ระบบติดต่อระหว่างมารดากับทารกในครรภ์
          สามารถจำแนกระบบติดต่อระหว่างมารดากับทารกในครรภ์ ตามลักษณะ
ทางกายวิภาคและการทำงานออกเป็น 2 องค์ประกอบหลัก คือ
          1. องค์ประกอบทางรก (Placental arm) เป็นระบบเกี่ยวกับโภชนาการ, ภูมิคุ้มกัน
และต่อมไร้ท่อ
          2. องค์ประกอบทาง Paracrine (Paracrine arm) เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของ
การตั้งครรภ์, การยอมรับของระบบภูมิคุ้มกัน, ควบคุมปริมาณน้ำคร่ำ และป้องกันทารก
ในครรภ์ Placental arm ประกอบด้วยสองส่วนคือ
          1. เลือดจากมารดาไปเลี้ยง Intervillous space ผ่านทาง Endometrial/decidual
spiral arteries โดยเลือดจากมารดาจะออกจากเส้นเลือดไปไหลอาบอยู่รอบ Villous
syncytiotrophoblast 
          2. เลือดของทารกในครรภ์อยู่ภายในเส้นเลือดฝอยภายใน Intravillous space
ของ Placental villi 
          การนำสารอาหารและระบบต่อมไร้ท่อ  รก (Vilious trophoblast และ
Syncytium) เป็นแหล่งสำคัญของการนำสารอาหารระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสำคัญของการสร้างฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์  ส่วนประกอบหลัก
ของระบบติดต่อทางกายวิภาคระหว่างมารดากับทารกในครรภ์ ได้แก่ เลือดทารกในครรภ์,
รก และเลือดมารดา  รกของคนมีลักษณะเป็นแบบ Hemo-chorioendothelial ซึ่งผิวนอก
ของรกประกอบด้วย Microvilli ถูกอาบด้วยเลือดของมารดา แต่เลือดของทารกในครรภ์
จะอยู่ภายใน Fetal capillaries ภายใน Intervillous space ของรก ดังนั้นจึงแยก
ออกจาก Syncytiotrophoblast ด้วยผนังของ Fetal capillaries, Mesenchyme ใน
Intervillous space และ Cytotrophoblast  ในภาวะปกติจึงไม่มีการสัมผัสโดยตรงเลือด
ของมารดากับทารกในครรภ์ 
Paracrine arm: เยื่อหุ้มทารก และ Decidua Parietalis ของมารดา
          เป็นการติดต่อระหว่างเซลล์ใกล้เคียง (Cell-to-cell contact) และการติดต่อ
ทางชีวโมเลกุลผ่านทางเยื่อหุ้มของทารกในครรภ์ ระบบ Paracrine arm ประกอบด้วย
น้ำคร่ำ, Amnion, Chorion laeve และ Decidua parietalis  เมื่อ Embryo
และ Extra embryonic tissue โตขึ้น Amnion และ Chorion laeve กลายเป็นเยื่อหุ้ม
ที่เหนียวแต่ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเกาะติดกับพื้นผิวของ Decidua parietalis ของมารดา
(ส่วนของ Decidua ที่ไม่มีรกเกาะ) ด้านนอกและน้ำคร่ำด้านใน ในน้ำคร่ำเต็มไปด้วย
สารขับถ่ายจากไตและสารคัดหลั่งจากปอดและผิวหนัง  ซึ่งสารในน้ำคร่ำเหล่านี้จะเป็น
ตัวติดต่อโดยตรงระหว่างทารกในครรภ์กับมารดา ดังนั้น หลังจากอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
ปัสสาวะของทารกในครรภ์จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำคร่ำ สารคัดหลั่งจากปอด
