1. เพื่อการวินิจฉัย
2. เพื่อการรักษา
3. เพื่อการวิเคราะห์ หรือวิจัย
การเจาะสารน้ำในช่องปอดเพื่อการวินิจฉัย
1. สารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ไม่ทราบสาเหตุ จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และภาพรังสีทรวงอกเพื่อจะได้เลือกส่งตรวจสารต่างๆ ของน้ำที่จะเจาะได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งพิจารณาการตัดสินใจเพื่อจะตัดเยื่อหุ้มปอด (Pleural biopsy) เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาไปด้วย
2. ต้องการเจาะเพื่อจะได้ทราบว่าโรคอยู่ในระยะใด เช่น สารน้ำในช่องปอดที่เกิดจากปอดอักเสบ (Parapneumonic effusion) ว่าอยู่ในระยะ early empyema หรือเป็นหนอง (empyema) หรือเป็นเยื่อหุ้มปอดหนา (organizing phase) แล้ว เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะรักษาด้วยการใส่ท่อระบายสารน้ำหรือหนองออก หรือผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มปอด (decortication) |
การเจาะสารน้ำในช่องปอดเพื่อการรักษา
1. เจาะสารน้ำเพื่อทำให้ผู้ป่วยทุเลาอาการหอบ เช่น ในกรณี massive pleural effusion หรือกรณีที่แม้ว่าสารน้ำไม่มากนักแต่ผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมและการเจาะสารน้ำนั้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
2. เจาะปอดเพื่อใส่ยา ได้แก่
2.1 ใส่สารเพื่อให้เยื่อหุ้มปอดติดกัน (Pleurodesis) โดยใช้สาร sclerosing agent หรือต้านมะเร็ง ในกรณีที่เกิดสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดซ้ำ ๆ จาก มะเร็ง เป็นต้น
2.2 ใส่เอนไซม์ เช่น streptokinase ในกรณีที่เกิดหนองในช่องปอดซึ่งไม่อาจผ่าตัดได้ |
|
|