ต่อมเหงื่อ (Sweat glands) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด 
1. Eccrine  sweat  glands  หมายถึง  ต่อมเหงื่อทั่วๆ ไปที่พบตามร่างกาย
2. Apoeccrine  sweat  glands  หมายถึง  ต่อมเหงื่อชนิดหนึ่งที่พบในบางตำแหน่งของร่างกาย
3. Apocrine  sweat  glands  หมายถึง  ต่อมเหงื่อชนิดหนึ่งที่พบในบางตำแหน่งของร่างกาย
1.ECCRINE SWEAT GLAND
      หมายถึง ต่อมเหงื่อที่มีหน้าที่หลั่งเหงื่อ   เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย การหลั่งเหงื่อ (Sweating)  นั้นเป็นการตอบ
สนอง (Physiologic response) ของร่างกาย เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการออกกำลังกาย  (Physical exercise) หรือ
ร่างกายกำลังเผชิญกับความร้อน (Thermal stress) ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดของร่างกาย  ในการรักษาสมดุลของความ
ร้อน (Thermoregulation) หากร่างกายไม่สามารถหลั่งเหงื่อได้จะด้วย
สาเหตุอะไรก็ตามผลที่ตามมาคือ เกิดภาวะอ่อนเพลีย (heat
exhaustion) ช้อคจากความร้อนสูง (heat stroke) อุณหภูมิร่างกายสูง
เกินไป (Hyperthermia) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ในทางตรงกันข้ามหาก
ร่างกายมีการหลั่งเหงื่อมากเกินไป (Hyperhidrosis) ก็จะทำให้เกิดการ
สูญเสียน้ำเกลือแร่จากร่างกาย และก่อให้เกิดความรำคาญในการดำรง
ชีวิตประจำวันได
      ต่อมเหงื่อในร่างกายมีประมาณ 2-4 ล้านต่อม กระจายอยู่ทั่วร่างกาย มีมากที่สุดบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า (palms  and  soles)
แต่จะไม่พบบริเวณ nail bed  lip margins glands penis  และ ear drum    น้ำหนักรวมของต่อมเหงื่อทั่วร่างกายจะประมาณ
เท่ากับไต  1ข้าง คือประมาณ 100 กรัม  โดยปกติร่างกายจะหลั่งเหงื่อประมาณ 10 ลิตรต่อวัน แต่อาจมีความแตกต่างไปจากนี้
ได้ในแต่ละบุคคล
ลักษณะทางโครงสร้างของ Eccrine glands ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 
1. Secretory coil คือ ส่วนที่ขดม้วนอยู่ล่างสุด อยู่ใน dermis  หรือลงไปถึงชั้น Hypodermis ก็ได้  ส่วนนี้ประกอบไป
ด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ 
1.1  Clear  cells  (Secretory cells)  เป็นเซลล์รูปร่าง cuboid เรียงตัวแถวเดียวอยู่บน basement  membrane  มี nucleus ขนาดใหญ่ cytoplasm  ติดสีซีด บรรจุ mitochondria และ glycogen จำนวนมาก มี Endoplasmic
reticulum น้อย  เซลล์บางตัวจะวางอยู่บน  myoepithelial  cells  ระหว่างเซลล์ติดต่อกันด้วยช่องที่เรียกว่า intercellular  canaliculi  และจากช่องนี้ก็จะไปเปิดรวมที่ช่องรวมของต่อมเหงื่อ (lumen) เซลล์ชนิดนี้เป็นเซลล์
ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่
1.2 Dark cells (mucigenous cells) เป็นเซลล์รูปร่างสามเหลี่ยมหัวกลับ เรียงตัวแทรกอยู่ระหว่าง clear cells
โดยเอาด้านแหลมของสามเหลี่ยมลง และด้านฐานกว้างของสามเหลี่ยมอยู่ทางด้าน lumen ภายใน cytoplasm
บรรจุ basophilic granules  endoplasmic reticulum  golgi apparatus  และ acid  mucoid  substances
ส่วน nucleus มีขนาดเล็ก และมี short microvilli ที่บริเวณ luminal border ของเซลล์
1.3  Myoepithelial  cells  มีรูปร่าง spindle-shaped  เรียงตัวอยู่บน Basement membrane แทรกอยู่ระหว่าง
ฐานของ clear cells  ภายใน cytoplasm บรรจุ myofilaments  หน้าที่ของเซลล์นี้คือเป็นตัวเสริมสร้างให้ secretory coils  คงสภาพอยู่ได้  (Structural  support)  ไม่ได้มีหน้าที่บีบรัดให้เหงื่อไหลออกมาจากต่อมเหงื่อ
ดังที่เชื่อกันในสมัยก่อน
หน้าที่ของ Secretory  coils  คือ 
