ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการทำ MCT
ข้อบ่งชี้การทดสอบความไวของหลอดลมด้วย Methacholine

Methacholine Challenge Testing (MCT) มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
          1. เพื่อจะดูว่าผู้ป่วยมีหลอดลมไวต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่จำเพาะหรือไม่ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของโรคหืด ดังนั้นจึงใช้เป็นวิธีทดสอบในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคหืด แต่อาการไม่ชัดเจน หรือตรวจสมรรถภาพปอดและให้ยาขยายหลอดลมเพื่อดูภาวะหลอดลมอุดกั้นแล้ว ก็ยังไม่อาจวินิจฉัยได้
               ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคหืด คือผู้ที่มีอาการไอ เหนื่อย มีเสียงหวีดในปอด หลังจากได้สัมผัสอากาศเย็น ออกกำลังกาย สารก่อภูมิแพ้ สารในที่ทำงาน การติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจ หรือปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ พบว่า MCT จะมีประโยชน์ในการช่วยแยกโรค มากกว่าจะช่วยสนับสนุนในการวินิจฉัยโรคหืด เพราะ negative predictive value ของ MCT มากกว่า 90% เนื่องจากผู้ป่วยหืดที่เพิ่งมีอาการจะมี BHR ทุกราย แต่ BHR เอง สามารถพบได้ในโรคอื่นๆ ได้แก่ COPD, cystic fibrosis, bronchitis, allergic rhinitis และ congestive heart failure นอกจากนี้ เมื่อผู้ป่วยหืดได้รับการรักษา ก็จะมี BHR ดีขึ้น จึงใช้การเปลี่ยนแปลงของ BHR เพื่อดูผลของการรักษาได้ด้วย

          2. ใช้ในการประเมินความรุนแรงของโรคหืดได้ ความจริงการประเมินความรุนแรงของโรคหืดนั้น อาจพิจารณาได้จาก อาการแสดง การตรวจร่างกาย การเป่า peak flow เช้าและเย็นทุกวัน นอกจากนี้ค่า PC20 ยังมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการหอบหืดด้วย เช่น ผู้ป่วย mild asthma มักจะมี PC20 อยู่ในช่วง 2-8 มก/มล ผู้ป่วย moderate asthma มักจะพบ PC20 ระหว่าง 0.5-2 มก/มล และผู้ป่วย severe asthma มักจะพบมีค่า PC20 น้อยกว่า 0.5 มก/มล
               ผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดฉับพลัน สมรรถภาพปอดมักมีความผิดปก ติเป็นชนิดหลอดลมอุดกั้นมากอยู่แล้ว จึงไม่ควรทำการทดสอบความไวของหลอดลมอีก เพราะว่าเพียงแค่ออกแรงเป่าลมหลายครั้ง ก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น และ FEV1 ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ได้ หรือ เมื่อทำการทดสอบความไวของหลอดลม บางครั้งเพียงแต่ผู้ป่วยสูดหายใจด้วยตัวทำละลาย ผู้ป่วยก็มี FEV1 ลดต่ำลงมากกว่าร้อยละ 20 แล้ว ซึ่งก็ถือว่าหลอดลมมีความไวอย่างยิ่ง

          3. ใช้ในการประเมินผลของการตอบสนองต่อการรักษาและติดตามผลการรักษา เช่น
การที่จัดเปลี่ยนสภาพสิ่งแวดล้อมให้ปลอดจากสารก่อภูมิแพ้ สารอันตรายในที่ทำงาน การรักษาด้วยยาต้านการอักเสบ เช่น sodium chromoglycate หรือ inhaled corticosteroids เป็นระยะเวลานาน และการฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้ (immunotherapy) อาจจะช่วยลดความไวของหลอดลมได้
               MCT มีประโยชน์อย่างมากในการประเมินผู้ป่วยหอบหืดจากการทำงาน นอกจากนี้ ยังอาจใช้สารที่ผู้ทำงานสัมผัสนั้น มาใช้ในการทดสอบ เพื่อดูถึงความไวของหลอดลมเฉพาะต่อสาร (specific BHR) ได้อีกด้วย

          4. ช่วยประเมินอัตราเสี่ยง (relative risk) การเกิดโรคหืด ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง เช่น ญาติของผู้ป่วยในครอบครัวภูมิแพ้ เป็นต้น

ตารางที่ 2 ข้อบ่งชี้ในการทำ Bronchoprovocation Challenge
Methacholine, Histamine
1.
2.
เพื่อตรวจหาผู้ป่วยที่มี hyperreactive airways จากสาเหตุใดๆก็ตาม
เพื่อวัด extent ของ BHR
Antigen

1.

2.
3.
4.

เพื่อทดสอบบทบาทของ specific allergen ใน asthma โดยเฉพาะเมื่อการตรวจสอบอื่น ไม่สามารถบอกได้ชัดเจน
เพื่อวินิจฉัย และประเมิน occupational asthma
เพื่อประเมิน allergens ใหม่ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก
เพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยาหรือ immunotherapy
ข้อห้ามในการทำ MCT
          ข้อห้ามในการทดสอบความไวของหลอดลม ได้แก่ ผู้ที่มีหลอดลมอุดกั้นมาก ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น แสดงไว้ในตารางที่ 3 ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการทดสอบ เพราะผู้ป่วยที่มี FEV1 ต่ำอยู่แล้ว จะมีโอกาสเกิดการอุดตันของหลอดลมมากขึ้นจาก methacholine ซึ่งจะเป็นอันตรายจากการหอบรุนแรงมากได้ ถ้า FEV1 ต่ำกว่า 60% ของค่า predicted ไม่ควรจะทำ MCT และ ถ้า FEV1 ต่ำกว่า 50% จะไม่ทำ MCT อย่างแน่นอน ดังนั้นในกรณีเช่นนี้ ผู้ป่วยควรได้รับยาขยายหลอดลม เพื่อดูว่าหลอดลมที่อุดกั้นนั้น สามารถกลับคืนสู่ปกติได้หรือไม่ โดยให้พ่นยาด้วย Beta 2 agonist 4 puff via spacer แล้ว เป่า spirometry ซ้ำ ถ้าพบว่า FEV1 เพิ่มขึ้น มากกว่า 12% และมากกว่า 200 มล. แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคหืด ไม่จำเป็นต้องทำ MCT หรือในกรณีที่คุณภาพของ spirometry ไม่ดี ก็จะทำให้แปลการทดสอบไม่ได้
ตารางที่ 3 ข้อห้ามในการทำ Methacholine Challenge Testing
Absolute contraindication

1.

ภาวะหลอดลมอุดกั้นอย่างรุนแรง (FEV1 <50% predicted หรือ <1.0 ลิตร)
2. โรคหัวใจขาดเลือดหรือสมองขาดเลือดในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา
3. ความดันโลหิตสูงเกินไป คือ Systolic >200 หรือ Diastolic BP >100
4. โรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic aneurysm)
Relative contraindication

1.

ภาวะหลอดลมอุดกั้นปานกลาง (FEV1 <60% predicted หรือ <1.5 ลิตร)
2. ผู้ป่วยไม่สามารถเป่าสมรรถภาพปอดได้ดี
3. ผู้ป่วยตั้งครรภ์
4. ผู้ป่วยให้นมบุตร
5. ผู้ป่วย Myasthenia gravis
6. ผู้ป่วยใช้ยา cholinesterase inhibitor