|
ภาวะโลหิตจางกลุ่มที่เซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดและติดสีปกติ
เกิดจากสาเหตุ
หรือโรคต้นต่อได้มากมายและสามารถจัดเป็นกลุ่มๆ ได้ ในการตรวจวินิจฉัยแยกโรคนั้น จะต้องเริ่มจากประวัติและตรวจร่างกายเสมอ อาการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ เป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์จะต้องซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์เป็นการตรวจเพื่อตรวจย้ำการวินิจฉัยเบื้องต้นของแพทย์หรือตรวจ เพื่อวินิจฉัยตามแต่กรณี ซึ่งแพทย์จะต้องตัดสินใจสั่งตรวจ และที่สำคัญจะต้องแปลผล การตรวจได้ สำหรับในกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจางเกิดจากการแตกทำลายของเซลล์เม็ดเลือดแดง นั้น การตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น โดยการสั่งตรวจ reticulocyte count จะช่วยแยก ภาวะโลหิตจางกลุ่มนี้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ไขกระดูกมีการตอบสนองต่อ ภาวะโลหิตจางได้ดี และมีการเร่งการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น กลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มที่เกิดจากการเสียเลือด หรือการแตกทำลายของเซลล์เม็ดเลือดแดง การตรวจเสมียร์เลือดพบ spherocyte พบเซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดต่างๆ กัน (anisocytosis) พบ polychromasia การกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงอาจมี ความผิดปกติไป เช่น การเกาะกลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดแดงในภาวะโลหิตจางเกิดจาก การแตกทำลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เกิดจากความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันโรค จะช่วยแยกสาเหตุทั้งสองกรณีนี้ได้ในระดับหนึ่ง การตรวจอื่นๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ในตอนต้น เช่น การตรวจหา การตรวจหา unconjugated bilirubin การตรวจ antiglobulin test เป็นต้น จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุและโรคต้นตอได้กระจ่างขึ้น ส่วนกลุ่มที่ไขกระดูกมีการตอบสนองต่อภาวะโลหิตจางได้ไม่ดี มักจะมีสาเหตุใหญ่ๆ มาจากความผิดปกติของไขกระดูก หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งในกลุ่มนี้อาจจะพบลักษณะที่มี เซลล์เม็ดเลือดต่ำกว่าปกติทุกชนิด (pancytopenia) ใน aplastic anemia และในภาวะหรือโรคอื่นๆ ได้ เช่น Paroxysmal Nocturnal Hemoglobinuria (PNH), Acute leukemia, Myelofibrosis, Myelopthisic anemia, Enteric fever, Septicemia, Systemic Lupus Erythromatous (SLE) เป็นต้น การตรวจเสมียร์เลือด จะช่วยแยกสาเหตุหรือโรคต้นต่อได้ในระดับหนึ่ง การตรวจอื่นๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ในตอนต้น จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุและโรคต้นตอได้เพิ่มขึ้น |