ไวรัสตับอักเสบซี
ไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เป็น อาร์เอ็นเอไวรัส ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยปัจจุบัน ที่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีที่ได้ผลดี แต่ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไว-รัสตับอักเสบซี21 ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี อย่างน้อย 85% จะเกิดการติดเชื้อที่เรื้อรัง และ 70% ของผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมด จะมีตับอักเสบเรื้อรัง โดยตรวจพบ liver enzyme ที่สูงขึ้น22
การตรวจหา antibody ต่อไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) ที่ทำกันในปัจจุบัน จะตรวจพบได้ เมื่อเกิดการติดเชื้อไปแล้วระยะหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ อย่างน้อยมักจะต้องเป็น 5-6 สัปดาห์ไปแล้ว10 โดยที่ 80% ของผู้ที่ติดเชื้อ จะตรวจพบ anti-HCV ที่ 15 สัปดาห์ และ 97% ตรวจพบได้ เมื่อติดเชื้อไปแล้วนาน 6 เดือน23 โดยทั่วไป ผลบวกในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ มีโอกาสเป็นผลบวกเท็จน้อยมาก แต่ถ้าไม่มีปัจจัยเสี่ยง ควรได้รับการตรวจยืนยันด้วย RIBA (recombinant immunoblot assay) หรือ PCR สำหรับ HCV RNA
อัตราเสี่ยงของการติดเชื้อ HCV ใน exposed HCP ที่ถูกเข็มตำ ถูกประมาณไว้ที่ 0-7% โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 1.8%24 มีอยู่เพียงหนึ่งรายงานจากประเทศญี่ปุ่น ที่ให้ตัวเลขสูงถึง 10% โดยใช้ PCR ในการตรวจหา HCV RNA25 จากการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HCV แบบเรื้อรัง และตรวจพบไวรัสในเลือด ไม่สามารถตรวจพบไวรัสได้ในปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย น้ำอสุจิ และสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด26 อย่างไรก็ตาม มีรายงานของการติดต่อโดยการถูกคนกัด เช่นเดียวกับ HBV27 สำหรับโอกาสของการติดเชื้อผ่านทาง mucous membrane หรือ nonintact skin นั้น ยังไม่มีผู้ศึกษาอย่างเป็นระบบ แต่มีรายงานการติดเชื้อ HCV จากเลือดกระเด็นเข้าตาอยู่สองรายงาน28, 29
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการป้องกันใดๆ ที่พิสูจน์ได้แน่ชัดว่า สามารถป้องกันการติดเชื้อ HCV หลังเกิด exposure ได้ ประการที่หนึ่ง ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ประการที่สอง การให้ intravenous immunoglobulin (IVIG) ก็ไม่น่าจะได้ผล เนื่องจาก ในปัจจุบัน การเตรียม human immunoglobulin ได้มาจากบุคคลที่ได้รับการตรวจว่าปราศจากเชื้อ HCV แล้ว นอกจากนั้น การศึกษาถึงประสิทธิผลของการให้ immunoglobulin ในการป้องกัน nonA-nonB posttransfusion hepatitis ในยุคที่ยังไม่มีการตรวจกรอง HCV ก็ยากที่จะแปลผล เนื่องจากความหลากหลายของการออกแบบการศึกษา diagnostic criteria ที่แตกต่างกันไปในแต่ละอัน และประการสำคัญ การศึกษาส่วนใหญ่ ให้ IVIG ก่อนผู้ป่วยได้รับ transfusion แทนที่จะเป็นภายหลัง (ที่จะนำมาใช้เป็น model สำหรับ postexposure prophylaxis ได้)30-32 อีกประการหนึ่ง การศึกษาใน chimpanzee โดยให้ immunoglobulin ที่มี high titer ของ anti-HCV 1 ชั่วโมงหลังจาก HCV exposure ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้33 สำหรับ interferon ซึ่งมีประโยชน์อยู่บ้างใน chronic hepatitis C นั้น ก็ยังไม่มีการศึกษาถึงประโยชน์ในแง่การนำมาใช้ป้องกัน เนื่องจากราคายาแพงมาก และมีผลข้างเคียง จึงยังไม่แนะนำให้นำมาพิจารณาใช้ในกรณีนี้6
ฉะนั้น มาตรการที่พอจะทำได้ ในกรณี exposure ต่อ HCV คือการตรวจเลือด exposed HCP และ source patient หา anti-HCV และตรวจ exposed HCP หา ALT (SGPT) ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน และตรวจเลือด exposed HCP อีกครั้ง ที่ประมาณ 4-6 เดือน6 แต่หากลักษณะการเกิดอุบัติเหตุนั้น ดูมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง อาจพิจารณาตรวจหา HCV RNA (โดย PCR) ที่ 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากหากติดเชื้อจริง มีหลักฐานว่าการได้รับ interferon (IFN) ในระยะเริ่มแรก อาจจะทำให้โอกาสเกิด resolution สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนของผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการให้ยาก็ยังมีจำกัด ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HCV เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ในขณะที่เขียนบทความนี้ ยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาแล้ว ก็มี IFN alfa 2a, 2b, alfacon-1 (consensus), PEG-IFN alfa-2b หรือใช้ยาร่วมกัน ส่วน PEG-IFN alfa-2a กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ถึงแม้อัตราเสี่ยงของการติดเชื้อ HCV จากเพศสัมพันธ์ดูจะค่อนข้างต่ำ34 exposed HCP ก็ควรจะมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย กับบุคคลเพียงคนเดียว ในระหว่างที่ยังไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่24