หน้าที่ทางชีวภาพของระบบคอมพลีเมนท์
1. The MAC mediates cell lysis
การกระตุ้นระบบคอมพลีเมนท์จนได้ MAC จะสามารถทำลายเซลล์เป้าหมายได้โดยการเกิด cytolysis เช่น gram – negative bacteria,ปรสิต,ไวรัส, เม็ดเลือดแดงและเซลล์ที่มีนิวเคลียส
ส่วน gram-positive จะสามารถป้องกันการเกิด complement-mediated lysis ได้ เนื่องจากมีชั้น peptidoglycan ที่หนาของ cell wall ทำให้ MAC ไม่สามารถเจาะเข้าไปใน inner membrane ได้
การ lysis ของ nucleated cell ต้องอาศัยการรวมตัวของ multiple MAC ขณะที่ถ้าเป็นเม็ดเลือดแดงอาศัยเพียง MAC 1 โมเลกุลเท่านั้น
2. Inflammation
C3a, C4a, C5a เป็นสาร anaphylatoxins จะจับกับ receptor บน mast cells และ basophils กระตุ้นให้แกรนนูลแตก(degranulation) ปล่อย histamine และ mediators ที่มีผลต่อการเกิดภูมิแพ้
anaphylatoxins นี้ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ, เพิ่มการซึมผ่านของของเหลวในหลอดเลือด, ทำให้แอนติบอดีและphagocytic cells เคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่มีแอนติเจน
การเกิดปฏิกิริยา anaphylatoxins มากเกินไปจะถูกควบคุมโดย serum protease ที่เรียกว่า carboxypeptidase N
C3a, C5a, C5b67 สามารถดึงดูด monocytes และ neutrophils ให้เคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาการกระตุ้นคอมพลีเมนท์
3. Opsonization
C3b เป็น major opsonin ของระบบคอมพลีเมนท์ ส่วนคอมพลีเมนท์ตัวอื่นที่ทำหน้าที่นี้ได้แก่ C4b, iC3b การกระตุ้นC3 ทำให้ C3b จับกับ immune complex และ particulate antigens จะดึงดูดให้ phagocytic cells มาจับกินได้ง่ายขึ้น เนื่องจาก phagocytic cells มี complement receptor ( CR1, CR3, CR4) ซึ่งสามารถจับกับ C3b, C4b, iC3b ได้
 
4. Neutralizes Viral Infectivity
โดยทั่วไปไวรัสจะจับกับแอนติบอดีเป็น immune complexes และกระตุ้นระบบคอมพลีเมนท์โดยทาง classical pathway หรือ ไวรัสบางชนิดอาจกระตุ้นผ่าน alternative , lectin pathway
การจับกันระหว่างแอนติบอดีและคอมพลีเมนท์กับผิวของ viral particle เกิดเป็นชั้นโปรตีนที่หนาคลุมไวรัส ทำให้ไวรัสนั้นไม่สามารถเกาะติดกับ host cell จึงไม่เกิดการติดเชื้อ
5. กำจัด Immune Complexes

C3bจะจับกับ soluble immune complexes ในกระแสเลือด , เม็ดเลือดแดงซึ่งมี CR1จะจับกับ immune complexes ที่มี C3bคลุมอยู่ และนำcomplexesนี้ไปสู่ตับและม้าม ที่นี่ immune complexes จะแยกจากเม็ดเลือดแดงและถูกจับกินโดย phagocytic cells ซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นการป้องกันการเกิดการเกาะตัวบนเนื้อเยื่อของ immune complexes

ความสำคัญของระบบคอมพลีเมนท์ในการกำจัด immune complexesออกไปจากระบบไหลเวียนเลือด จะพบได้ในผู้ป่วย autoimmune disease: SLE ซึ่งพบว่ามีการพร่องของคอมพลีเมนท์คือ C1, C2, C4, CR1 ทำให้ C3bต่ำ เป็นผลให้มี immune complexes ฝังตัวอยู่ตามเนื้อเยื่อและเกิดการทำลายเนื้อเยื่อตามมา

 
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย