาดน้อยกว่า procaine 7 เท่า
- ความเร็วของการฉีดยา ตัวอย่างเช่น การฉีด etidocaine 236 mg
ด้วยอัตรา 10 มก./นาที  จะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทเมื่อ
ระดับยาในเลือด 3.0 ไมโครกรัม/มล. แต่ถ้าฉีดยาเร็วขึ้นด้วยอัตรา
20 มก./นาที  จะเกิดอาการทางระบบประสาทเมื่อให้   etidocaine
160 มก. ซึ่งทำให้ระดับยาชาในเลือดขึ้น 2 ไมโครกรัม/มล.23
- ระดับคาร์บอนไดออกไซด์และภาวะเป็นกรดในเลือด
ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ที่เพิ่มขึ้นจะลด threshold ของการชักที่
เกิดจากยาชาลงไปร้อยละ 50  สาเหตุเกิดจากทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
เพิ่มขึ้น ทำให้ยาชาไปสู่สมองเร็วขึ้น  ภาวะที่มีคาร์บอนไดออกไซด์
ในเลือดเพิ่มขึ้นและเป็นกรดในเลือดจะลดการจับของยาชากับโปรตีนในเลือด ทำให้มียาชาผ่านเข้าสมองมากขึ้น  และทำให้ยาชาแตกตัวมากขึ้นจึงซึมผ่าน
ผนังเส้นประสาทได้ลดลง ทำให้ยาชาคงเหลือในสมองมากขึ้น
จึงเกิดอาการเป็นพิษมากขึ้น

          พิษของยาชาต่อระบบประสาทส่วนกลางสามารถลดลงโดยการให้ยาในกลุ่ม
barbiturates, benzodiazepines และยาระงับความรู้สึกชนิดสูดดม
       1.2 พิษต่อระบบไหลเวียนโลหิต ยาชามีผลโดยตรงต่อการหดตัวและอัตราการเต้น
ของหัวใจ โดยการทำให้อัตรา depolarization ใน Purkinje fibers และกล้ามเนื้อหัวใจ
ลดลง ทำให้ระยะเวลาการเกิด action potential และ effective refractory period
ลดลง  อัตราส่วนระหว่าง refractory period กับ action potential เพิ่มขึ้น ผลที่กล่าวมา
แล้วทำให้การนำไฟฟ้าผ่านส่วนต่าง ๆ ของหัวใจช้าลง จะพบ PR interval และ QRS
complex duration นานขึ้น  การใช้ยาในขนาดต่ำ เช่น lidocaine จะมีประโยชน์ใช้
ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ถ้าใช้ยาขนาดสูงขึ้นจะกด sinus node
ทำให้เกิด sinus bradycardia จนถึง  sinus arrest  ได้หรืออาจทำให้เกิดหัวใจเต้น
ผิดจังหวะ   จนไม่สามารถรักษาได้ยาชายังมีผลกดการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง
ตามขนาดและความแรงของยา  ยาชาที่มีความแรงมากกว่าจะมีผลต่อหัวใจมากกว่า เช่น
bupivacaine ที่มีฤทธิ์เป็นยาชาแรงกว่า lidocaine 4 เท่า แต่มีฤทธิ์กด  การนำกระแสไฟ
ของหัวใจแรงกว่าถึง 70 เท่า25   bupivacaine และ etidocaine มีค่า cardiovascular
collapse/CNS  (CC/CNS)  dose ratio  ต่ำกว่ายาตัวอื่น  หมายความว่าขนาดยาที่ทำให้
ระบบไหลเวียนล้มเหลวของ bupivacaine และ etidocaine มีค่าต่ำกว่ายาตัวอื่น เมื่อ
เปรียบเทียบกับขนาดยาที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท  ทั้ง bupivacaine และ
etidocaine ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงได้ซึ่งไม่ค่อยพบว่าเกิดจาก
lidocaine, mepivacaine และ tetracaine พิษของยาชาต่อหัวใจจะรุนแรงขึ้น
ถ้าเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจน  ภาวะเป็นกรดในเลือด การตั้งครรภ์ ระดับโปตัสเซียม
ในเลือดสูงการผสม epinephrine หรือ phenylephrine กับยาชาและในทารกแรกเกิด
การที่ bupivacaine และ etidocaine มีพิษต่อหัวใจมากกว่ายาตัวอื่น นำไปสู่การคิดค้น
