การตรวจระบบทางเดินหายใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (lung scan)
Ventilation study
สารเภสัชรังสีที่ใช้
ได้แก่ ก๊าช Xenon 133 (133Xe), 127Xe และ Krypton 81m (81mKr) แต่เนื่องจากก๊าชดังกล่าวมีราคาแพง และมีความยุ่งยากในการกำจัดทิ้ง เพราะจำเป็นต้องมีระบบปิด (close system) สำหรับเก็บก๊าชเพื่อทำให้เจือจางก่อนปล่อยสู่บรรยากาศ บางแห่งจึงไม่นิยมใช้แต่ใช้ aerosal ของ 99mTc-compound เช่น 99mTc-DTPA แทน ซึ่งในประเทศไทยใช้ 99mTc DTPA aerosal เพื่อทำ ventilation study
ในที่นี้จะกล่าวถึง ventilation study ที่ใช้ 99mTc-DTPA aerosal เท่านั้น
วิธีการทำ ventilation study
ventilation study
รูปที่ 3
ใช้ 99mTc-DTPA ประมาณ 30 mCi ในปริมาตร 2 มิลลิลิตร ใส่ลงใน nebulizer เปิดออกซิเจนผ่านเข้าไปใน nebulizer ในอัตรา 7-10 ลิตร/นาที เพื่อทำให้สารเภสัชรังสีพ่นเป็นละออง แล้วต่อท่อไปยังผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยหายใจโดยใช้ mouth piece และใช้ nose clip ปิดจมูกไว้ เพื่อให้หายใจผ่านทางปากเท่านั้น (รูปที่ 3) ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกเต็มที่ เป็นเวลา นาน 5 นาที ซึ่งจะทำให้ได้ 99mTc-DTPA aerosal เข้าไปที่ปอดประมาณ 1-2 mCi
หลักการ
aerosal เมื่อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ จะกระจายไปยังส่วนปลายของหลอดลมและถุงลม ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของ aerosal ซึ่งถ้า aerosalมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 mm มักจะสะสมอยู่ใน bronchial tree แต่ถ้าขนาดเล็กกว่า 2 mm จะเข้าไปสะสมอยู่ในถุงลม (alveoli)
aerosal จะถูกกำจัดโดย ancillary function ของเยื่อบุหลอดลมโดยมี half–life of clearance time ประมาณ 45-60 นาที ในคนปกติ และบางส่วนของ aerosal ที่มีขนาดเล็กจะซึมออกจากถุงลม เข้าสู่กระแสเลือดแล้วขับออกทางไต
การถ่ายภาพ
ทำการถ่ายภาพด้วยเครื่อง gamma camera โดย preset count ที่ประมาณ 200,000 count/ภาพ หรือประมาณ 3 นาที/ภาพ โดยถ่ายภาพท่า posterior, anterior, lateral ทั้ง 2 ข้าง, oblique 45 องศา ทั้งทางด้าน anterior และ posterior
ลักษณะภาพปกติ (Normal ventilation imagings)
ลักษณะภาพสแกนของ aerosal ventilation study ที่ปกติจะเห็นการกระจายของสารเภสัชรังสีในปอดอย่างสม่ำเสมอ (รูปที่ 4) แต่บางครั้งอาจเห็นการสะสมของสารเภสัชรังสีใน trachea, bronchi, esophagus หรือ stomach ได้บ้าง
Normal ventilation imagings
Normal ventilation imagings
รูปที่ 4 แสดงภาพ normal ventilation imagings
ปิดหน้านี้