การควบคุม
DNA re-replication |
วัฎจักรของเซลล์ตัวอ่อน
และการควบคุม |
|
กระบวนการที่สำคัญที่ควบคุมวัฏจักรของเซลล์ในเซลล์ตัวอ่อนในระยะเริ่มต้น
กระบวนการหนึ่งคือ Re-replication block กระบวนการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าการเกิด
DNA replication จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในแต่ละวัฏจักรของเซลล์เท่านั้น
กระบวนการดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากการควบคุมแบบย้อนกลับ (Feedback regulation)
แต่เกิดจากกลไกในการจำกัดตนเอง (Self-limiting device) โดยการเปลี่ยนแปลงตนเองหลังการเกิด
DNA replication |
มีการทดลองที่ทำโดยการ
Fusion เซลล์ในระยะต่างๆ กัน ในวัฏจักรของเซลล์มาตรฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เพาะเลี้ยงอยู่
(รูปที่ 16) โดยการ Fusion เซลล์ในระยะ S ซึ่งมีสารกระตุ้นให้เกิด DNA synthesis
กับเซลล์ในระยะ G1 พบว่า เซลล์ในระยะ G1 ถูกกระตุ้นให้สร้าง DNA แต่เมื่อ Fusion
เซลล์ในระยะ S กับเซลล์ในระยะ G2 พบว่า เซลล์ในระยะ G2 ไม่ถูกกระตุ้นให้สร้าง
DNA อีก ส่วนเซลล์ที่อยู่ในระยะ S ดังกล่าวยังคงสร้าง DNA ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าเพราะเซลล์ในระยะ
G2 มีการสร้าง DNA เสร็จสิ้นแล้ว และได้สร้างกลไกขึ้นป้องกันไม่ให้เกิด DNA
replication ซ้ำขึ้นอีก และเมื่อ Fusion เซลล์ในระยะ G1 กับ G2 พบว่า เซลล์ในระยะทั้งระยะ
G1 และ G2 ยังคงดำเนินไปตามวัฏจักรปกติ ทั้งนี้เชื่อว่าสารที่กระตุ้นให้เกิด
DNA synthesis ได้สลายไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง |
Re-replication
block, self-limiting device |
1.
S + G1 |
S-phase
cytoplasm contains factors that induced condensation of chromosomes
of G1-phase cell. |
2.
S + G2 |
G2
nucleus, having already replicated its DNA, is refractory to
their action of MPF. |
3.
G1 + G2 |
G2
cell does not drive the G1 nucleus into DNA synthesis because
the factors disappear when the cell moves into G2. |
|
รูปที่ 16
การทดลองการเกิด DNA Re-replication block โดยการ Fusion เซลล์ในระยะ S กับเซลล์ในระยะ
G1 พบว่า เซลล์ในระยะ G1 ถูกกระตุ้นให้สร้าง DNA แต่เมื่อ Fusion เซลล์ในระยะ
S กับ G2 พบว่า เซลล์ในระยะ G2 ไม่ถูกกระตุ้นให้สร้าง DNA อีก ส่วนเซลล์ที่อยู่ในระยะ
S ดังกล่าวยังคงสร้าง DNA ต่อไป และเมื่อ Fusion เซลล์ในระยะ G1 กับ G2 พบว่า
เซลล์ในระยะทั้งระยะ G1 และ G2 ยังคงดำเนินไปตามวัฏจักรปกติ |
กระบวนการควบคุม
DNA Re-replication นี้ เชื่อว่ายุติลง ณ ช่วงใดช่วงหนึ่ง ระหว่างระยะที่ G2
สิ้นสุดลง และระยะ S ของวัฏจักรใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการต่างๆ ในวัฏจักรของเซลล์ที่แตกต่างกัน
จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น เซลล์ของแมลงวันที่กระบวนการเกิด DNA replication
เกิดขึ้นได้มากมายหลายครั้งในวัฏจักรเดียว |
เพื่อการดำรงอยู่ของเซลล์
เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จะต้องได้รับสารพันธุกรรมที่ปกติอย่างครบถ้วน ในการแบ่งตัวของเซลล์ที่เกิดขึ้นทุกครั้ง
ฉะนั้นกระบวนการ DNA replication ในระยะ S จึงต้องได้รับการควบคุมอย่างดี
เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการ DNA replication นี้ จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
กระบวนการที่ควบคุมนี้เรียกว่า Licensing ensure จากการศึกษาในไข่กบ พบว่ามีการควบคุมโดยตัวควบคุมที่สำคัญ
2 ชนิด
1.
