Treatment Decision of Spasticity
       ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งนี้  เป็นภาวะที่พบได้บ่อยทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูระบบประสาท (neurorehabilitation) ซึ่งภาวะนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อผู้ป่วย  ดังนั้นการรักษาภาวะนี้
แพทย์ผู้ทำการรักษาจำเป็นต้องมีเป้าหมายการรักษาที่แน่นอน     ควรประเมินว่าหลังการ
รักษาแล้วจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหรือไม่   รวมทั้งประเมิณปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาภาวะ
กล้ามเนื้อหดเกร็ง และควรลดการเกร็งของกล้ามเนื้อมากน้อยเพียงใด โดยคำนังถึงปัจจัย
ที่ควรพิจารณาก่อนการรักษาจึงจะไม่เป็นผลเสียต่อผู้ป่วย
ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง(10) 
1.Chronicity ระยะเวลานานตั้งแต่เกิดพยาธิสภาพ ระยะแรกจะมี     hypotonia
ต่อมาจะเกิด hypertonia และ spasticity  การรักษาผู้ป่วย acute
UMN และมี spasticity เล็กน้อย การรักษาใช้ระยะเวลาเพียงสั้น ๆ
โดย focal chemodenervation  หรือ oral medication  ดีกว่าแต่
ในราย chronic spasticity อาจมี contracture การรักษาอาจต้อง
พิจารณาผ่าตัดร่วมด้วย  หรือผู้ป่วยอาจมี compensation เพื่อ
function แล้วการรักษาต้องกำหนดเป้าหมายให้ดี เช่น
chemodenervation เพื่อคลาย finger flexors ทำให้ ทำ palm
hygiene ได้  เป็นต้น
2.Severity ผู้ป่วยที่มี spasticity เล็กน้อย  การรักษาด้วย range of motion
exercises, splint, orthosis และ oral medication จะได้ผลดี
แต่ถ้า spasticity รุนแรงมากอาจต้องทำ Chemodenervation
3. Distribution เป็น focal หรือ generalize เช่น ผู้ป่วย severe spastic
paraplegia การใช้ chemodenervation ที่กล้ามเนื้อกลุ่มเดียว
อาจไม่ทำให้ function ดีขึ้นได้ ควรให้ intrathecal bacloten หรือ
global treatment อื่น ๆ    ในทางตรงข้ามผู้ป่วย stroke ที่มีเพียง
equinus gait  การทำ local chemodenervation ที่
gastrocnemius ทำให้ผู้ป่วย function ดีขึ้น
4.Locus of Injury เช่น spasticity จากพยาธิสภาพของไขสันหลังจะตอบสนองดีต่อ
oral baclofen  มากกว่า spasticity จากพยาธิสภาพในสมอง
selective dorsal    rhizotomy จะใช้ใน cerebral  palsy ดีกว่า
ใน spinal cord injury
5.Co-morbidities ถ้าผู้ป่วยมี poor selective motor control การลด spasticity
อาจไม่ช่วยให้ function ดีขึ้น  การรักษาจะมีเป้าหมายเพื่อ
improve positioning, hygiene care, comfort เท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยมี selective motor control ดี  การลด spasticity
จะช่วยในเรื่อง mobility และ ADL
6.Cognitive function ก็เป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนการรักษาหากผู้ป่วย cognitive
function ดี  เมื่อลด spasticity แล้วสามารถฝึกฝนผู้ป่วยให้
เคลื่อนไหว  ฝึกเดินได้  ผึกการทำกิจวัตรประจำวันได้  ผลการ
รักษาจะดี(24,48)
ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนทำการรักษาด้วยการฉีดยาลดเกร็งเฉพาะที่ (9)
     การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหดเกร็งด้วยยาฉีดนั้น จะประสบผลสำเร็จดีหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดคือ
การเลือกผู้ป่วยและการตั้งเป้าหมายการรักษา        ผู้ป่วยที่มีการทำงานของทั้ง antagonist และ
agonist muscles เหลืออยู่จึงจะมีการทำงานที่ดีขึ้นได้หลังการรักษา    ผู้ป่วยเด็กที่มีสมองพิการ
เหมาะที่จะนำมารักษาเมื่ออายุอยู่ในช่วง 2-6 ปี     ส่วนผู้ป่วย stroke และ TBI ควรรักษาภายใน
3-12 เดือน ถ้าการรักษาช้าไปกว่าช่วงเวลาดังกล่าว การตั้งเป้าหมายการรักษาควรมุ่งเน้นไปด้าน
cosmetic และ hygiene care มากกว่าหวังผลด้าน functional gains(9)