Clinical Application : Hypokalemia
          Hypokalemia    คือภาวะที่ระดับ plasma potassium น้อยกว่า 3.5 mmol/L ภาวะ hypokalemia ไม่ได้บ่งชี้ว่าระดับโพแทสเซียมในร่างกายจะต้องลดลงด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดสาเหตุ
          1. Redistribution  ปริมาณของ K ในร่างกายเป็นปกติ แต่มีการเคลื่อนย้ายของ K จากนอกเซลล์เข้าสู่ในเซลล์ ภาวะนี้มักเกิดเร็วหายเร็ว (ถ้าสามารถแก้สาเหตุได้) มีต้นเหตุในภาวะต่อไปนี้
             1.1 systemic alkalosis ภาวะ alkalosis จะทำให้ H+ จากเซลล์ ออกมาในน้ำนอกเซลล์ (ECF) แลกกับ K จากน้ำนอกเซลล์ (ECF) ในกรณีของ metabolic alkalosis มักจะมีการสูญเสีย K จากร่างกายร่วมด้วย เช่น การอาเจียน  การให้ยาขับปัสสาวะ
             1.2 Insulin excess การเพิ่มขึ้นของ insulin อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกร่างกาย เช่น การได้รับ insulin ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือมีสาเหตุจากภายในร่างกาย เช่น insulinoma
             1.3 Cathecholamine excess  b-adreneraic  ทำงานเพิ่มขึ้น, ความเครียด, ยา
             1.4 Periodic paralysis  เป็นโรคทางพันธุกรรม มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นครั้งคราว โดยตรวจพบ serum K  ต่ำ หรือสูงขึ้นมาก
          2. การบริโภคไม่เพียงพอ  (Inadequate intake)

              ปกติโดยทั่วไปแล้ว ถ้าไม่รับประทานอาหารที่มี K เลย ก็จะยังมีการสูญเสีย K อยู่ตลอด ทั้งจากทางผิวหนัง และทางเดินอาหาร ประมาณ 5-15 mmol/วัน  ดังนั้น ถ้าไม่ทาน  K เลย จะมีการขาดดุลย์ของ K  ในอาหารทั่วๆ ไป จะได้  K ประมาณ 40-120 mmol/วัน  ดังนั้นถ้ารับประทานปกติ ก็ยากที่จะเกิดภาวะ Hypokalemia  แต่ก็อาจพบได้ ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานอาหารเลยจากคำสั่งแพทย์ให้งดอาหารทางปาก, มีโรคทางกาย เช่น  dysphagia หรือมีโรคทางจิต เช่น  anorexia nervora
          3. Potassium loos

              3.1 การสูญเสียโพแทสเซียมทางเหงื่อ เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก,  heat stroke  ในภาวะเหล่านี้ จะมีการสูญเสีย K ทางไตรวมด้วย จากการเพิ่มของ aldosterone ซึ่งเกิดจากปริมาณน้ำภายนอกเซลล์ลดลง
              3.2 การสูญเสียโพแทสเซียมทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน, อุจจาระร่วง, gastric suction
              3.3 การสูญเสียทางไต
                    - โรคไต ได้แก่  RTA, potassium-losing nephritis
                    - ยา เช่น  diuretic
                    - hyperadosterosium

อาการและอาการแสดง
          อาการมักเริ่มปรากฏเมื่อระดับพลาสม่าโพแทสเซียม ต่ำกว่า 3  mmol/L  มักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย ลำไส้มี paralytic ileus ทำให้ท้องอืด และที่สำคัญคือ อาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmias) และถ้ารุนแรง หัวใจอาจหยุดเต้นจนถึงแก่ชีวิตได้
          ถ้ามีระดับพลาสม่าโพแทสเซียมต่ำอยู่นาน จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์  tubule ของไต ไตจะไม่สามารถทำให้ปัสสาวะเข้มข้นได้ ปริมาณปัสสาวะมากขึ้น ติดเชื้อที่ไตง่าย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
          ตรวจ spot urine K  ถ้ามากกว่า 20  mmol/L น่าจะนึกถึงว่ามีการสูญเสียโพแทสเซียมทางไต