การควบคุมในทางส่งเสริม (posotive regulation) โดย Cdt1 และ
2. การควบคุมในทางตรงข้ามหรือการยับยั้ง
(negative regulation) โดย Geminin
|
เชื่อว่ากลไกการเกิด
DNA replication เริ่มต้นจากโปรตีนสำคัญกลุ่มหนึ่งที่เข้าไปจับกับ Chromatin
หรือเรียกว่า Origin Recognition Complex (ORC) การจับนี้กระตุ้นให้เกิดการจับของโปรตีนอื่นๆ
ที่มีความจำเป็นสำหรับการเกิด DNA replication จากการศึกษาพบว่า โปรตีนที่สำคัญ
6 ชนิด จะจับกันเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เรียกว่า Minichromosome maintenance
(MCM) และหนึ่งใน 6 ชนิดนั้น คือเอนไซม์ helicase ที่สามารถคลายเกลียวของ
DNA (unwind DNA) สารประกอบเชิงซ้อน MCM นี้ เป็นตัวควบคุมสำคัญในระยะ S
และเชื่อว่าเป็นผู้เริ่มปฏิกิริยาที่สำคัญในการช่วยให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
DNA replication สามารถทำปฏิกิริยากับ Chromatin ได้ (รูปที่ 17)
|
 |
รูปที่
17
โปรตีนเริ่มตั้งแต่ Origin Recognition Complex (ORC) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ทุกระยะตลอดวัฏจักรของเซลล์
ตามด้วยการทำงานของ Loading factors คือ Cdc6/18 และ Cdt1 และ Minichromosome
maintenance (MCM) MCM นี้ เป็นตัวควบคุมสำคัญในระยะ S และเชื่อว่าเป็นผู้เริ่มปฏิกิริยาที่สำคัญในการช่วยให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
DNA replication สำหรับโปรตีนกลุ่มที่เป็น Loading factors นี้ พบว่ามีอยู่ในนิวเคลียสและมีมากในระยะ
S เชื่อว่า CDK ที่เกิดขึ้นในระยะ G1/S มีส่วนช่วยกระตุ้นกระบวนการดังกล่าวนี้ในขณะที่
CDK ที่เกิดขึ้นในระยะ G2/M ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการดังกล่าวนี้
(click ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)
|
|
ฉะนั้นก่อนที่เซลล์จะสร้างสารพันธุกรรมขึ้นครบ
2 ชุด ก่อนการแบ่งตัวนั้น เซลล์จะต้องได้รับการรับรอง หรืออนุญาตให้เกิด DNA
replication และอาศัยการทำงานของสารประกอบเชิงซ้อนที่เป็นโปรตีน เริ่มตั้งแต่
ORC ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ทุกระยะตลอดวัฏจักรของเซลล์ ตามด้วยการทำงานของ
Loading factors คือ Cdc6/18 และ Cdt1 และ MCM โปรตีนกลุ่มที่เป็น Loading
factors นี้ พบว่ามีอยู่ในนิวเคลียสและมีมากในระยะ S เชื่อว่า CDK ที่เกิดขึ้นในระยะ
G1/S มีส่วนช่วยกระตุ้นกระบวนการดังกล่าวนี้ ในขณะที่ CDK ที่เกิดขึ้นในระยะ
G2/M ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการดังกล่าวนี้ เชื่อว่า Geminin เป็นสารสำคัญที่พบในนิวเคลียสในระยะ
S ไปจนถึงระยะ M มีความสำคัญในการหยุดยั้งการเกิด DNA replication |
การทดลองทำ Xenopus
egg ซึ่งมี replication ในหลอดทดลองมาเติม Geminin ลงไป พบว่า Geminin ทำปฏิกิริยากับ
Cdt1 และสามารถระงับการทำงานของ MCM กับโครมาติน และยับยั้งกระบวนการ DNA replication
การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมที่กำลังทำอยู่ก็คือพิสูจน์ว่า Geminin เป็นโครมาตินต้านมะเร็งหรือไม่
และเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งหรือไม่ |