1.มีหน้าที่กรอง (ultrafiltration) น้ำเลือดที่ไหลเข้ามาในต่อมเหงื่อ (Plasma fluid) และดูดกลับ (Reabsorption)  โซเดียม (Na)  ทำให้ได้น้ำเหงื่อที่เป็น Hypotonic  sweat
2.ขับเหงื่อ  (Secretion)  ออกมาทางท่อ (duct)
             เส้นประสาทที่มาควบคุมการทำงานของต่อมเหงื่อ คือ Cholinergic  sympathetic  nerve  และมี acetylcholine เป็น neurotransmitter กระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ
2. Excretory portions (Ductal portions) คือส่วนที่เป็นท่อให้เหงื่อระบายออกมาสู่ ผิวหนังภายนอก ประกอบไปด้วย
basal cells เรียงตัวอยู่รอบนอก และมี cuticular cells เรียงตัวอยู่รอบใน ชิดกับรูท่อ (lumen)  basal cells จะเรียงตัว
อยู่บน basement membrane  ที่ต่อเนื่องมาจากส่วน secretory  coils  ภายใน cytoplasm ของเซลล์จะบรรจุ mitochondria  ไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์ในการช่วยดูดกลับ (reabsorption)  โซเดียมโดย
ท่อส่วนต้น (Proximal ducts) จะขดเป็นวง (coils)  และทำงานได้มีประสิทธิภาพ  (more active)  กว่าท่อส่วนปลาย (distal ducts)  ซึ่งจะเหยียดตรง (Straight)
     การสร้างและขับเหงื่อของต่อมเหงื่อชนิดนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า Merrocrine glands นั่นคือ สร้างและขับออกมาโดยตัวเซลล์ยังคงสภาพเดิมไม่ได้ตายหลุดลอกออกมาด้วยเหมือนต่อมไขมัน(Sebaceous glands)
องค์ประกอบของน้ำเหงื่อ (Sweats)
       เหงื่อจัดว่าเป็นสารน้ำชนิด Hypotonic  solution  คือ มีความเข้มข้นของเกลือ NaCl น้อยกว่าระดับในกระแสเลือด, ระดับ
Potassium  จะคงที่เท่ากันทั้งในเหงื่อและกระแสเลือด  ระดับ HCO3  จะน้อยกว่าระดับในกระแสเลือด  ส่วนของเสียอื่นๆ เช่น
Lactate และ Urea จะขึ้นอยู่กับอัตราการหลั่งเหงื่อ (Sweat rate) ถ้าอัตราการหลั่งเหงื่อช้า (slow sweat rate) ระดับ Lactate
และ urea จะสูงในเหงื่อ  แต่ถ้าอัตราการหลั่งเหงื่อเร็ว (high sweat  rate)  ระดับ Lactate และ urea จะต่ำในเหงื่อ
การหลั่งเหงื่อจากการกระตุ้นทางอารมณ์ (Emotional sweating)
       การหลั่งเหงื่อจากภาวะการกระตุ้นทางอารมณ์  เช่น ความกลัว ตื่นเต้น ตกใจ จะทำให้เกิดการหลั่งเหงื่อขึ้นโดยเฉพาะบริเวณ
ฝ่ามือฝ่าเท้า (palms and soles) รักแร้ (axillae) หน้าผาก (forehead) ซึ่งการหลั่งเหงื่อชนิดนี้จะหายไปถ้านอนหลับ ซึ่งแตกต่าง
จากการหลั่งเพื่อระบายความร้อนจะไม่หายไปแม้ว่าร่างกายกำลังนอนหลับ  ซึ่ง Emotional  sweating นี้จะถูกกระตุ้นโดย
เส้นประสาท cholinergic nerve
2. APOECCRINE GLANDS (AEG)
        เป็นต่อมที่เพิ่งจัดเป็นกลุ่มขึ้นใหม่ (new family of sweat glands)  ต่อม AEG นี้จะเริ่มสร้าง (develops)  ในระยะวัยรุ่น
(puberty)  จาก  eccrine-like  precursor glands    และพบตลอดไปตรงบริเวณรักแร้ (axillae) ของผู้ใหญ่    แต่จำนวนจะ
แตกต่างกันไปในผู้ใหญ่แต่ละคน   ในคนไข้ที่เป็นโรคมีเหงื่อออกมากบริเวณรักแร้ (Axillary hyperhidrosis) จะพบว่ามากกว่า
50% ของต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้เป็นชนิด   Apoeccrine glands  แต่ในคนที่ไม่มีปัญหาเรื่อง Axillary hyperhidrosis นี้จะพบ
ว่ามีจำนวนต่อม AEG น้อยมากบริเวณรักแร้
        ลักษณะโครงสร้างของต่อม AEG จะคล้าย Eccrine  glands มีท่อที่เปิดโดยตรงสู่ผิวหนัง เพียงแต่มีขนาดต่อมใหญ่กว่า
และมีท่อที่ยาวกว่าใหญ่กว่าแต่ต่อมจะมีขนาดเล็กกว่า Apocrine glands (AG) การทำงานของต่อมนี้ถูกควบคุมโดย
เส้นประสาท cholinerfic nerve แต่ก็สามารถทำงานตอบสนองต่อการกระตุ้นของ Adrenergic  nerve  ได้