จะถูกขับออกมาในน้ำคร่ำจากการเคลื่อนไหวของทรวงอกที่คล้ายกับการหายใจ ในทาง
กลับกัน Decidual products และสารในเลือดของมารดา สามารถส่งผ่านน้ำคร่ำไปยัง
ทารกโดยการหายใจและการกลืน นอกจากนี้ Amnion ยังมีส่วนอื่นไปคลุม Umbilical
cord ติดต่อกับ Wharton jelly ซึ่งเป็น Extracellular matrix ที่ล้อมรอบ Umbilical vein
1 เส้นและ Umbilical arteries 2 เส้น   ในครรภ์แฝด Amnion  จะเป็นส่วนที่อยู่ระหว่าง
ทารกทั้งสอง  โดยอาจเป็นแบบ Diamnionic-dichorion หรือ Diamnionic-
monochorion ก็ได้ ส่วน Chorion laeve จะไม่ครอบคลุมไปถึงผิวของรก ด้านทารก
ในครรภ์ (Fetal Surface) ของรกหรือ Cord
          Human amnion สามารถสังเคราะห์ Vasoactive peptide เช่น Endothelin-1
(Vasoconstrictor) และ Parathyroid hormone-related protein (Vasorelaxant)
ในทางทฤษฎีจึงเป็นไปได้ว่า Vasoactive peptide ที่สร้างขึ้นใน Placental amnion
ทำงานออกฤทธิ์กับเส้นเลือดใกล้เคียง (Paracrine manner) เช่น ควบคุม Vascular 
tone ใน Chorionic vessels ที่ทอดไปตาม Fetal surface ของรกก่อนที่จะแตกแขนง
เข้าไปใน Cotyledons  ผนังหลอดเลือดประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบและ Endothelial
cells ที่สามารถตอบสนองต่อ Vasoactive agents แต่ Spiral arteries ของมดลูกและ
Decidua หลังจากที่ถูกรุกรานโดย Cytotrophoblast จะไม่ตอบสนองต่อ Vasoactive
agent เนื่องจากกล้ามเนื้อเรียบและ Endothelial cells ของหลอดเลือดถูกทำลาย
Dynamic role ของทารกในครรภ์
          ในอดีตเข้าใจว่าทารกในครรภ์เป็นผู้รับจากการตั้งครรภ์ ซึ่งปัจจุบันทราบว่าไม่เป็น
ความจริง  เพื่อเข้าใจบทบาทของทารกในครรภ์ในการควบคุมการตั้งครรภ์จำเป็นต้อง
ระลึกว่าในขณะที่ทารกในครรภ์ถูกปกป้องจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่ทารกก็สามารถ
ประสานงานกับส่วนอื่นๆ เพื่อกำหนดโชคชะตาของตนเอง เช่น สารเคมีที่ใช้ฝังตัวของ
Embryo ก็มาจาก Trophoblas และ Blastocyst เพื่อรุกรานเข้าไปใน Endometrium
และหลอดเลือด การรับรู้ของมารดาว่ามีการตั้งครรภ์เกิดจากสัญญาณที่สร้างจาก
Trophoblast ไปยังรังไข่ของมารดา การยอมรับของระบบภูมิคุ้มกันของมารดาต่อทารก
ที่เป็น Semiallogeneic tissue ส่วนหนึ่งเกิดจาก Trophoblast ที่มีลักษณะ Human
lymphocyte antigen (HLA) พิเศษคือ HLA-G(4) รวมไปถึงการดำเนินของการตั้งครรภ์
ที่ถูกควบคุมด้วย Steroid hormone จากรกซึ่งสร้างมาจากสารต้นกำเนิดจากทารก
ในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามารดาในขณะตั้งครรภ์ก็เกิดจากสารจากรก
จึงเป็นไปได้ว่าการเจ็บครรภ์คลอดก็เริ่มมาจากทารกเป็นผู้ชักนำให้เกิดขึ้น  ซึ่งเห็นได้ว่า
ปฏิกิริยาหลายชนิดเกิดขึ้นจากการติดต่อในระดับชีวโมเลกุลที่เฉพาะเจาะจงระหว่าง
เนื้อเยื่อของทารกในครรภ์และมารดา