อวัยวะเพศ (Gonads)
          อัณฑะทารกสร้าง  Testosterone จาก Progesterone และ Pregnenolone
ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์(58)   Leinonen และ  Jaffe (ค.ศ.1985 )(59) พบว่าการให้
hCG  โดยต่อเนื่องแก่ทารกในครรภ์ ไม่ทำให้  Fetal testicular  Leydig cells เกิด
Desensitization เหมือนใน  Adult testis เข้าใจว่าเกิดจาก  fetal testis ไม่มี  Estrogen
receptor หรือการกระตุ้นของ Prolactin  hCG/ LH receptors ใน Fetal testis
          พบว่าระดับของ hCG จะสัมพันธ์กับจำนวน  Leydig cells ใน  Fetal testis
การสร้าง Testosterone จาก Fetal testis และ ปริมาณ LH/ hCG receptor
การที่ไม่พบ  Down-regulation ของ LH/hCG receptor ทำให้ Fetal testis สามารถหลั่ง
Testosterone ออกมาได้ตลอดเวลาตราบที่ระดับ hCG ยังสูงอยู่
          รังไข่ทารกสามารถสร้างฮอร์โมน Estrogen ได้ แต่ Estrogen ไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับการพัฒนาลักษณะเพศหญิง
เพศของทารก สามารถบอกเพศทารกจากภายนอกได้เมื่อทารกมีขนาดประมาณ
50 ม.ม.(1)
การกำหนดเพศทารกแรกเกิด
          หน้าที่สำคัญอันหนึ่งของผู้ทำคลอดคือ กำหนดเพศให้ทารก  ซึ่งอาจมีปัญหา
ในรายที่อวัยวะเพศภายนอกกำกวม (Ambiguous genitalia) การตรวจค้นเพื่อกำหนด
ลักษณะเพศทารกที่ถูกต้องจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อันหนึ่ง เพราะถ้ากำหนด
เพศผิดไปตั้งแต่ต้นแล้ว  อาจทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจและสังคมของผู้ป่วยและ
ครอบครัว ตามมาได้  การทราบกลไกพัฒนาอวัยวะเพศทั้งปกติและผิดปกติ จะช่วยให้
การตรวจค้น เพื่อตัดสินใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
          โดยหลักการแล้ว ลักษณะเพศชาย  ถูกควบคุมโดยการทำงานของอัณฑะทารก
ในกรณีที่ทารกไม่มีอัณฑะ  อวัยวะเพศภายนอกจะพัฒนาเป็นเพศหญิง
การพัฒนาเพศทารก
          Chromosomal sex  คือ เพศที่กำหนดโดยพันธุกรรม (Genetic sex) ซึ่งอาจเป็น
XX หรือ XY เกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ หลังจากนั้น 6 สัปดาห์จะยังไม่มี
การพัฒนาของอวัยวะเพศ จนกว่าจะมีการพัฒนาของ Primordial gonad ไปเป็นอัณฑะ
หรือรังไข่จึงเริ่มพัฒนาอวัยวะเพศหรือ Gonadal sex (รูปที่ 10)
รูปที่ 10  แสดงการพัฒนาเพศของทารก
          Gonadal sex ในขบวนการพัฒนาอวัยวะเพศ Genes บน Y chromosome
ที่เรียกว่า Testis-determining genes เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดการพัฒนาของ
Gonad ไปเป็นอัณฑะ (Testis) ตัวอย่างของ Gene กลุ่มนี้คือ SRY gene
(Sex-determining region of the Y-chromosome) ที่จำเพาะเจาะจงกับ Y
chromosome ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดโดยมี  Transcription factor ไปควบคุม
การกำหนดของ Gene ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของอวัยวะเพศ แต่ยังไม่ทราบกลไก
