Summary
สรุป
        การรักษาภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษด้วย I-131 ได้ใช้มามากกว่า 50 ปีแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องรู้ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ในการรักษา วิธีการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษา ตลอดจนการติดตามผู้ป่วยหลังรักษา สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญของการรักษาคือ การเกิด hypothyroidism ดังนั้นแพทย์ผู้รักษา จำเป็นต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และตัดสินใจเลือกระหว่าง การรักษาภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ ให้หายอย่างถาวร กับอุบัติการของ hypothyroidism ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุด ของผู้ป่วย
สรุปขั้นตอนการรักษา

        1. คัดเลือกผู้ป่วยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ  ที่มี indication ในการรักษาด้วย RAI
        2. อธิบายประโยชน์และผลข้างเคียง จากการรักษาด้วย RAI
        3. เตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาด้วย RAI เช่น หยุดยา ATD , งดเกลือไอโอดีน
        4. เข้ารับการตรวจวัด Thyroid uptake of RAI-U
        5. ตรวจและประเมินขนาดของต่อมธัยรอยด์
            ขนาดต่อมธัยรอยด์ของคนปกติ มีขนาด 10-15 กรัม การประเมินขนาดต่อมธัยรอยด์ ประกอบด้วย การดูและการคลำ
            การดู - ทำโดยให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง แล้วกลืนน้ำลาย อาจเงยศีรษะเล็กน้อย เพื่อช่วยให้เห็นขนาด และขอบเขตของต่อมธัยรอยด์ได้ชัดเจนขึ้น
            การคลำ - จุดประสงค์เพื่อประเมินขนาดและลักษณะของต่อมธัยรอยด์ ว่ามีผิวเรียบ หรือเป็น nodular surface การคลำต่อมธัยรอยด์ทำได้ 2 วิธี คือ การคลำจากทางด้านหลัง และการคลำจากทางด้านหน้า
                        - ทำโดยใช้ส่วนปลายของอุ้งนิ้วมือ คลำทางด้านข้างของ trachea ตรงขอบ medial ของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid เพื่อหาขอบเขตของต่อมธัยรอยด์ ให้คลำในขณะที่ ผู้ป่วยกลืนน้ำลายด้วย หลังจากนั้นใช้ปลายนิ้วคลำทางด้านหน้าของต่อมธัยรอยด์ เพื่อตรวจผิวของต่อมธัยรอยด์ ว่าเรียบหรือเป็น nodular surface มีลักษณะนุ่ม หรือแข็ง
(Click เพื่อดู VDO)
        6. คำนวนปริมาณ I-131 เพื่อรักษาผู้ป่วย
        7. ให้ผู้ป่วยรับประทาน I-131 เพื่อรักษาภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
        8. ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวภายหลังให้การรักษาด้วย RAI
        9. ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ  ภายหลังให้การรักษาด้วย RAI