อาการและอาการแสดง
ลักษณะผื่นที่มีความจำเพาะต่อโรค(hallmark)คือ ผื่นนูนแดงขอบชัดปกคลุมด้วยสะเก็ดสีเงิน(sharply demarcated erythematous plaque covered with silvery scale) (รูปที่1) ความรุนแรงและการดำเนินของโรคมีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยบางรายอาจมีผื่นขนาดเล็กตามศีรษะ เข่า ศอก หรืออาจจะเป็นมากทั่วตัว
รูปที่ 1
ลักษณะของผื่นที่ผิวหนัง
สามารถแบ่งชนิดของผื่นที่ผิวหนังออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. กลุ่มที่ไม่มีหนอง (non-pustular psoriasis) และ 2. กลุ่มที่มีหนอง (pustular psoriasis) และแบ่งเป็นชนิดย่อยตามรูปร่าง (morphology) และการกระจายของผื่น ตามตารางที่ 1
ตารางที่1 Clinical forms of non-pustular and pustular psoriasis
Non-pustular psoriasis Pustular psoriasis
Psoriasis vulgaris:
type I (early onset)
type II (late onset)
Inverse psoriasis
Guttate psoriasis
Erythodermic psoriasis
Drug-induce psoraisis
Generalized:
von Zumbusch type
impetigo herpetiformis
Localized:
palmo-plantar pustular psoriasis
acrodermatitis continua
annular pustular psoriasis
1. Non-pustular psoriasis
1.1. Psoriasis vulgaris หรือ chronic plaque-type psoriasis เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ผื่นมักมีขนาด สี และสะเก็ดคงเดิมเป็นเวลานานๆ มักพบบริเวณหลังหู สะโพก ท้อง ศีรษะ (รูปที่ 2)
1.2. Inverse psoriasis เป็นผื่นโรคสะเก็ดเงินที่เกิดบริเวณข้อพับของร่างกาย ผื่นมักมีสะเก็ดขาวเพียงเล็กน้อย อาจไม่เห็นลักษณะเฉพาะ(hallmark) ของโรคชัดเจนนัก (รูปที่ 3)
1.3. Guttate psoriasis ผื่นมีลักษณะเฉพาะคือขนาดเล็กประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มักพบบริเวณลำตัวและต้นแขนหรือต้นขา ผู้ป่วยมักมีอายุน้อย ผู้ป่วยหลายรายมีประวัติสัมพันธ์กับการติดเชื้อ streptococcus ที่คอ
1.4. Erythodermic psoriasis ผื่นเป็นแบบ exfoliative dermatitis โดยเริ่มแรกผู้ป่วยมักมีผื่น psoriasis vulgaris นำมาก่อน

2. Pustular psoriasis
2.1. Generalized pustular psoriasis (von Zumbusch type) ผื่นมีลักษณะคือมี sterile pustule ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตรบนผื่นโรคสะเก็ดเงิน มักพบตามลำตัว ผู้ป่วยมักมีไข้ร่วมด้วย สำหรับ impetigo hepetiformis จัดเป็น generalized pustular psoriasis ซึ่งพบได้ในหญิงมีครรภ์
2.2. Localized pustular psoriasis ผื่นมีลักษณะคือมี sterile pustule บริเวณมือและเท้า

รูปที่ 2

รูปที่ 3
ความผิดปกติของเล็บ
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเกือบทุกราย จะพบความผิดปกติที่เล็บร่วมด้วย โดยพบความผิดปกติของเล็บมือมากกว่าเล็บเท้า ความผิดปกติของเล็บมีได้หลายแบบที่พบได้บ่อยได้แก่
1. pitted nail พบได้บ่อยที่สุด (รูปที่ 4)
2. yellowish macules (รูปที่ 5)
3. onycholysis (รูปที่ 6)
4. subungual hyperkeratosis (รูปที่ 7)
5. Severe onychodystrophy (รูปที่ 8)

รูปที่ 4

รูปที่ 5

รูปที่ 6

รูปที่ 7

รูปที่ 8
ความผิดปกติของเยื่อเมือก
ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของลิ้น โดยจะเห็นเป็นฝ้าขาว เป็นลายเหมือนแผนที่ ซึ่งเรียกผื่นชนิดนี้ว่า geographic tongue ซึ่งเมื่อตรวจทางพยาธิวิทยาเข้าได้กับผื่น pustular psoriasis (รูปที่ 9)
รูปที่ 9
ความผิดปกติทางข้อ
พบอาการข้ออักเสบได้ประมาณร้อยละ 5-42 ของผู้ป่วย โดยพบ
- อาการทางผิวหนังนำมาก่อนอาการทางข้อ ประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยที่มีอาการทางข้อ
- อาการทางผิวหนังเกิดพร้อมกับอาการทางข้อ ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยที่มีอาการทางข้อ และ
- อาการทางข้อนำมาก่อนอาการทางผิวหนัง ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยที่มีอาการทางข้อ
นอกจากนี้ยังอาจพบอาการข้ออักเสบร่วมกับความผิดปกติของเล็บ โดยไม่พบผื่นผิวหนังได้อีกด้วย
[ Top ]
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย