รูปร่างคลื่นชีพจรที่ผิดปกติ
นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงความดันชีพจร (pulse pressure) มีภาวะบางอย่างของระบบไหลเวียนที่ทำให้เกิดความผิดปกติในรูปร่างของคลื่นชีพจร ดังรูป เช่น ในภาวะที่มีการตีบของลิ้นเอออร์ติก (aortic stenosis) การรั่วของลิ้นเอออร์ติก (aortic regurgitation) และ ภาวะดักตัส อาเทอริโอซัสไม่ปิด (patent ductus arteriosus) เป็นต้น |
ในภาวะ aortic stenosis คลื่นชีพจรจะมีความสูงลดลงมาก เนื่องจากมีการลดลงของ การไหลของเลือด (blood flow) ที่ผ่านลิ้นเอออร์ติกที่ตีบผิดปกติ |
ในภาวะ patent ductus arteriosus ประมาณอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเลือดที่ถูกบีบออกมาจากหัวใจแต่ละครั้งจะผ่านออกไปทาง ductus arteriosus ที่เปิดอยู่ และเข้าสู่ pulmonary artery ความดันไดแอสโตลิกจะมีค่าลดต่ำลงได้มาก |
ในภาวะ aortic regurgitation เมื่อมีการรั่วของลิ้นเอออร์ติกหรือลิ้นเอออร์ติกไม่ทำงานก็ตาม เลือดที่ถูกบีบออกจากหัวใจแต่ละครั้งก็จะไหลย้อนกลับคืนเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้ายทันที ทำให้ความดันในหลอดเลือดเอออร์ตาลดลงจนเหลือ 0 ม.ม.ปรอทได้ และจะเห็นว่ารูปร่างของคลื่นชีพจรไม่มี incisura เนื่องจากไม่มีการปิดของลิ้นเอออร์ติก |
การถ่ายทอดคลื่นชีพจรสู่หลอดเลือดแดงส่วนปลาย
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันชีพจร
รูปร่างคลื่นชีพจรที่ผิดปกติ |