ระบบหมุนเวียนเลือดของทารกในครรภ์
          ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารและออกซิเจนผ่านทาง  Umbilical vein ที่มาจากรก
Umbilical vein เข้าสู่ทารกทาง Umbilical ring ผ่านไปตามผนังหน้าท้องไปยังตับ จากนั้น
จะแบ่งแขนงออกเป็น Portal sinus และ Ductus venosus  Portal sinus เข้าสู่ Hepatic
vein บริเวณ  Lobe  ข้างซ้ายของตับ ส่วนแขนงใหญ่ของ  Umbilical vein คือ  Ductus
venosus จะนำเลือดผ่านตับเข้าสู่  Inferior vena   cava  (IVC) โดยตรงจากนั้นจึงเข้าสู่
หัวใจทารก เลือด ใน IVC  จึงเป็นเลือดผสมระหว่างเลือดแดงที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจาก
Ductus venosus กับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากหลอดเลือดดำใต้ระดับกระบังลม
เลือดผสมที่เข้าสู่หัวใจของ  IVC  จึงมีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า Umbilical  vein
แต่ยังมากกว่าเลือดที่มาจาก  Superior vena cava  (SVC) เลือดจาก  IVC จะเข้าสู่
หัวใจห้อง Atrium ขวาผ่านรูเปิด Foramen ovale เข้าสู่  Atrium ซ้าย  ส่วนเลือดจาก SVC
ส่วนมากจะไหลลงสู่  Ventricle  ขวา  การที่เลือดจาก  IVC  ไหลผ่าน  Foramen  ovale
เข้าสู่  Atrium  ซ้ายโดยไม่ต้องผ่าน  Ventricle ขวา และ  Pulmonary circulation
เหมือนในระยะหลังคลอดทำให้สามารถส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูงเข้าสู่  Ventricle ซ้าย
ส่งไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญคือหัวใจและสมอง ส่วนเลือดจาก  SVC ที่เป็นเลือดดำไหลลงสู่
Ventricle ขวา ไปยัง  Pulmonary trunk ผ่าน  Shunt คือ  Ductus arteriosus เข้าสู่
Descending aorta  มีเพียงน้อยกว่าหนึ่งในสามหรือประมาณร้อยละ 10 ของเลือด
ทั้งหมดที่ผ่านปอด เนื่องจากก่อนคลอดปอดยังไม่ขยายตัว  ความต้านทานในหลอดเลือด
Pulmonary  จึงสูงกว่าความต้านทานที่  Ductus arteriosus  และ หลอดเลือดอื่นๆ
ของร่างกาย  เลือดส่วนใหญ่จึงไหลผ่าน  Ductus arteriosus  เพื่อชดเชยปริมาณ
ออกซิเจนในเลือดจากหัวใจที่ต่ำลง ปริมาณเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจทารกในครรภ์ จะสูงกว่าในผู้ใหญ่สามเท่า อันเป็นผลมาจากอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น
และความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายที่ต่ำลง
          จากการทดลองฉีดสาร  Plastic microspheres เคลือบสารรังสีเข้าเส้นเลือด
ในลูกแกะในครรภ์ ระยะไตรมาสที่สาม พบว่าเลือดจากหัวใจส่วนใหญ่ไปสู่รก(ร้อยละ 40)
ที่เหลือไปยังสมอง (ร้อยละ 5), หัวใจ (ร้อยละ 5), ทางเดินอาหาร (ร้อยละ 5)  ปอด
(ร้อยละ 4) ตับ , ไต และม้าม  (อย่างละร้อยละ 2) และร่างกายส่วนอื่นๆ ร้อยละ 35 (17)
          เลือดกลับไปยังรกผ่านทางเส้นเลือดแดง  Hypogastric arteries 2 เส้น และให้
แขนงส่วนปลายเป็น Umbilical arteries ก่อนเข้าสู่รก
          ภายหลังคลอดความต้านทานในหลอดเลือด  Pulmonary ที่ลดลงจากการ
ขยายตัวของปอดร่วมกับการผูกและตัดสายสะดือ  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบ
หมุนเวียนเลือดอย่างมาก กล่าวคือ หลอดเลือดที่สะดือ, Ductus arteriosus, Foramen
ovale และ Ductus venosus จะตีบตันไป ความแตกต่างของความดันระหว่าง
Pulmonary artery  และ  Aorta  ร่วมกับ  Oxygen  tension ของเลือดที่ไหลผ่าน
Ductus  arteriosus  (PO2 มากกว่า  55 มม.ปรอท)  ทำให้เลือดที่ไหลผ่าน  Ductus
arteriosus ลดลงหรือหยุด เข้าใจว่าเป็นผลจากการทำงานของ Prostaglandin ต่อ
Ductus โดยพบว่า Prostaglandin E2 ทำให้ Ductus  arteriosus เปิดจึงสำคัญต่อ
การคงอยู่ของ  Ductus arteriosus  ในครรภ์  ถ้าให้  Prostaglandin synthase
inhibitors  แก่มารดาก่อนคลอดอาจมีผลเสียทำให้  Ductus arteriosus ปิดก่อนกำหนด
ในผู้ป่วยโรค Patent ductus arteriosus (PDA) การให้ Inhibitors หลังคลอดจะช่วย
รักษา PDA ให้ปิดได้
          การทำงานของ  Ductus arteriosus หยุดประมาณ 10-96 ชั่วโมงหลังคลอดแต่
Anatomical closure  จะเกิดเมื่อ 2-3 สัปดาห์หลังคลอด(18) ส่วน  Foramen ovale
ปิดเองหลังคลอดเพียงไม่กี่นาที  แต่  Anatomical closure จะเกิดสมบูรณ์หนึ่งปี
หลังคลอด
          Umbilical arteries ตีบตันไป 3-4 วันหลังคลอดกลายเป็น Umbilical ligament
ส่วน Umbilical vein กลายเป็น Ligamentum teres, Ductus venosus ตีบและ
กลายเป็น Ligamentum venosum