อาการแสดง
อาการมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล
จากไม่มีอาการเลยจนถึง
มีอาการรุนแรงและอาจรุนแรงจนหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้
ความรุนแรง
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการคือ
1. การลดลงของความสามารถในการนำพาออกซิเจน
(oxygen-carrying capacity)
2. การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดทั้งหมด (total blood volume)
3. ระยะเวลาของการเกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อ 1 และข้อ 2
4. โรคต้นเหตุ (underlying disease) ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจาง
5. ความสามารถในการปรับตัวของระบบการทำงานของปอด, หัวใจ
และหลอดโลหิต
เนื่องจากอาการต่างๆ
ของผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อต่างๆ ได้รับออกซิเจนลดน้อยลงกว่าภาวปกติอาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ที่เกิดด้วยว่ารวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไป ในรายที่เสียเลือดมากๆ
และรวดเร็วนั้น
จะมีการลดลงของปริมาณเลือดร่วมด้วยอย่างรวดเร็ว อาการจะมีความรุนแรงกว่า
โดยหัวใจเต้นจะเร็วขึ้นและมีความดันโลหิตจลดลง และอาจจะเสียชีวิตได้
ส่วนในรายที่โลหิตจางเรื้อรังนั้น ร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวเพื่อให้ทนภาวะออกซิเจน ต่ำลงได้ โดยมากมักจะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เวียนศีรษะเหนื่อยง่าย
และมีอาการแสดงต่างๆ ตาม โรคต้นเหตุ (underlying disease) ในผู้ป่วยสูงอายุ จะมีอาการแสดงทางสมอง เช่น มีอาการหลงๆ ลืมๆ ได้ง่ายกว่าคนอายุน้อย
นอกจากนั้นการปรับตัวของอวัยวะต่างๆ จะไม่ดีเท่ากับผูที่มีอายุน้อยกว่า
และอาจมีอาการหัวใจวายได้ในรายที่ซีดมากๆ
เมื่อตรวจพบว่าผู้ป่วยมีโลหิตจาง
ถึงแม้จะเป็นเพียงเล็กน้อยยังไม่แสดง
อาการก็ตาม ไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรสนใจและค้นหาสาเหตุ
โลหิตจาง
นั้นมักจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอื่นๆ ซึ่งอาจมีความรุนแรงได้
เช่น
หญิงมีครรภ์ซึ่งโดยทั่วไปในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์อาจมีภาวะโลหิตจาง
ที่เกิดจากการเจือจางฮีโมโกลบินเนื่องจากสารน้ำที่เพิ่มขึ้น
(dilutional anemia)
ทำให้มี Hb ต่ำลงได้ แต่มักไม่ต่ำกว่า 10 g/dl ถ้าตรวจพบว่าต่ำกว่านี้ก็ควรตรวจ
หาสาเหตุ |
อาการที่ตรวจพบในระบบต่างๆ
1. ระบบผิวหนัง
ผิวหนังจะซีด
ซึ่งสังเกตุได้ง่ายและชัดเจนบริเวณเยื่อบุตาขาว,
ปาก, ริมฝีปาก, ฝ่ามือ และฐานเล็บ (nail bed) นอกจากนี้ผิวหนังอาจมีลักษณะ
แห้งขาดความยืดหยุ่น เล็บเปราะ และหักง่าย
2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการเพิ่มปริมาณเลือดที่ฉีดออกจากหัวใจ
(cardiac output) เพิ่มขึ้นโดยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็ว
และแรงขึ้น ชีพจรเร็วขึ้นความเร็วของการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น
เนื่องจาก
ความหนืดของเลือดลดลงจากภาวะโลหิตจาง ทำให้ระยะเวลา
ของการไหลเวียนเลือดสั้นลง ความต้านทานที่ส่วนปลาย
(peripheral
resistance) ลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่สมองและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
ในขณะที่การไหลเวียนของเลือดที่ผิวหนังและไตลดลง ตรวจร่างกายอาจพบว่า
หัวใจมีเสียงเมอร์เมอร์ (heart murmur) เป็น systolic murmur
ที่บริเวณ
pulmonary area และ apex ความดันโลหิตมี pulse pressure
กว้าง
ถ้าซีดมากก็อาจจะมีอาการหัวใจล้มเหลวได้
3. ระบบทางเดินอาหาร
มี glossitis, atrophy of tongue pupillae, angular
stomatitis และ dysphagia เป็นต้น
4. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
มีอาการปวดศีรษะ หรือมึนศีรษะ เป็นลม
ง่วงนอนบ่อย ตาพร่า อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน
|