การรักษาทางกายภาพบำบัดเมื่อเกิดภาวะ lymphedema
Complex Decongestive Therapy (CDT) ประกอบไปด้วย
Manual Lymphatic Drainage (MLD)
Bandaging and Compressive Garments
Therapeutic Exercise and Home Exercise Programs
Skin Care and Prevention
Manual Lymphatic Drainage (MLD)
เป็นเทคนิคการนวดเฉพาะ ที่ต้องมีนักกายภาพบำบัดซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านการรักษา lymphedema เป็นผู้ทำการรักษา ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยในการระบายน้ำเหลือง โปรตีนหรือของเสียอื่นๆ จากเนื้อเยื่อที่แขนออก โดยค่อยๆ ถ่ายเทกลับเข้าไปในกระแสเลือด
เทคนิคนี้จะใช้การนวดแบบลูบอย่างเบา (light-pressure stroking) เพื่อไปกระตุ้นท่อน้ำเหลือง ส่วนตื้นบริเวณใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นทางเชื่อมระหว่างบริเวณที่อุดตันกับบริเวณที่มีการไหลเวียนสะดวก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการระบายน้ำเหลืองที่ดีขึ้น
   
Bandaging and Compressive Garment 
หลังจากทำเทคนิค MLD แล้ว ก็ให้พันผ้ายืดร่วมกับการให้แรงกด (compressive bandaging) หลังสวมปลอกแขนรัด (compressive garment) และใช้เครื่องบีบโดยใช้แรงลม (pneumatic compression) ซื่งเครื่องมือนี้จะให้แรงบีบเป็นลำดับ คือค่อยๆ บีบจากจากบริเวณปลายนิ้วไปจนถึงต้นแขน ทำให้เกิดการไหลกลับของน้ำเหลือง
จากนั้นพันผ้ายืดไว้โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ช่วยคงขนาดของแขนไว้ ไม่ให้มีการบวมเพิ่มขึ้นโดยจะให้ผู้ป่วยใส่หรือพันไว้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาอาบน้ำ โดยแรงกดที่ให้ ต้องไม่แน่น จนเกินไป ที่สำคัญคือผ้าพันที่ใช้จะต้องเป็นแบบ low stretching
pneumatics compression with leg and arm sleeve
 
Therapeutic Exercise and Home Exercise Programs 
การออกกำลังกายจะเพิ่มการไหลกลับของน้ำเหลือง ทำให้ลดการบวม นอกจากนี้การออกกำลังกายจะเป็นการช่วยยืด (stretching) เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ขณะที่ลดการเกิด joint stiffness ได้ทั้งหมด โดยในขณะออกกำลังกายผู้ป่วยจะต้องพัน bandages ทับบน pressure sleeve เสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนกลับของน้ำเหลืองจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ และจากแรงกดของ pressure sleeveและ bandages
การออกกำลังกายเริ่มจากบริเวณลำตัวก่อนในช่วงแรก เพราะจะช่วยให้บริเวณ thoracic duct ซึ่งอยู่ส่วนกลางของลำตัวมีการไหลเวียนของน้ำเหลืองดีขึ้น ทำให้น้ำเหลืองบริเวณส่วนปลายกลับเข้าสู่ส่วนกลางได้สะดวกขึ้น สามารถไหลกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนตามปกติต่อไป
คำแนะนำในการออกกำลังกาย
ถ้ามีอาการปวดขณะออกกำลังกาย หรือแขนบวมหลังจากออกกำลังกาย ให้หยุดทันทีแล้วปรึกษาแพทย์
ควรออกกำลังกายหน้ากระจก เพื่อให้สามารถแก้ไข หรือปรับปรุงท่าทาง และการเคลื่อนไหวให้ถูกต้อง
ไม่กลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในแต่ละท่า ต้องอยู่ในช่วงการเคลื่อนไหวที่ไม่มีอาการเจ็บ
ทำในจังหวะที่ช้า และเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล
วีดิทัศน์ แสดงการออกกำลังกายท่าต่างๆ
 
ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังเมื่อมีภาวะ lymphedema
สวมถุงมือเมื่อทำงานบ้าน ทำสวน หรืองานอื่นๆ เพื่อป้องกันบาดแผลที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา
ดูแลผิวไม่ให้แห้งโดยการทาโลชั่นหลังการอาบน้ำ
ห้ามฉีดยาหรือวัดความดันโลหิตของแขนข้างที่บวม
ห้ามเล็มหรือตัดผิวหนังและเล็บจนทำให้เกิดบาดแผล ของมือข้างที่บวม
ใช้เครื่องโกนหนวดหรือขนไฟฟ้าแทนการใช้มีดโกน เมื่อโกนขนใต้รักแร้ของแขนข้างที่บวม
หลีกเลี่ยง การยกของหนักและการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่รุนแรง ถ้าจำเป็นต้องหิ้วของให้ใช้แขนทั้งสองข้างหิ้วของที่มีน้ำหนักเท่าๆ กัน
หลีกเลี่ยง การใส่เครื่องประดับที่แน่นหรือคับ รอบนิ้วหรือแขนข้างที่บวม
ควบคุมน้ำหนักตัวและอย่ารับประทานเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็มจัด
ห้ามเข้าอบเซาว์น่า หรือถูกความเย็นมากๆ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย