เกณฑ์ในการวินิจฉัย GDM........
 
        ารที่เลือกใช้วิธีรับประทานกลูโคสแทนที่จะฉีดเข้าเส้นเลือด เนื่องจากทำให้เข้ากับสรีรวิทยา จริงเพราะสตรีตั้งครรภ์ได้รับกลูโคส จากการรับประทานอาหารเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นการประเมิน
ระบบทางเดินอาหาร  ซึ่งมีผลต่อการหลั่งอินสุลินของร่างกายด้วย  การตรวจทำโดยให้ผู้ป่วยงดน้ำ
และอาหารประมาณ 8-12 ชั่วโมงและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดในตอนเช้า หลังจากนั้นให้ผู้ป่วย
รับประทานกลูโคสปริมาณ 100 กรัม และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากรับประทานกลูโคส
ไปเป็นเวลา  1, 2 และ 3  ชั่วโมงตามลำดับ เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่ามีภาวะ GDM คือ  ค่าผิดปกติ
ตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป โดยค่า Cut-off ในแต่ละระยะเวลาดังใน ตารางที่ 1(20)
ตารางที่ 1 เกณฑ์ในการวินิจฉัย GDM : พบค่าผิดปกติตั้งแต่ 2 ขึ้นไป
ระยะเวลา
หลังรับประทานกลูโคส
O'Sullivan*(21)
ACOG and
Expert
Committee**(16)
4thIWC modified,
Carpenter and
Coustan***(17)
ขณะงดอาหาร
90
105
95
1 ชั่วโมง
165
190
180
2 ชั่วโมง
145
165
155
3 ชั่วโมง
125
145
140
* Whole blood, Somogyi-Nelson method; 
**plasma or serum, glucokinase or hexokinase method; 
***plasma or serum, glucokinase or hexokinase method.
        ค่า Cut-off ที่การประชุม 4th IWC แนะนำเป็นผลจากการศึกษาของ Carpenter และ Couston ในปี พ.ศ.2525(22) ซึ่งพบว่าค่า Cut-off ที่ใช้เดิมสูงเกินไป ทำให้มีสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัย
เสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพจาก GDM รวมทั้งทารกตัวโตไม่ได้รับการวินิจฉัย และดูแลรักษาอย่าง
ถูกต้อง อย่างไรก็ดี Rust และคณะพบว่าการลดค่า Cut-off ในการวินิจฉัย GDM ลงไม่ได้ช่วยให้
ผลลัพธ์ของทารกปริกำเนิดเปลี่ยนแปลงไป และยังแนะนำให้ใช้เกณฑ์ของ ACOG ต่อไป(23)
         ในบางประเทศ การตรวจวินิจฉัยภาวะ GDM จะใช้ 75-g OGTT       โดยตรวจระดับน้ำตาล
ในเลือดหลังรับประทานกลูโคสเพียง 2 ครั้งคือ 1 และ 2 ชั่วโมง หากใช้วิธีดังกล่าวค่า Cut-off ที่ใช้
จะมีค่าเท่ากับ 95, 180 และ 155 มก/ดล.    เมื่องดอาหารและ 1, 2 ชั่วโมงหลังรับประทานกลูโคส
ตามลำดับ ซึ่งการประชุม 4th IWC ได้เสนอการตรวจ 75-g OGTT เพียงครั้งเดียวแทนการตรวจ
กรองด้วย OGCT และตามด้วย OGTT ในปัจจุบัน(17)  อย่างไรก็ตามการนำมาใช้ในทางปฏิบัติ
ยังคงต้องทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่เสียก่อน