Hyperkalemia คือภาวะที่ระดับพลาสม่าโพแทสเซียม
มีค่ามากกว่า 5 mmol/L
สาเหตุ
1.
Factitious hyperkalemia
1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับเทคนิคการเจาะเลือด
- ใช้สายยางรัดแขนแน่นและนานเกินไป
- กำมือแน่นและรุนแรงมาก
- ระยะเวลาที่เจาะนาน ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ทำให้มีโพแทสเซียมรั่วออกจากเซลล์
1.2 Pseudohyperkalemia
- เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเปราะ
- จำนวนเกร็ดเลือดที่สูงมาก ( > 500,000-1,000,000 ตัว/ลบ.มม.)
- จำนวนเม็ดเลือดขาวที่สูงมาก ( > 100,000 ตัว/ลบ.มม.)
2.
Potassium Redistribution
- acidosis
- hypoinsulinemia
- b-adrenergic blockade
- ยา ได้แก่ succinylcholine, digitalis
- periodic paralysis
3.
Potassium overload โดยทั่วไป ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมปริมาณมาก
ระดับของโพแทสเซียมจะสูงขึ้นชั่วคราว จากนั้นจะขับออกจากร่างกาย ถ้าระดับของโพแทสเซียมสูงผิดปกติ
มักจะเกิดจากปริมาณที่ได้รับมีมากเกินไป หรือให้ในเวลาที่เร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะขับออกได้ทัน
หรือร่วมกับมีความผิดปกติของไต
3.1 แหล่งโพแทสเซียมจากภายนอก (exogeneous source)
- oral or IV potassium replacement therapy
- large blood transfusion
3.2 แหล่งโพแทสเซียมจากภายใน (endogenous source)
- Intravascular hemolysis
- Massive GI bleeding
- Tumor lysis syndrome
- Hypercatabolism
4.
ความผิดปกติในการขับโพแทสเซียมทางไต
- acute หรือ chronic renal failure (GFR < 20 ml/นาที)
- renal tubular disease
- hypoaldosteronism
- Addison's disease
- diuretics
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงทางกล้ามเนื้อ
ในระยะแรกจะมีอาการชา จากนั้นมีอาการอ่อนแรงของแขนขา
อาการทางหัวใจ
มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ควรส่งตรวจ
BUN, Cr ด้วย
ส่วน urine
potassiun ไม่ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค
|