|
||||||||||||||||
การรายงานผล คือ ค่าของ FEV1 ที่ลดลงจาก baseline หรือจาก postdiluent ในกรณีถ้าใช้ diluent step ด้วย รวมทั้งการแสดงผลของ volume-time, flow-volume curve ด้วย และ PC20 | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
การใช้ exponential model ดีกว่า linear model[21] ในการ interpolation ระหว่าง concentration หรือ dose และนิยมใช้ PC20 มากกว่า PD20 เพราะคำนวนง่ายกว่าและไม่ยุ่งยากเท่ากับ PD20 |
||||||||||||||||
โดยการสร้างกราฟ dose-response curve บน log scale ทำให้เห็นลักษณะของกราฟ ว่าอยู่ในตำแหน่งใด มีความชันมากน้อยเพียงใด ถึงแนวราบสูงสุด (plateau) หรือไม่ และสามารถวัดหาตำแหน่งของ dose หรือ concentration ของน้ำยา methacholine ที่ทำให้ FEV1 ลดลงร้อยละ 20 โดย interpolation ของตำแหน่งจุดสุดท้ายสองจุด ดังรูปที่ 9 |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ถ้าเราใช้ปริมาณ (dose) ของน้ำยา methacholine ในการสร้างกราฟ ค่าที่ได้จะเรียกว่า provocation dose (PD20) แต่ถ้าใช้ความเข้มข้น (concentration) ในการสร้างกราฟ ค่าที่ได้เรียกว่า provocation concentration (PC20) |
||||||||||||||||
แต่เดิมนั้นในกรณีที่ใช้ DeVibiss nebulizer and dosimeter ปริมาณของ methacholine ที่ผู้ทดสอบได้รับ นับเป็นจำนวนครั้งของการหายใจ (breath unit) ซึ่งกำหนดไว้ว่า 1 breath unit (Dose unit) เท่ากับหายใจ 1 ครั้ง ด้วย น้ำยา 1 มก/มล และการหายใจได้รับน้ำยาภายใน 1-3 นาที จะทำให้มีการสะสมน้ำยาในปอดเป็น accumulative dose จึงวัดค่าเป็น PD20 แต่ในปัจจุบัน ATS แนะนำให้ใช้เป็น PC20 เพราะระยะเวลาแต่ละ dose 5 นาที จึงไม่มีการสะสมของยา |
||||||||||||||||
บางครั้งการชั่ง nebulizer ก่อนและหลังผลิตละอองฝอย ทำให้ทราบว่าน้ำยาที่ใช้ไปในแต่ละครั้งเป็นปริมาณที่แน่นอน จึงคำนวนน้ำยา methacholine ที่ใช้ไปเป็น ug หรือ umole ได้ละเอียดยิ่งขึ้นและรายงานเป็น PD20 แต่การทำค่อนข้างยุ่งยากและไม่จำเป็น |
||||||||||||||||
สำหรับวิธี continuous flow โดย Wright nebulizer ระยะเวลาห่างกันทุก 5 นาที เชื่อว่าไม่มีน้ำยาสะสม จึงใช้เป็นค่า PC20 ในกรณีของ Reservior method นั้น ปริมาณละอองฝอยของน้ำยาที่ได้ ค่อนข้างแน่นอน โดยการชั่งกระเปาะ nebulizer ก่อน จึงทำให้ทราบปริมาณของน้ำยาที่ถูกใช้ไปจึงอาจรายงานเป็น PD20 หรือ PC20 ก็ได้ แต่นิยมรายงานเป็น PC20 |
||||||||||||||||
แต่เดิมนั้นปริมาณ accumulation dose ของ methacholine มากที่สุดคือ 200 dose unit (breath unit) หรือความเข้มข้นสูงสุดคือ 25 มก/มล ในปัจจุบัน ATS เลิกใช้ breath unit แล้วและให้ใช้ความเข้มข้นสูงสุด 16 มก/มล โดยถ้า FEV1 ลดลงเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 จาก post-diluent FEV1 จะถือว่าการทดสอบนั้นได้ผลบวก (positive test) คือผู้ทดสอบมีภาวะหลอดลมไวมากผิดปกติคือ PC20< 16 mg/ml ดังแสดงในตารางที่ 2-6 |
||||||||||||||||
ตารางที่ 6 การแบ่งระดับของความไวหลอดลม | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ลักษณะของกราฟในคนปกตินั้นพบว่า FEV1 แทบจะไม่ลดต่ำลงมาเลยและมีลักษณะเป็น plateau แม้ว่าจะใช้ความเข้มข้นของน้ำยาสูงมาก[22] ดังแสดงในรูปที่ 2-5 สำหรับผู้ที่มีหลอดลมไวมากผิดปกตินั้น ลักษณะของกราฟมักจะมีดังนี้ |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการแปลผลของ PC20 |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
Pretest probability คือ การใช้แบบสอบถามเพื่อดูความน่าจะเป็นของโรคหืด ก่อนที่จะทำการทดสอบ MCT และ Posttest probability คือ ความน่าจะเป็นโรคหอบหืด เมื่อพิจารณาทั้ง pretest และ ผลของ MCT ความแตกต่างระหว่าง pretest กับ posttest probability บ่งถึงความสำคัญของ MCT ดังนั้นจึงอาจจะช่วยหรืออาจ misleading ในการวินิจฉัยโรคได้ |
