อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 จะไม่มีอาการ 6 ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการมักจะมาด้วย เลือดออกผิดปกติมากที่สุดถึงราวหนึ่งในสาม อาการต่างๆ ที่มักจะพบได้แก่ 1. เลือดออกผิดปกติ มักจะเป็นลักษณะของเลือดออกมากและนานผิดปกติ (Menorrhagia) สาเหตุอาจเกิดจากพื้นที่ของเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับ ฮอร์โมน หรือเกิดจากเส้นเลือดที่เลี้ยงโพรงมดลูกมีความผิดปกติ 7ผู้ป่วยที่มีเลือดออก ผิดปกติควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เนื่องจากอาจมีพยาธิสภาพอย่างอื่น ที่ไม่ใช่เนื้องอกมดลูก เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก Endometrial polyp เป็นต้น บางรายอาจมีเลือดออกมากจนมีอาการของโรคโลหิตจางได้ 2. อาการปวด ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยเคยมีอาการปวดท้องน้อย 6 ซึ่งอาจเกิด การเกิดเพิ่ม Activity ของกล้ามเนื้อมดลูก ส่วนรายที่มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน มักจะเกิดจากลักษณะของการเสื่อม (degeneretion) หรือเกิดการบิดขั้วของ Subserous myoma หรือ Prolapsed ของ Submucous myoma ได้ ส่วนอาการปวดเรื้อรังนั้น มักไม่พบบ่อย หากมีอาการปวดเรื้อรังควรวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นด้วย เช่น Adenomyosis หรือ การอักเสบในอุ้งเชิงกราน 3. อาการของก้อนไปกดอวัยวะข้างเคียง เช่น กดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะ บ่อย หรือกดบริเวณทวารหนัก ทำให้มีอาการท้องผูก 4. มีบุตรยาก โดยทั่วไป Submucous myoma จะเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก ที่พบได้บ่อย มีการศึกษาพบว่าโพรงมดลูกที่รูปร่างผิดปกติ ทำให้การตั้งครรภ์เกิดยากขึ้น ส่วนเนื้องอกมดลูกแบบอื่นๆ มักไม่เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากหากไม่ไปกดให้ท่อนำไข่ อุดตัน แต่หากก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่อาจทำให้โอกาสการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ท่าเด็กผิดปกติ หรือคลอดยากได้ |