แน่ชัด SRY  แสดงออกได้ตั้งแต่ระยะ Single cell zygote แต่ไม่แสดงออกในขณะอยู่ใน
ตัวอสุจิ(60)
          บทบาทของ Chromosomal sex ต่อ Gonadal sex เห็นได้ชัดเจนในกรณี XX
male พบอุบัติการณ์การเกิดประมาณ 1: 20,000-24,000 ของการคลอดทารกเพศชาย
สาเหตุเกิดจากการสลับชิ้นส่วน (Translocation) ของ Y-chromosome กับ
X-chromosome ในขณะแบ่งตัวแบบ Meiosis ของ germ cell เพศชาย ทำให้
Testis-determining region สลับไปอยู่บน X-chromosome(61)
Phenotypic Sex  ลักษณะเพศภายนอกพัฒนาตามหลัง  Gonadal sex ก่อนอายุครรภ์
8 สัปดาห์ ยังไม่สามารถแยกเพศของทารกได้  การพัฒนาอวัยวะเพศชายจะขึ้นกับ
การทำงานของ Testis แต่การพัฒนาเป็นเพศหญิงเกิดได้โดยไม่ต้องมีรังไข่  การทดลอง
เอา Gonad ของลูกกระต่ายในครรภ์ออกก่อนพัฒนาไปเป็นเพศใดเพศหนึ่ง (Fetal
Castration)(62)  พบว่าลูกกระต่ายทุกตัวเป็นตัวเมีย  จากการพัฒนาของ Mullerian
ducts ไปเป็นมดลูก หลอดมดลูกและช่องคลอดส่วนบน แต่ถ้านำอัณฑะมาฝัง
บนตำแหน่งของ Gonad หลังถูกตัดออกจะทำให้ลักษณะเพศภายนอกของลูกกระต่าย
ทุกตัวเป็นตัวผู้และภายในข้างที่มีอัณฑะอยู่ Wolffian duct จะพัฒนาไปเป็น Epididymis,
Vas deferens และ Seminal vesicle ส่วน Mullerian duct จะฝ่อไปแต่อีกข้างที่ไม่ได้ฝัง
อัณฑะจะมีการพัฒนาของ Mullerian duct แทน
การเปลี่ยน Testostorone เป็น 5a-dihydrotestosterone
          ในเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อ Androgen  Testosterone  จะถูกเปลี่ยนเป็น
5a- dihydrotestosterone (5a-DHT)  โดย  Enzyme 5a-reductase เนื่องจาก
5-DHT จับกับ Androgen-binding protein receptor  ได้มากกว่า  Testosterone
Steroid-receptor protei complex ชักนำให้เกิดการตอบสนองต่อ Androgen จาก
Genes ต่างๆ บน Nuclear Chromatin การตอบสนองต่อ 5a-DHT เกิดขึ้นมาก
ในบริเวณ Genital tubercle และ Labioscrotal folds ส่วนการพัฒนาของ Wolffian
duct ในเพศชายขึ้นกับ Testosterone(63)
บทบาทของอัณฑะทารกต่อลักษณะเพศชาย
          อัณฑะของทารกในครรภ์หลั่งสารโปรตีนที่เรียกว่า   Mullerian inhibiting
substance ซึ่งเป็น Glycoprotein  สร้างจาก Sertoli cells ใน Seminiferous tubules
ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 7 ของการตั้งครรภ์ ออกฤทธิ์เฉพาะที่ (Paracrine) ทำให้ Mullerian duct
ฝ่อ (ประมาณสัปดาห์ที่ 9-10 ของการตั้งครรภ์) นอกจากนี้อัณฑะยังหลั่ง Testosterone
ออกมากำหนดลักษณะอวัยวะเพศชายทั้งภายในและภายนอก(1)
Genital ambiguity ของทารกแรกเกิด
          ลักษณะอวัยวะเพศกำกวม เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของ Androgen
ในทารกกล่าวคือ Androgen ทำงานมากผิดปกติในทารกเพศหญิงหรือไม่พอเพียงในทารก
เพศชาย ซึ่งอาจเกิดจากการหลั่ง Testosterone ผิดปกติหรือขาดการตอบสนอง
ของเนื้อเยื่อต่อ Androgen
          แบ่งลักษณะทางคลินิกของ Genital ambiguity ออกเป็น 3 ชนิด คือ
          1. Female pseudohermaphroditism
          2. Male pseudohermaphroditism
          3. Dysgenetic gonads และ True Hermaphrodite
I Female pseudohermaphroditism ลักษณะที่พบ
          1. ไม่พบ Mullerian-inhibiting substance
          2. ได้รับฮอร์โมน Androgen ขนาดสูงผิดปกติในทารกเพศหญิง
          3. Karyotype เป็น 46,XX
          4. ตรวจพบรังไข่
          เพศทางพันธุกรรมและ Gonadal sex เป็นเพศหญิง  ส่วนระดับความผิดปกติของ
อวัยวะเพศภายนอกขึ้นกับปริมาณ Androgen ที่ได้รับ อาจเกิดได้ตั้งแต่น้อยๆ คือ Clitoral
hypertrophy ไปจนถึง Posterior labial fusion  และถ้าได้รับ Androgen ตั้งแต่
อายุครรภ์น้อยๆ อาจเกิด Severe virilization ได้แก่พบ Labioscrotal folds การพัฒนา
ผิดปกติของ Urogenital sinus ที่ช่องคลอดเชื่อมต่อกับ Posterior urethra หรือที่
รุนแรงขึ้นไปอีก จะพบ Penile urethra พร้อมกับมี Scrotal sac แต่ไม่พบอัณฑะภายใน
("Empty scrotum" syndrome) 
          สาเหตุของ Androgen excess เกิดจาก
          1. Congenital adrenal hyperlasia พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากขาด Enzyme
ในขั้นตอนการสร้าง Cortisol จาก Cholesterol เช่น 21-hydroxylase,
11b-hydroxylase หรือ 3b-hydroxysteroid dihydrogenase ทำให้มีการหลั่ง ACTH
จากต่อม Pituitary  มากระตุ้นต่อมหมวกไตให้สร้าง Androgenic prehormone สูงขึ้น
เช่น  Androstenedione และจะถูกเปลี่ยนเป็น Testosterone  ในเนื้อเยื่อนอกต่อม
หมวกไต
          2. Androgen จากมารดามากผิดปกติ เช่น Hyperreactio luteinalis, theca
lutein cysts หรือเนื้องอกของรังไข่ของมารดา (เช่น Luteoma, Arrhenoblastoma
(Sertoli/Leydig cell tumor), หรือ Hilar cell tumors) อย่างไรก็ตามโดยปกติ
Syncytiotrophoblast ในรกสามารถเปลี่ยน C19-steroids (รวมทั้ง Testosterone)
ไปเป็น Estradiol-17b ป้องกันการเกิด Virilization ของทารกเพศหญิงจากปริมาณ
Androgen ที่สูงในมารดาได้เป็นส่วนมาก แต่ถ้าขาด Aromatase enzyme ก็อาจเกิด
Virilization ได้
          นอกจากนี้ยาบางชนิดที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์เช่น  Synthetic progestin
ที่มาจาก 19-nortestosterone อาจออกฤทธิ์เหมือนกับ Androgen ในเนื้อเยื่อทารกได้
โดยที่ยาสามารถยับยั้งปฏิกิริยา Aromatization ในทารกทำให้ Androgen ไม่ถูกเปลี่ยน
สภาพไป
II Male pseudohermaphroditism ลักษณะที่พบ
          1. มี Mullerian inhibiting substance ทำให้ไม่พบมดลูก, หลอดมดลูก และ
ช่องคลอดส่วนบน
          2. การแสดงลักษณะเพศชายเกิดไม่สมบูรณ์ในทารกเพศชาย
          3. Karyotype เป็น 46,XY
          4. อาจพบ Testis หรือไม่พบ Gonad เลยก็ได้
          Incomplete masculinization ของทารกอาจเกิดจากการสร้าง Testosterone