        ลักษณะของเหลวที่ต่อมนี้ผลิตออกมาจะมีลักษณะใสคล้ายของ eccrine glands  แต่มีอัตราการหลั่ง (sweat  rate)  ที่
เร็วกว่า eccrine  gland  ถึง 10 เท่า
3. APOCRINE GLANDS (AG)(รูปที่15)
       เป็นต่อมเหงื่อชนิดหนึ่งที่พบเฉพาะบางบริเวณ ได้แก่ บริเวณ perinuem และ axillae ตรงบริเวณหูชั้นนอก ต่อมนี้จะได้ชื่อ
พิเศษเป็น Ceruminous  glands   บริเวณเปลือกตาต่อมนี้มีชื่อเรียกว่า gland of Moll       ส่วนเต้านมหรือต่อมนมนั้นก็จัดเป็น modified apocrine glands  ชนิดหนึ่ง 
          ต่อม AG นี้ เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่   ใหญ่กว่าทั้ง eccrine และ
Apoeccrine glands ต่อมนี้จะเริ่มเจริญและทำงานเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว
เท่านั้น  เนื่องจากการเจริญของต่อมต้องได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศ
เมื่อต่อมเจริญแล้ว   หลังจากนั้นการทำงานจะไม่จำเป็นต้องมีฮอร์โมน
มากระตุ้นก็ทำงานได้
          ต่อมนี้จะผลิตสารน้ำที่มีลักษณะเหนียวข้น (Viscous milk-to-
clear fluid)  เปรียบเทียบ     ต่อมนี้เสมือนต่อมให้กลิ่น (odoriferous
glands) ในสัตว์ผลิตสารให้กลิ่น (odoriferous role)  เพื่อดึงดูดเพศ
ตรงข้าม(sexual attractants) เพื่อทำเขตแดน(Territorial  markers)
สัญญาณเตือนภัย (warning signals) รับสัมผัส (Tactile sensitivity)  และบทบาทสำคัญในการระบายความร้อนจากร่างกาย
(Evaporative heat  loss)  ซึ่งสารที่ทำหน้าที่เหล่านี้ในสัตว์มีชื่อว่า  pheromone
         แต่ในมนุษย์นั้น ต่อม AG จะผลิตสารให้กลิ่น (odor-producing)  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องทางเพศ (Sexual function)
ส่วนบทบาทอื่นๆ ในสัตว์นั้น จะไม่พบบทบาทนั้นในมนุษย์
         ลักษณะโครงสร้างของต่อม  AG นี้   คล้ายกับต่อม  eccrine glands   แต่มี  dark cells   มากกว่า  clear cells  และมี
myoepithelial cells   โอบรอบที่ฐานเซลล์ชั้นนอกสุดเป็น     basement membrane หนา   บริเวณยอดของเซลล์ด้านที่ชิดกับ
lumen จะมี cytoplasmic elevation ที่เรียกว่า apical  cap  เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน พบว่า บริเวณ apical cap
จะมี microvilli ขนาดเล็กปกคลุม และมี cytoplasmic granules  ชนิดละเอียดบรรจุอยู่ใน cytoplasm  ซึ่ง Apical cap นี้เป็น
ลักษณะเฉพาะและพบได้เฉพาะใน  secretory cells ของ apocrine gland เท่านั้น  เมื่อมีการหลั่งสาร Apical cap นี้จะหลุด
ออกมาพร้อมกับสารน้ำที่ผลิตผ่านออกมาทางท่อ duct   แล้วไปเปิดเข้าสู่ Hair follicles  ตรงกระเปาะอันบนสุด (Upper  hair
bulges) วิธีการหลั่งสารเช่นนี้เรียกว่า Decapitation secretion
        สารที่ผลิตจากต่อมนี้เมื่อเริ่มแรกจะมีลักษณะคล้ายน้ำนม (milky and viscid) และไม่มีกลิ่น (without odor)  ต่อมาเชื้อ
bacteria ที่อยู่บริเวณผิวหนังจะมาย่อยทำให้เกิดกลิ่นขึ้น  และการหลั่งของสารนี้จะเกิดจากการหดรัดตัวเป็นช่วงๆ (Pulsatile)
ของ myoepithelial cells ทำให้สารนี้ไหลผ่านออกมาจากท่อขึ้นสู่ผิวหนังภายนอกได้ ซึ่งต่างจาก eccrine  และ apoeccrine
glands ที่การหลั่งของสารไม่ได้เกิดจากการหดตัวของ myoepithelial cells
         สิ่งที่ควบคุมการทำงานของต่อมนี้คืออารมณ์ (emotive  stinuli) หลังจากเข้าวัยรุ่นแล้ว  ซึ่งถูกกระตุ้นจาก adrenergic
nerve  ซึ่งต่างจาก eccrine  glands  ที่ตอบสนองเฉพาะ cholinergic nerve และต่างจาก  Apoeccrine  glands   ที่ตอบ
สนองทั้ง cholinergic  nerves  และ  adrenergic  nerves
ไปเรื่องเล็บ