||||||||||||||||
นอกจากนี้การแปลผลความไวของหลอดลม ต้องพิจารณาถึงความไวและความจำเพาะของการทดสอบนั้นด้วย ความไว (sensitivity) ของการทดสอบ MCT หมายถึงจำนวนร้อยละของผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีการทดสอบได้ผลบวก (positive test) ความจำเพาะ (specificity) ของการทดสอบ MCT หมายถึง จำนวนร้อยละของผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหืด ที่มีการทดสอบได้ผลลบ (negative test)้ |
||||||||||||||||
การทดสอบความไวของหลอดลมได้ผลลบ หมายถึงการที่สมรรถภาพปอด FEV1 ไม่ลดลงถึง 20% เมื่อผู้นั้นได้รับการสูดน้ำยา methacholine ที่มีความเข้มข้นสูงสุด (16-25 mg/ml) ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ PC20 > 8-25 mg/ml และการทดสอบได้ผลบวกหมายถึง PC20< 8 หรือ 16 mg/ml ค่าที่เหมาะสมในการแบ่งระหว่างการทดสอบเป็นบวกและลบ (optimal cutoff point) ได้จากการใช้ receiver-operator characteristic (ROC) curve ซึ่งทำให้ค่า PC20 ที่ดีที่สุดในการแบ่งแยกระหว่างผู้ที่เป็นโรคหอบหืด และผู้ที่ไม่ใช่หอบหืด อยู่ในระหว่าง 8-16 mg/ml[23] |
||||||||||||||||
กรณีที่มีผลบวกเทียม (false-positive test) คือ PC20< 8 mg/ml แต่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคหืด อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยเป็น allergic rhinitis หรือ สูบบุหรี่ โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือภาวะอื่นๆ จะเห็นได้ว่า MCT นี้ค่อนข้างจะมีผลบวกเทียมในอัตราที่สูงมากจึงทำให้คุณค่าของ positive predictive value ค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วย allergic rhinitis ประมาณ 30% จะตรวจพบว่า PC20 ต่ำในระดับ borderline BHR ดังนั้น ATS guideline จึงจัด PC20 ระหว่าง 4-16 mg/ml เป็น borderline BHR เพื่อจะได้ทำให้ค่าจำเพาะของการทดสอบดีขึ้น และนอกจากนี้การใช้แบบสอบถามก่อนการทดสอบความไวของหลอดลมที่เรียกว่า pretest probability of ashma จะทำให้ specificity ของการทดสอบดีขึ้น |
||||||||||||||||
สำหรับผลลบเทียม (false-negative test) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหืดแต่ PC20 > 8-25 mg/ml พบได้น้อย[24] จึงทำให้ค่า negative predictive value มากกว่า 90% ถ้า pretest propability อยู่ในช่วง 30-70% ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงสรุปว่าถ้าการทดสอบ MCT ให้ผลลบก็สามารถจะบอกได้เลยว่าผู้นั้นไม่ได้เป็นโรคหืด แต่ก็ต้องพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการที่ทำให้ MCT negative ได้แก่ |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ในแง่การศึกษาทางระบาดวิทยา การใช้แบบสอบถาม pretest probability ในการถามประชากรทั่วไป โดยการเลือกแบบเดาสุ่ม จะเท่ากับเป็นการหาความชุกของโรคหืด ซึ่งค่าที่ได้จะค่อนข้างต่ำประมาณ 5 %[25,26] ในกรณีเช่นนี้ MCT ที่ได้ผลบวกจะค่อนข้างแม่นยำในการบ่งชี้ถึงว่าผู้นั้นเป็นโรคหืด |
||||||||||||||||
ในการศึกษาทางระบาดวิทยา เมื่อการทำการทดสอบความไวหลอดลมแล้วพบว่า ผู้ที่มี PC20 ระหว่าง 1-16 mg/ml และไม่มีอาการของหอบหืด อาจบ่งได้ว่า[27,28,29] |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแสดงที่บ่งว่าเป็นโรคหอบหืด การทำ pretest probability จะได้ค่าสูงมากกว่าประชากรทั่วไป อย่างไรก็ตามถ้า pretest probability อยู่ระหว่าง 30-70% การทดสอบความไวของหลอดลมก็มีประโยชน์ เช่น PC20 1 mg/ml จะทำให้ posttest likelihood ประมาณ 90-98% แต่ถ้า pretest probability 30% และ PC20 4 mg/ml จะทำให้ posttest likelihood ประมาณ 70% |
