สตรีที่เป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (GDM) มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรคเบาหวาน
โดย
เฉพาะอย่างยิ่งชนิด NIDDM ในอนาคตสูง(107) โดยเฉพาะในสตรีที่มีรูปร่างอ้วน หรือมีประวัติ โรคเบาหวานในครอบครัว(108) นอกจากนี้อุบัติการในการเกิด GDM ซ้ำเมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไปก็สูง ถึงร้อยละ 34-56(109-112) โดยเฉพาะหากมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ(112-113) ได้แก่เป็น GDM เมื่ออายุ ครรภ์น้อยหรือชนิดที่ต้องรักษาด้วยอินสุลิน สตรีที่มีรูปร่างอ้วน หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากระหว่าง ตั้งครรภ์ มีบุตรยาก คลอดทารกตัวโต และมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว โดยทั่วไป จึงแนะนำให้คำปรึกษาและตรวจติดตามสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานหลัง คลอด โดยทำการตรวจ OGTT หลังคลอด(114,115) เพื่อพยากรณ์การเกิดโรคเบาหวานในอนาคต ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป โดยเฉพาะสตรีที่เป็นโรคเบา หวานอยู่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งลดค่าใช้จ่าย ต่างๆ ที่ต้องใช้ หากเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว(116) ระหว่างเว้นระยะการมีบุตรควรให้คำแนะนำ เรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกต้องเหมาะสมดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น |