จากอัณฑะไม่พอเพียง หรือปริมาณ Androgen ปกติแต่การตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อ
Androgen ผิดปกติ เช่น ไม่สามารถสร้าง 5a- dihydrotestosterone สนองตอบต่อ
Androgen ได้
          ความผิดปกติของการสร้าง Testosterone อาจเกิดจากความบกพร่องของ
Enzyme อันใดอันหนึ่งใน 4 ชนิดของกระบวนการสังเคราะห์ Testosterone (รูปที่15)
ลักษณะภายนอกของทารกแรกเกิดอาจแตกต่างกันไปตามผลต่อ Testosterone  จาก
Enzyme ที่ขาด ความบกพร่องของการสังเคราะห์  Steroid ของอัณฑะ  อาจเกิดจาก
ความผิดปกติของ LH/hCG receptor หรือ Hypoplasia ของ Leydig cell ของ Testis
          Embryonic Testicular Regression   เกิดการเสื่อมของ  Embryonic testis
ในกรณีที่  Testis เสื่อมสลายไปในช่วง Embryo หรือ Fetus ทำให้ไม่มีการสร้าง
Testosterone ลักษณะเพศภายนอกที่เปลี่ยนไปขึ้นกับช่วงเวลาที่อัณฑะเสื่อมสลาย(64)
(รูปที่16)  ซึ่งพบได้แตกต่างกันตั้งแต่ลักษณะภายนอกเหมือนเพศหญิง ยกเว้น
ไม่มีมดลูก, หลอดมดลูก และช่องคลอดส่วนบน หรือลักษณะเพศชายแต่ไม่มีอัณฑะ
          ภาวะดื้อต่อ Androgen (Androgen resistance) เกิดจาก Androgen receptor
ขาดหายไปหรือผิดปกติในเนื้อเยื่อที่ควรสนองตอบต่อ Androgen หรือ ขาด
5a-reductase enzyme ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยน Testosterone ไปเป็น
5a-dihydrotestosterone ได้(1)
          Testicular feminization เป็นกลุ่มอาการที่มี Androgen resistance สูงที่สุด
โดยอาจไม่พบการตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อ Androgen เลยก็ได้  ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะ
เป็นเพศหญิงมีช่องคลอดสั้นและตัน ไม่พบอวัยวะที่เจริญมาจาก Wolffian duct เมื่อเข้าสู่
วัยรุ่น จะพบระดับ Testosterone ในเลือดใกล้เคียงกับผู้ชายปกติ แต่ไม่มี Virilization
หรือ Pubic และ Axillary hair  ระดับ LH สูงจากภาวะ Androgen resistance 
ของสมอง และ Pituitary gland ซึ่ง LH ระดับสูงนี้กระตุ้นให้อัณฑะสร้าง 17b-Estradiol
เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดลักษณะเพศหญิงเช่น เต้านมโตขึ้นได้(65)
          ในกรณีที่เกิด Incomplete testicular feminization ซึ่งยังมีการสนองตอบต่อ
Androgen อยู่บ้าง ทารกแรกเกิดจะมี Clitoral hypertrophy เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมี Pubic
และ Axiallary hair ร่วมกับเต้านมคล้ายผู้หญิง ด้วยกลไกเช่นเดียวกับ Complete form
ของ Testicular feminization(66)
          อีกกลุ่มหนึ่งที่มี Androgen resistance คือ Familial male
pseudohermaphroditism type 1 หรือ Reifenstein syndrome(67) อาจจะมีลักษณะ
Incomplete genital virilization เหมือน Incomplete testicular feminization ไปจนถึง
ลักษณะเพศชายที่มี Bifid scrotum, เต้านมโต และมีบุตรยาก เกิดจาก Gene ที่ควบคุม
Androgen receptor (บน X chromosome) เกิดภาวะ Mutation พบได้มากกว่า