||||||||||||||||
ถ้าแบบสอบถามก่อนทำการทดสอบ พบว่าผู้นั้นมีโอกาสเป็นโรคหืดประมาณ 30-70% และ ค่า PC20 > 16 mg/ml ก็อาจกล่าวด้วยความมั่นใจว่าผู้ป่วยไม่น่าจะเป็นโรคหืด แต่ถ้าค่า PC20 < 1 mg/ml ก็บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคหืด แต่ถ้า PC20 อยู่ระหว่าง 1-16 mg/ml ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่าผู้นั้นเป็นโรคหืดหรือไม่ อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยมีอาการเหมือนโรคหืดและ PC20 ต่ำก็น่าจะกล่าวได้ว่าผู้นั้นเป็นโรคหืดจริง |
||||||||||||||||
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลทำให้ BHR ดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งปัจจัยต่างๆ ควรจะควบคุม เพื่อให้การทำการทดสอบความไวของหลอดลมนั้นดีที่สุด เท่าที่จะเป็นได้[30] ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหลอดลมอุดตันอยู่แล้ว ก็ยากที่แปลผลของ PC20 |
||||||||||||||||
การทำ MCT ซ้ำเพื่อความแน่ใจหรือดูผลของการรักษาต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลทำให้ BHR ดีขึ้นหรือแย่ลง โดยควรจะพยายามควบคุมเพื่อให้การทำ MCT นั้นดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
นอกจากนี้อาจพบการดื้อต่อยา methacholine ได้ในคนปกติถ้าการทดสอบนั้นทำซ้ำภายในระยะเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมงแต่ไม่เกิดในผู้ป่วยโรคหอบหืด[31] |
21. | Verlato G, Cerveri A, et al. Evaluation of methacholine dose-response curves by linear and exponential mathematical models. Eur Respir J 1996;9:506-511. |
22. | Moore BJ, Hillam CC, et al. Shape and position of the complete dose-response curve for inhaled methacholine in normal subjects. Am J Respir Crit Care Med 1996;154:642-648. |
23. | Perpina MC, Pellicer A, deDiego L, et al. Diagnostic value of the bronchial provocation test with methacholine in asthma: bayesian analysis approach. Chest 1993; 104: 149-154. |
24. | Cockroft DW, Murdock KY, Berscheid BA, Gore BP. Sensitivity and specificity of histamine PC20 determination in a random selection of young college students. J Allergy Clin Immunol 1992; 89: 23-30. |
25. | Lebowitz MD, Spinaci S. The epidemiology of asthma. Eur Respir Rev 1993;3:415-423. |
26. | Gilbert R, Anchincloss JH. Post-test probability of asthma following methacholine challenge. Chest 1990;97:562-565. |
27. | Salome CM, Xuan W, et al. Perception of airway narrowing in a general population sample. Eur Respir J 1997;10:1052-1055. |
28. | Hopp RJ, Townley RG, et al. The presence of airway reactivity before the development of asthma. Am Rev Respir Dis 1990;141:2-8. |
29. | Laprise C, Boulet LP. Asymptomatic airway hyperresponsiveness: a three year follow-up. Am J Respir Crit Care Med 1997;156:403-409. |
30. | Ulrik CS. Factors associated with increased bronchial hyperresponsiveness in adolescents and young adults: the importance of adjustment for prechallenge FEV1. J Allergy Clin Immunol 1996;92:761-767. |
31. | Beckett WS, Marenberg ME, Pace PE. Repeated methacholine challenge produce tolerance in normal but not in asthmatic subjects. Chest 1992;102:775-779.) |