การดูแลรักษา........
การเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์ (Antenatal fetal surveillance)
        -การตรวจทางชีวเคมี (Biochemical methods)
                เช่นเดียวกันกับการตั้งครรภ์ปกติ การประเมินภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์   โดยการ
ตรวจทางชีวเคมีให้ผลไม่ดีนัก ทั้งในด้านความไวและความจำเพาะ   ในการประเมินสุขภาพทารก
ค่าทางชีวเคมีที่ใช้ในการเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์ของสตรีที่เป็นโรคเบาหวาน จึงมีเพียงระดับ
กลูโคสในเลือดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

        -การสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกโดยมารดา (Fetal activity)
               เป็นการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ที่ง่าย และไม่กระทบกระเทือนต่อมารดาและทารก
แต่สามารถให้ผลบวกและลบลวงได้มากพอสมควร    นอกจากนี้พบว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่ง
เคยเชื่อว่าน่าจะทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวลดลง    ก็อาจเป็นภาวะที่กระตุ้นให้ทารกเคลื่อนไหว
เพิ่มขึ้นได้(79)   จึงไม่สามารถใช้แปลผลสุขภาพทารกในครรภ์ได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดียังคงแนะ
นำให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็น GDM สังเกตและนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ในช่วง 8-10สัปดาห์
สุดท้ายของการตั้งครรภ์(80)

        -การตรวจทางชีวกายภาพ (Biophysical methods)
                 การตรวจ Nonstress test (NST) เป็นที่นิยมแพร่หลายในการเฝ้าระวังสุขภาพทารก
ในครรภ์ ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานแนะนำให้ทำการตรวจ NST สัปดาห์ละครั้งตั้งแต่อายุ
ครรภ์ 32 สัปดาห์ และเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้งตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป  และอาจ
ทำการตรวจบ่อยขึ้น     หากมีภาวะผิดปกติอื่นๆ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผลดี หรือ
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์(2,80,81)
                 การตรวจ   Biophysical profile  (BPP)   เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการประเมินสุขภาพ
ทารกในครรภ์ ไม่พบประโยชน์ของการใช้ BPP ร่วมกับ NST ในกรณีที่ผล NST  ในกรณีที่ผล NST
ปกติ (Reactive)   แต่หากผล NST  ผิดปกติ (Non-reactive)  การตรวจ BPP  มีส่วนช่วยในการ
ประเมินความรุนแรงของความผิดปกติของทารกในครรภ์และใช้ตรวจติดตามได้ดีกว่า   ซึ่งในบาง
สถาบันอาจใช้การตรวจ  Contraction stress test (CST) แทน     อย่างไรก็ตามการพิจารณาให้
การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง      เมื่อพบว่าผลการตรวจดังกล่าวผิดปกติต้องคำนึงถึงภาวะอื่นๆ เช่นอายุ
ครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ร่วมด้วยเสมอ
                 จากการประชุมของกลุ่ม Diabetes in Pregnancy Study Group of North America
เมื่อปี พ.ศ.2541 ได้เริ่มทำการศึกษาโดยมีสมมติฐานว่า 1)   ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น GDM และไม่มี
ภาวะแทรกซ้อนใดๆ ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจประเมินทารกในครรภ์ก่อนคลอด และ 2) การใช้ BPP ในการเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น GDM น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสม
กว่า NST ในแง่ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและลดหัตถการที่ไม่จำเป็นลง(82)  ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวน่า
จะให้คำตอบสำหรับวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเฝ้าระวังทารกในครรภ์      ของสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้
ได้ดีขึ้น

        การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

               การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีบทบาทสำคัญ ในการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
ของสตรีที่เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ไตรมาสแรก      โดยทำการตรวจเพื่อคัดกรองความผิดปกติต่างๆ
และภาวะพิการแต่กำเนิด    ในอดีตมีการศึกษาพบว่าการตรวจพบภาวะทารกโตช้า ในครรภ์ตั้งแต่
อายุครรภ์น้อยๆ ช่วยพยากรณ์ภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกได้(83)   แต่ต่อมา Reece และคณะ
ได้ทำการศึกษาย้อนหลังในระยะเวลา 6 ปีแล้วไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว(84)การตรวจด้วยคลื่น
เสียงความถี่สูง     ยังสามารถใช้ในการตรวจติดตามการเจริญเติบโตพยากรณ์ภาวะทารกโตช้าใน
ครรภ์หรือภาวะทารกตัวโต และเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจ BPP   ได้แก่การตรวจวัดปริมาตรน้ำคร่ำ
(Amniotic fluid volume)
              นอกจากนี้การตรวจด้วยคลื่นเสียง Doppler ของเส้นเลือดแดง Uterine และ Umbilical
ก็มีบทบาทในการเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์   โดยอาจช่วยในการประเมินระบบไหลเวียนโลหิต
ของทารก และภาวะทารกคับขันเมื่อผลการตรวจ NST หรือ BPP ผิดปกติ(85,86)
               กล่าวโดยสรุป      ในการเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์ของสตรีที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่
รุนแรงแนะนำให้ทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อยืนยันอายุครรภ์     และค้นหาภาวะพิการแต่
กำเนิดในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง หลังจากนั้นควรทำการตรวจติดตามการเจริญเติบโต
ของทารกทุก 4-6 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์สังเกตุ     และนับ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์     ทำการตรวจ NST สัปดาห์ละครั้งตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
และเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป     ทำการตรวจบ่อยขึ้นหรือ
ตรวจเพิ่มเติมด้วย CST, BPP  และการตรวจคลื่นเสียง Doppler      หากสตรีตั้งครรภ์นั้นมีภาวะ
แทรกซ้อนอื่นๆ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผลดี หรือการตรวจขั้นพื้นฐานให้ผล
ผิดปกติ