คุณสมบัติทางชีวภาพของอิมมูโนโกลบุลิน 1-[2]-[3]-[4]
1. Immunoglobulin G

มีปริมาณมากที่สุดในน้ำเหลืองคนปกติ พบประมาณ 75-80% ของปริมาณอิมมูโนโกลบูลินทั้งหมดในผู้ใหญ่ เป็น monomer ส่วน heavy chain คือ g chain มี 4 subclasses ซึ่งมีปริมาณที่พบแตกต่างกัน คือ IgG1 มีปริมาณมากที่สุด (60-70%) รองลงมาได้แก่ IgG2 (14-20%) , IgG3 (4-8%) และ IgG4 (2-6%) แต่ละ subclass มีโครงสร้างต่างกันเล็กน้อยใน g chain เช่น ขนาดของ hinge region จำนวนและตำแหน่งของ disulfide bond ที่เชื่อม H chain เข้าด้วยกัน

IgG มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ระดับของ IgG จะเพิ่มสูงขึ้นมากภายหลังได้รับการกระตุ้นด้วยแอนติเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน secondary response IgG สามารถทำลายเชื้อจุลชีพด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
  •  
  • การกระตุ้นระบบคอมพลีเมนท์ IgG3 สามารถกระตุ้นคอมพลีเมนท์ในระบบ classical pathway ได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ IgG1 ส่วน IgG2 และ IgG4 ไม่สามารถกระตุ้นได้เลย การกระตุ้น classical pathway ของคอมพลีเมนท์เกิดจาก Cg2 ของ IgG3 และ IgG1 ที่จับอยู่กับแอนติเจน (immune complex) สามารถจับกับ C1q ผลการกระตุ้นการทำงานของคอมพลีเมนท์ก่อให้เกิดปัจจัยต่างๆ ซึ่งทำให้การทำลายจุลชีพต่างๆ ได้ดีขึ้น
  •  
  • บนผิวเซลล์หลายชนิดมี receptor ซึ่งจำเพาะสำหรับส่วน Fc ของ IgG (FcgR receptor) โมเลกุลของ FcgR เหล่านี้มีโครงสร้างเป็น domain คล้ายของอิมมูโนโกลบุลินและจัดเป็นกลุ่มหนึ่งของ Ig superfamily FcgR นี้มีอย่างน้อย 3 ชนิดแต่ละชนิดจะจับกับ Fc ของ IgG subclass ต่างๆด้วย affinity ที่ต่างกันและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันด้วย (ตารางที่ 1) IgG ที่จับอยู่กับแอนติเจนบนเชื้อจุลชีพ (โดยเฉพาะ IgG1 และ IgG3) จะทำหน้าที่เป็น opsonin (เรียก opsonization) (รูปที่ 13) สามารถช่วยให้ขบวนการจับกินและทำลายเชื้อจุลชีพด้วยขบวนการ phagocytosis ได้ดีขึ้น โดยการใช้ส่วน Fc เกาะบน Fc receptor (FcgRI, FcgRIIA, FcgRIIIB) ของ mononuclear phagocyte และ neutrophil เพิ่มประสิทธิภาพของการจับกินจุลชีพของ phagocyte นอกจากนี้ IgG ยังสามารถช่วยในการทำลายเชื้อจุลชีพโดยผ่านขบวนการ antibody dependent cell-mediated cytotoxicity (ADCC) (รูปที่ 14) โดยเซลล์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง NK cell มี receptor (FcgRIIIA) สำหรับ IgG ที่เกาะอยู่กับแอนติเจน ทำให้ NK cell ถูกกระตุ้นและทำลายเชื้อจุลชีพโดยการสร้างและหลั่ง cytokine ต่างๆเช่น TNF และ IFNg และยังมีการปล่อยสารจากแกรนนูลในเซลล์เพื่อทำลายจุลชีพนั้น
  •  
  • นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการกินและการทำลายจุลชีพโดยขบวนการ ADCC แล้วการจับกับ Fc receptor บนผิวเซลล์ต่างๆ ยังมีส่วนเกี่ยวกับการนำเสนอแอนติเจน ทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ให้ทำงาน รวมถึงการหลั่งสารต่างๆ เช่น cytokine เป็นต้น
  •  
  • IgG เป็นอิมมูโนโกลบุลินเพียงชนิดเดียวที่ผ่านรกได้ จึงเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ และช่วงระยะแรกหลังคลอด และยังพบได้ในน้ำนมมารดาแรกคลอด (colostrum) ร่วมกับ IgA และ IgM
  •  
  • เป็น neutralizing antibody เมื่อมีจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย IgG (รวมทั้งอิมมูโนโกลบุลินอื่นๆ) สามารถไปจับกับจุลชีพ หรือผลิตผลจากจุลชีพ เช่นสารพิษ ก่อนที่จุลชีพหรือสารเหล่านี้จะไปเกาะบนผิวเซลล์เป้าหมาย ทำให้จุลชีพหรือสารพิษเหล่านี้หมดฤทธิ์ในการทำลาย
  •  
  • IgG สามารถจับกับ staphylococcal protein A (ยกเว้น IgG3) และ streptococcal protein G (ทุก subclass) จึงสามารถใช้โปรตีนทั้ง 2 ตัวนี้ในการแยก IgG ออกจากอิมมูโนโกลบุลินตัวอื่นได้
    1-[2]-[3]-[4]
    ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย