อ.สุวิมล |
การออกใบรับรองแพทย์เป็นเท็จ
เป็นความผิด ป.อ.มาตรา 269
ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาชีพแพทย์ กฎหมาย บัญชีหริอวิชาชีพอื่นใด
ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
หรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำร้องตาม ป.อ.มาตรา 269 ได้แก่ ใบรับรองแพทย์สำหรับลางาน สมัครงาน รวมทั้งการเลื่อนนัดของศาล
ตลอดจนรายงานต่างๆ ที่ให้พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล |
อ.สุขิต |
ขณะนี้เริ่มจะมีการพิจารณาให้เป็นข้อบังคับของแพทยสภา
เกี่ยวกับการรับทุนสนับสนุนจาก บริษัทยา คือ
|
1. |
ไม่รับของมูลค่ามากกว่า
500 บาท |
|
2. |
เมื่อรับสิ่งใด
เช่น ค่าเดินทางไปประชุมต้องแจ้งแพทยสภา และเขียนรายงาน |
|
อ.อำนาจ |
เรื่องการรับผลประโยชน์ เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนวิชาชีพ และได้หยั่งรากลึกลงไปเรื่อยๆ
โดยที่เรามีความต้องการอยากได้ของฟรี หยิบฉวยได้ง่าย แต่หน้าที่แพทย์เป็นผู้ให้
ไม่ใช่ผู้รับ การเสนอของบริษัทยาเป็นการตลาด ทำให้เรากลายเป็นตัวแทนหรือ
detail ของบริษัทยา ปัญหาอยู่ที่ว่า แค่ไหนถึงจะไม่ผิด คงต้องดูที่เจตนา
ถ้ามีเจตนาไม่ว่ามากหรือน้อยก็ผิด ถ้าเป็นการบริจาคให้ส่วนกลาง ก็อาจรับได้
และส่งต่อให้ภาควิชาฯ รับไปจัดการตามความเหมาะสม แต่ถ้ารับเป็นของตนเอง
เป็นการไม่สมควร บริษัทยาจะรู้ได้ว่า ใครเป็นผู้ที่เขาจะเสนอได้ง่าย |
อ.ปรีดา |
ในกรณีศึกษานี้
มี 3 เรื่อง คือ
|
1. |
ผลประโยชน์ที่คนอื่นเอามาให้ |
|
2. |
การวิจัย |
|
3. |
ใบรับรองแพทย์ |
|
|
เรื่องผลประโยชน์นั้น
ข้อสำคัญที่พึงยึดถือ คือ
|
1. |
รับแล้วต้องไม่มีข้อผูกพัน
(string attach) |
|
2. |
รับมาแล้ว
ต้องให้ส่วนกลางหรือมีกรรมการเป็นผู้พิจารณา |
|
3. |
ดูที่เจตนา
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก อยู่ที่มโนสำนึกของแต่ละคน
ว่าจะรู้หรือไม่ ไม่รับด้วยความฉ้อฉล เอาเงินของผู้อื่นมาสร้างบารมีแก่ตัวเอง
หรือเบียดเบียนเวลาของผู้อื่น ในวัฒนธรรมไทยนั้น เราชอบให้ของแก่ผู้อื่น
ในแง่ของสังคม การปฏิเสธน้ำใจของผู้อื่นทำให้เกิดการเสียหน้าขึ้น
ฉะนั้นจึงควรมีวิจารณญาณว่า มารยาทของสังคมเป็นอย่างไร และจะมี
string attach หรือไม่ เช่น ข้อผูกพันที่ว่าต้องให้บริษัทยาพิจารณาผลการศึกษาก่อนเผยแพร่นั้น
ไม่ถูกต้อง แสดงถึงความไม่ตรงไปตรงมา |
|
อ.เทวี |
เรื่องของการฉีดวัคซีนนั้น บางบริษัทสามารถเบิกค่าฉีดวัคซีนได้ อย่างไรก็ตาม
ควรเขียนใบรับรองแพทย์ตามความเป็นจริง ใบเสร็จออกเฉพาะค่ายา หรือแยกให้เห็นอย่างชัดเจน |
อ.กิจประมุข |
วันที่
30 พฤศจิกายน 2543 ป.ป.ช ได้ประกาศชัดเจน เรื่อง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่น
เกิน 3,000 บาทไม่ได้ ถ้ามากกว่าที่กำหนด ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
โดยมติของ ค.ร.ม. เห็นชอบให้ ก.พ.สร้างข้าราชการที่โปร่งใส แบบตรวจสอบได้ |
อ.สุขิต |
การเขียนเอกสารเท็จนั้น
สะท้อนถึงความไม่สุจริตของแพทย์ผู้เขียน ผู้ที่รู้เรื่องระยะแรกคือแพทย์
และผู้ป่วย บริษัทจะถูกเรียกเก็บเงินโดยไม่ถูกต้อง ถ้าความลับนี้รู้ไปถึงบริษัท
กลายเป็นที่รับรู้ของสังคม ทำให้หมดความไว้วางใจ และเกิดผลเสียตามมา
|
อ.กิจประมุข |
เรื่องเช่นนี้
ทางบริษัทมีรายชื่อไว้ ต่อไปถึงจะออกใบรับรองจริงก็ไม่มีใครเชื่อถือ
เหมือนสุภาษิต ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน |
อ.อำนาจ |
ในกรณีเช่นนี้
มีผู้เกี่ยวข้องมากกว่าที่คิดไว้ ซึ่งจะโยงใยถึงกันหมดเช่นนี้
องค์กรวิชาชีพ
เพื่อนร่วมวิชาชีพ ผู้จัดการ บริษัท (ประกันคุณภาพ) บริษัทยา หมอโสมวรรณ
หลานชาย คนไข้,ประชาชน OPD card แพทย์ประจำบ้าน บุตร
|
|
ประเด็นในเรื่องนี้คือ
|
-
การวิจัย |
|
-
ผลประโยชน์ |
|
-
เอกสารอันเป็นเท็จ |
|
-
ผลกระทบต่อประชาชน |
|
-
ตัวอย่างที่ไม่ดี |
|
-
เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ |
|
|
ทั้งหมดนี้
ถ้า role model ไม่ดี จะเกิดทำให้เกิดความดื้อด้าน ชินชา เราต้องรู้จักหน้าที่
ไม่เห็นแก่ได้ รู้จักปฏิเสธ ป้องกันการเกิดความโลภ โกรธ หลง |
อ.ปรีดา |
การวิจัยนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ
บริษัทยาขอดูผลการวิจัยได้ แต่การนำเสนอผลงานวิจัยนั้น เป็นสิทธิของผู้ทำ |
อ.นเรศ |
การสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบวิชาชีพให้ถูกจริยธรรมนั้น
ควรประกอบด้วยความรู้จักพอ รู้จักความละอาย ความเกรงกลัวต่อบาป และความไม่ประมาทในการใช้จ่าย
ใช้จ่ายให้พอกับรายรับ มีการวางแผน และปรับให้พอดีกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป |
อ.สุขิต |
การออกใบรับรองแพทย์เท็จนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ต้องลงตามความเป็นจริง ต้องรู้ทันคนไข้ที่ขอให้เปลี่ยนชื่อโรค ลงโรคเกินความจริง
หรือจะให้ออกใบรับรองแพทย์ย้อนหลัง แพทย์ไม่ควรทำ เพราะผิดจริยธรรม มีผลให้ความน่าเชื่อถือของแพทย์ลดลง |
อ.อำนาจ |
สรุปผลจากกรณีศึกษานี้
คือ
|
1. |
ห้ามรับเงิน |
|
2. |
กรณีที่บริษัทต้องการให้การสนับสนุน
ควรติดต่อผ่านองค์กร ไม่ติดต่อโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดข้อผูกพันโดยไม่รู้ตัว |
|
3. |
การตีพิมพ์บทความ
ต้องมีการรับรองว่าทำได้ |
|
4. |
ห้ามรับค่าตอบแทนในกรณีที่ส่ง
investigate |
|
|
ผลกระทบในรายนี้
นอกจากเกิดแก่ตัวแพทย์เอง ยังเกิดกับผู้ร่วมงาน คนไข้ และองค์กรรวมของแพทย์ด้วย |