100 ชนิด ทำให้ลักษณะภายนอกแตกต่างกันมาก
          อีกรูปแบบหนึ่งของ Androgen resistance เกิดจากการขาด 5a-reductase
enzyme ในเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อ Androgen การทำงานของ Androgen  ในเนื้อเยื่อ
เหล่านี้ปกติอาศัย 5a-reductase enzyme เปลี่ยนให้เป็น 5a-dihydrotestosterone
ในผู้ป่วยที่ขาด 5a-reductase ทำให้ลักษณะอวัยวะเพศภายนอกเป็นเพศหญิง
แต่อาจมี Clitoral hypertrophy ได้  เนื่องจาก Wolffian duct อาศัยเพียง Testosterone
จึงสามารถพัฒนาเป็น Epididymis, Seminal vesicles, Vas deferens และ Male
ejaculatory ducts  ได้โดย Ejaculatory ducts ต่อกับช่องคลอด(67)

III Dysgenetic Gonads
มีลักษณะเบื้องต้นดังนี้
          1. ไม่พบ Mullerian inhibiting factor ทำให้มีมดลูก, หลอดมดลูกและช่องคลอด
ส่วนบน
          2. การตอบสนองต่อ Fetal androgen แตกต่างกัน
          3. Karyotype พบได้แตกต่างกัน และมักผิดปกติ
          4. ไม่พบ Gonads ทั้งรังไข่และอัณฑะ (Dysgenetic)มีน้อยมาก ที่พบทั้งเนื้อเยื่อ
รังไข่และอัณฑะ
          สาเหตุที่พบมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ Turner syndrome 45,XO ลักษณะภายนอก
เป็นเพศหญิง แต่เมื่อย่างเข้าวัยสาวไม่พบลักษณะ Secondary sex characteristics
บางรายที่มี Dysgenetic gonad อาจมีอวัยวะเพศกำกวม บ่งว่าเคยมีการสร้างฮอร์โมน
Androgen ในช่วง Embryo/fetus
          Mixed gonadal dysgenesis อาจพบทั้ง Dysgenetic gonad ข้างหนึ่งและ
อัณฑะผิดปกติหรือเนื้องอกจาก Gonad ที่พัฒนาผิดปกติอีกข้างหนึ่ง
          True hermaphroditism ผู้ป่วยจะมีทั้งเนื้อเยื่อรังไข่และอัณฑะและพบ Germ
cells ทั้งสองเพศใน Abnormal gonad 
การวินิจฉัยเบื้องต้นถึงสาเหตุของ Genital ambiguity
          โดยการตรวจร่างกายและคลื่นเสียงความถี่สูง ถ้าพบว่าทารกมีมดลูก การวินิจฉัย
อาจเป็น Female pseudohermaphroditism, Testicular หรือ Gonadal dysgenesis
หรือ True hermaphroditism ควรซักถามประวัติครอบครัวถึงโรค Congenital adrenal
hyperplasia
          ถ้าไม่พบมดลูก การวินิจฉัยจะเป็น Male pseudohermaphroditism, ภาวะ
Androgen resistance และความผิดปกติของ Enzyme ในการสังเคราะห์
Testosterone จากอัณฑะ มักมีประวัติในครอบครัว
          การกำหนดเพศขณะคลอด การตัดสินเพศทารกแรกคลอด อาจพิจารณาดังนี้
          1. ในกรณี Female pseudohermaphroditism ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง และมีบุตรได้
          2. ในกรณี Male pseudohermaphroditism แม้การผ่าตัดตกแต่งอวัยวะเพศชาย
ในผู้ป่วย Androgen resistance สามารถทำได้แต่ไม่สามารถมี Sexual function หรือ
มีบุตรได้เหมือนผู้ชายปกติ
          3. ในกรณี Dysgenetic gonads ที่พบมดลูก, หลอดมดลูกและช่องคลอด
อาจตั้งครรภ์ได้ โดยการผสมนอกร่างกาย (In vitro fertilization)