Coagulative necrosis
          สาเหตุหลักของการตายชนิดนี้มักเกิดจากการขาดเลือด (hypoxia) โดยมีข้อยกเว้นคือการตายจากการขาดเลือดในสมอง (brain infarct) ซึ่งมักเกิดการตายแบบ liquefactive necrosis(2)
          เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเนื้อเยื่อที่ตายแบบนี้มีการคงสภาพโครงสร้างของเซลล์และเนื้อเยื่อซัยโตพลาสซึ่ม ของเซลล์ที่ตายจะติดสีชมพูเข้ม ทั้งนี้เนื่องมาจากโปรตีนที่เสื่อมสภาพไปจะมีการจับตัวกับสี eosin เพิ่มขึ้น ในส่วนของนิวเคลียสก็จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีขนาดเล็กลงและติดสีเข้ม (pyknosis) หรือมีการแตกเป็นเสี่ยงๆ (karyorhexis) หรือ โครมาตินติดสีจางลง (karyolysis)(2, 3, 4)
(ภาพที่4)
ภาพที่4A เป็นภาพขยายกำลังต่ำ พบเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมโดยเซลล์เหล่านี้จะมีซัยโตพลาสซึมติดสีชมพูเข้ม (เปรียบเทียบกับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจข้างเคียงที่ปรกติจะเห็นย้อมติดสีชมพูอ่อนกว่า) ให้สังเกตว่าเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายยังรักษาโครงร่างของเซลล์ (cell outline) ไว้เป็นอย่างดี

ภาพที่4B เป็นภาพขยายกำลังสูง จะเห็นว่าเซลล์ที่ตายแต่ละเซลล์ไม่มีส่วนของนิวเคลียสให้เห็น (karyolysis)
ภาพที่4 : Coagulative necrosis ของกล้ามเนื้อหัวใจ