ยาชาตัวใหม่ที่มีผลกดกล้ามเนื้อหัวใจน้อยกว่า คือ ropivacaine ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้าย
bupivacaine และ mepivacaine  จากการศึกษาในสัตว์ทดลองหลาย ๆ พันธุ์พบว่า
ropivacaine มีพิษต่อหัวใจน้อยกว่า26,27  เพราะสะสมใน sodium channel  น้อยกว่า
ในขณะที่มีความแรงและระยะเวลาการออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับ  bupivacaine28
ropivacaine จึงน่าจะเป็นยาชาตัวใหม่ที่ดีกว่า bupivacaine
        ยาชายังมีผลโดยตรงต่อหลอดเลือด  ยาขนาดต่ำทำให้หลอดเลือดหดตัว  ในขณะที่
ขนาดสูงทำให้คลายตัว16  ยกเว้น cocaine   ซึ่งเป็นยาชาตัวเดียวที่ทำให้เกิดการหดตัว
ของหลอดเลือดอย่างเดียว    เนื่องจากมีฤทธิ์ยังยั้ง  reuptake  ของ  norepinephrine
       1.3 การรักษาอาการเป็นพิษต่อร่างกาย  เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการเป็นพิษของระบบ
ประสาท   ควรรีบให้ออกซิเจนเสริมผ่านทางหน้ากาก  ถ้ามีอาการชักก็ช่วยการหายใจ
โดยผ่านทางหน้ากาก โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการชักเพียงช่วงสั้น ๆ  จึงอาจไม่จำเป็น
ต้องให้ยายับยั้งการชัก  ยกเว้นว่าการชักนั้นจะทำให้ช่วยการหายใจได้ลำบาก  อาจให้
succinylcholine  เพื่อการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ แต่ succinylcholine  ไม่ยับยั้ง
การกระตุ้นของคลื่นสมอง  การใช้ออกซิเจนและเลือดที่ไปเลี้ยงสมองก็ยังคงเพิ่มขึ้น
ยาที่ยับยั้งการชักได้ดีคือ benzodiazepine เช่น diazepam, midazolan  มีข้อดีกว่า
ตรงที่ไม่ค่อยมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตแต่ออกฤทธิ์นาน ส่วน thiopentone 
ออกฤทธิ์สั้นแต่มีฤทธิ์กดระบบไหลเวียนโลหิตมากกว่า  อาจทำให้ความดันโลหิตตก
จึงควรให้ด้วยความระมัดระวังถ้าอาการเป็นพิษของยาชาเป็นมากขึ้นจนกดระบบ
ไหลเวียนโลหิตก็ต้องให้ยาที่ช่วยเพิ่มความดันโลหิต เช่น ephedrine, epinephrine
ให้ atropine  ถ้าอัตราการเต้นหัวใจช้าลง  รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยยาอื่น ๆ  เช่น
bretylium และให้ DC countershock  เมื่อเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง
จนทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
2. การแพ้ยาชา มักพบในยาชากลุ่ม aminoesters  ซึ่งเป็นอนุพันธุ์ของกรด
aminobenzoic แต่ไม่ค่อยพบอาการแพ้จากยาชากลุ่ม aminoamide  แต่ยาชาที่มี
วัตถุกันเสียเช่น  methylparaben  ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกรด  aminobenzoic  ก็อาจ
ทำให้เกิดการแพ้ได้
3. Methemoglobinemia   เกิดจากการใช้ prilocaine ขนาดมากกว่า 600 มก.
ขึ้นไป  สาเหตุเกิดจากการทำลายของ prilocaine ที่ตับทำให้เกิด O-toluidine ซึ่งเป็นตัว
oxidize hemoglobin  เป็น  methemoglobin  อาการนี้สามารถหายได้เองหรือให้
การรักษาด้วย methylene blue
4. Local tissue toxicity  ยาชาขนาดความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้ทางคลินิก  จะมีผล
ทำลายเส้นประสาทโดยตรง29  เช่นการใช้ tetracaine ความเข้มข้น 2% แทนขนาด 1%
ที่ใช้ทางคลินิก  นอกจากนี้การทำลายประสาทยังอาจเกิดจากสารกันเสียที่ผสมมาด้วย
เช่น EDTA ใน chloroprocaine