วิธีการคำนวณปริมาณของ
131I ที่ใช้รักษาผู้ป่วย
มีหลายวิธี13 ได้แก่
1. ให้ขนาดน้อย ซ้ำได้ตามความจำเป็น
2. ให้ขนาดมากหนเดียว
3. ให้ขนาดคงที่ โดยประเมินตามขนาดของต่อมธัยรอยด์
เช่น ต่อมขนาดเล็กให้ 5 mCi., ขนาดกลางให้ 10 mCi., และขนาดใหญ่ให้ 15 mCi.
4. ประเมินตามขนาดของต่อมธัยรอยด์
และความสามารถในการจับไอโอดีนของต่อม (thyroid uptake of radioiodine, RAI-U)
เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยมีสูตรการคำนวณปริมาณ 131I ดังนี้
ปริมาณ
131I ที่ให้ (mCi) = |
mci (desired dosage/g )x thyroid
gland weight (g) x 100
|
|
%
uptake at 24 hours x 1000
|
|
ขนาด
desired dosage ที่นิยม
แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. Low dosage คือ ให้
131I ประมาณ 50-80 mCi. ต่อน้ำหนักต่อมธัยรอยด์ 1 กรัม ซึ่งขนาดนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ต่อมธัยรอยด์ขนาดเล็ก และเป็นโรคมาไม่นาน
2. Medium dosage คือ
ให้ 131I ประมาณ 100-120 mCi. ต่อน้ำหนักต่อมธัยรอยด์ 1 กรัม
ซึ่งขนาดนี้เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในระดับปานกลาง
3. High dosage คือ ให้
131I ประมาณ 150-200 mCi. ต่อน้ำหนักต่อมธัยรอยด์ 1 กรัม
ซึ่งขนาดนี้เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยที่มีต่อมธัยรอยด์ขนาดใหญ่ มีอาการมาก มีunderlying
cardiac disease หรือ severe non-thyroidal illness
สำหรับ toxic
adenoma และ toxic multinodular goiter
จะมี radioresistant เพราะฉะนั้น จึงนิยมให้ high dosage เช่นเดียวกัน14
|