Phenol Motor Point Block
Phenol motor point block หรือ intramuscular neurolysis เริ่มใช้ครั้งแรกที่
University of Minnesota Hospital ปี1963
การฉีดยาฟีนอลมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ 
1. Nerve block ที่ระดับไขสันหลัง(26-28)  โดยใช้วิธี intrathecal, epidural,
paravertebral, foraminal injection พบว่ามี complication มากมาย คือ cord
infarction, root damage, meningitis, arachnoiditis, motor & sensory ablation,
bowel & bladder incontinence, painful paresthesia, severe headache
หรือเสียชีวิตได้
2. Nerve block ที่ระดับเส้นประสาท มี 4 วิธี คือ  
2.1 Closed perineural injection of nerve trunk (29-30)  Khalili ปี 1964
เป็นผู้เริ่มทำ ปัจจุบันได้เลิกใช้การฉีดโดยวิธีนี้แล้ว
2.2 Closed motor branch block โดยเลือกฉีดเฉพาะเส้นประสาทที่เป็น pure
motor nerve เช่น recurrent branch of median nerve, obturator nerve,
สำหรับ musculocutaneous nerve  แม้จะเป็นเส้นประสาทที่มีทั้งเส้น
ประสาทสั่งการและเส้นประสาทรับความรู้สึก  แต่ก็สามารถฉีดด้วยวิธีนี้
 โดยพบว่ามี side effect น้อยมาก(31-32)
2.3 Open motor branch block พบว่าใช้เทคนิคนี้ ฤทธิ์ของยาฟีนอลจะอยู่ได้
นานขึ้นเฉลี่ย 2-3 เดือน โดยใช้น้ำยาฟีนอล2-3% ในน้ำ(33) ถ้าใช้ 3-5% ใน
glycerin พบว่าระยะเวลาการออกฤทธิ์จะนานขึ้นอีกเฉลี่ย 2-8 เดือน โดยมี
complication น้อยมาก การฉีดยาด้วยวิธีนี้ จะเลี่ยงการฉีดไปโดนเส้น
ประสาทรับความรู้สึก จึงลดการเกิด painful paresthesia ได้ และฤทธิ์ของ
ยาอยู่ได้นาน แต่มีข้อเสียคือ ต้องผ่าตัดเพื่อเข้าไปหาเส้นประสาท(34,35)
2.4 Intramuscular motor point block(14,36-38) คล้ายกับการฉีด closed motor
branch block แต่จะฉีดเข้าไปที่ตำแหน่ง "motor points" ภายในกล้ามเนื้อ
คือตำแหน่งที่แขนงของ motor nerve ผ่านเข้าไปในกล้ามเนื้อ หรือบริเวณ
ที่มีจำนวน motor end plates มากที่สุด(14,39)   การฉีดยาฟีนอลด้วยวิธีนี้
แม้ว่าระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาจะสั้นกว่าวิธี open block แต่ผู้ป่วยไม่
ต้องผ่าตัด และสามารถลดอัตราการเกิด  painful paresthesia ได้เช่นกัน
การฉีดยาโดยวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และสามารถ
ใช้ในการ block กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วย mixed nerves ได้ด้วย(14,35)
        ในประเทศไทย  ได้มีการศึกษาถึงการใช้น้ำยาฟีนอลรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ตั้งแต่ พศ. 2533 (40)