อาการแสดง
          อาการแสดงที่พบได้บ่อยคือ
          โดยทั่วไปมักตรวจภายในพบว่า ปกติ โดยเฉพาะในรายที่เป็นระยะแรก ๆ
          ในรายที่เป็นมาก ๆ มักตรวจภายในพบว่า มีก้อนตุ่ม ๆ (nodularity) และเจ็บ
บริเวณ uterosacral ligaments หรือใน cul-de-sac (พบได้ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย)
          อาจตรวจพบมดลูกคว่ำหลัง และติดแน่นใน cul-de-sac ร่วมกับก้อนรังไข่โต
และกดเจ็บร่วมด้วย
          ในบางรายอาจพบ endometriotic spots หรือ nodules ในช่องคลอด
โดยเฉพาะตรง posterior fornix ซึ่งเราสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยภาวะนี้ได้
          ก้อนบริเวณปีกมดลูก ซึ่งก้อน endometrioma ในอุ้งเชิงกราน  จะพบในรายที่
เป็นมาก โยกเคลื่อนไหวได้น้อย และเจ็บ
          เจ็บบริเวณหัวหน่าวในช่วงที่มีระดู ร่วมกับประวัติอาการเจ็บเวลาถ่ายปัสสาวะ
และถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด  ให้ชวนสงสัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไปที่
กระเพาะปัสสาวะ
          ประวัติเจ็บที่ลำไส้ตรง และกลั้นอุจจาระไม่ค่อยได้ในช่วงที่มีระดูเป็นรอบ ๆ
ไปร่วมกับบางครั้งถ่ายอุจจาระเป็นเลือดในช่วงที่มีระดู ให้ชวนสงสัย endometriosis
ที่ผนังลำไส้ใหญ่ด้วย
          อย่างไรก็ตาม ประมารกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วย ไม่มีอาการใด ๆ  เลย
          รอบระดูผิดปกติ ได้แก่ ระดูออกมากและนาน
          บางรายอาจมาด้วยเรื่องคลำก้อนได้ในท้องโดยไม่มีอาการอะไร   ซึ่งพบได้
ประมาณร้อยละ 10
          อาการที่อาจพบได้แต่น้อย คือ การมีเลือดออกทางทวารหนัก  หรือปัสสาวะ
เป็นเลือดในขณะมีระดู เนื่องจากมีรอยโรคที่ rectum และกระเพาะปัสสาวะ ตามลำดับ
classic triad ของ endometriosis คือ มีบุตรยาก ปวดท้องน้อยเป็นรอบ ๆ ตามระดูและ
มีก้อนในอุ้งเชิงกราน ซึ่ง triad นี้พบได้น้อยลง ในปัจจุบัน  แต่กลุ่มที่มาตรวจด้วยเรื่อง
มีบุตรยาก โดยที่ไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีแค่อาการปวดระดูอย่างเดียวพบได้มากขึ้น
ประมาณหนึ่งในสามของ endometriosis ไม่มีอาการ
          การกำหนดระดับความรุนแรงของโรคตาม Revised American Society for
Reproductive Medicine Classification 1996(7)
          ตัวอย่างวิธีคิดระดับความรุนแรงของโรค โดยให้เป็นคะแนน ตาม ASRM 1996