แนวทางการดูแลรักษา
การใช้ยาทา (topical therapy)
1. Anthralin (dithranol) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง (anti-proliferative effect) และลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect)
เหมาะสำหรับโรคสะเก็ดเงินชนิด chronic plaque type psoriasis และ guttate psoriasis โดยเริ่มใช้ความเข้มข้นต่ำประมาณ 0.05-0.1% ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเข้มขึ้นได้ถึง 5% และควรผสม 1-2% salicylic acid เพื่อป้องกันการเกิด auto-oxidation ควรทาวันละ 1 ครั้ง หรือทาแบบ short contact treatment คือทาทิ้งไว้ 20 นาทีแล้วล้างออก
สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญของยาคือ ระคายเคือง และเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า
2. Topical vitamin D3 (1,25-dihydroxyvitamin D3) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง (anti-proliferative effect) ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของเซลล์อย่างปกติ (induce terminal differentiation) และลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect)
เหมาะสำหรับโรคสะเก็ดเงินชนิด chronic plaque type โดยทาวันละ 1-2 ครั้ง ไม่ควรใช้ร่วมกับ salicylic acid เพราะจะลดผลของ Vitamin D3 และหากใช้ร่วมกับการรักษาโดยการฉายแสง ควรให้ผู้ป่วยทาหลังจากการฉายแสงเพื่อป้องกัน Vitamin D3 ดูดซับแสงทำให้ได้ผลการรักษาไม่เต็มที่ topical vitamin D3 จัดเป็นยาที่ปลอดภัยสามารถใช้กับผู้ป่วยเด็ก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือระคายเคืองและ เกิดการเปลี่ยนแปลงของเมตตาบอลิซึมของ แคลเซียมและฟอสเฟตซึ่งพบได้น้อยมาก
3. Tazarotene เป็นอนุพันธ์ของ vitamin A(retinoid) ได้ผลในการรักษาโรคไม่ค่อยดี จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อาจใช้ร่วมกับการฉายแสง UVB เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
4. Tar ประกอบด้วยสารต่างๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดหลายชนิด สามารถใช้ความเข้มข้นตั้งแต่ 2-5% ในการรักษา เป็นยาที่สามารถใช้ได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่เกิดผลข้างเคียง
5. Topical glucocorticoids สามารถใช้การโรคสะเก็ดเงินชนิด chronic plaque type psoriasis ที่บริเวณศีรษะ เล็บ และ inverse psoriasis อย่างไรก็ดีการใช้ ต้องทำด้วยความระมัดระวัง คือไม่ใช้ยาที่มีความแรงมากเกินไป และไม่ใช้เป็นบริเวณกว้าง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยา และอาจทำให้เกิดการเห่อของโรคอย่างรุนแรงเมื่อหยุดใช้ยา
6. Bland emollients เช่น 10% urea cream เพื่อป้องกันผิวแห้ง และให้มีระยะสงบของโรคที่ยาวนานขึ้น
7. Tacrolimus (FK506) มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect) โดยไปยับยั้ง calcineurin ในเซลล์ T lymphocyte, Langerhans cell, mast cell และ keratinocyte ยาผลิตมาในรูปของ ointment มีความเข้มข้นอยู่ระหว่าง 0.03%-0.1% จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่
ผลข้างเคียงคือ อาจรู้สึกแสบร้อนเวลาทายา flushing เวลาผู้ป่วยทานแอลกอฮอล์ และอาการทางจิตประสาท ความดันโลหิตสูง impaired kidney function และเพิ่มระดับไขมันในเลือดได้ แต่ไม่เกิดผลข้างเคียงที่ผิวหนัง หรือระบบอื่นๆ แบบยาคอติโคสเตรอย์ จึงเป็นยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาเพื่อลดการใช้ยาคอติโคสเตรอย์ได้
8. Pimecrolimus มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect) โดยไปยับยั้ง calcineurin ในเซลล์ยับยั้งการหลั่ง cytokines และ mediators ของ mast cell และ basophil ยาผลิตมาในรูปของครีม มีความเข้มข้น 1% ทาวันละ 2 ครั้ง
อาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น แสบร้อน เป็นยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาเพื่อลดการใช้ยาคอติโคสเตรอย์ได้ อย่างไรก็ดียามีราคาแพงมาก
การรักษาโดยการฉายแสง
1. Photochemotherapy(PUVA) เป็นการใช้ systemic psoralensร่วมกับ UVA โดย psoralen จะจับกับ DNA เมื่อฉายแสงจะก่อให้เกิด photoproduct ซึ่งไปยับยั้งการสร้าง DNA และการแบ่งเซลล์ โดยทั่วไปนิยมใช้ 8-methoxypsoralen หรือ trimethoxypsoralen ขนาด 0.6-0.8 mg/kg ร่วมกับการฉายแสง UVA 1J/cm2 และค่อยๆ เพิ่มขนาด UVA ขึ้นตาม skin type ของผู้ป่วย
สำหรับผลข้างเคียงของการรักษา ได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเวียนศีรษะจากการรับประทาน psoralen อาการคัน และเกิดความเสื่อมของสภาพผิวหนังที่เกิดจากแสงในระยะยาว เช่น กระ สีผิวผิดปกติ นอกจากนี้ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ อาจก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้
2. Balneophototherapyเป็นการใช้น้ำเกลือความเข้มข้นสูงมากกว่า 20% ร่วมกับ UVB ซึ่งกลไกการรักษายังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน
3. Selective UVB therapy เป็นการใช้ UVB เพียงอย่างเดียว หรือ UVB ร่วมกับการใช้ยาทาภายนอก เช่น glucocorticoid, vitamin D3, anthralin, tazarotene ซึ่งได้ผลดีกับโรคสะเก็ดเงินชนิด chronic plaque type psoriasis และ guttate psoriasis
การใช้ยาแบบ systemic therapy
1. Methotrexate มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้าง DNA และลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect) เหมาะสำหรับโรคสะเก็ดเงินชนิด pustular psoriasis และ psoriasis arthritis ขนาดของยาที่เหมาะสมคือ 10-25 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผมร่วง สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญคือ bone marrow dysfunction, hepatotoxicity และ acute interstitial pneumonitis ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติ
2. Cyclosporine มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect) โดยไปยับยั้ง calcineurin ในเซลล์ เหมาะสำหรับโรคสะเก็ดเงินชนิด chronic plaque type psoriasis, erythrodermic psoriasis, generalized pustular psoriasis และ psoriatic nails ขนาดของยาที่เหมาะสมคือ เริ่มด้วย 2.5-3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดที่ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ อ่อนเพลีย มีขนตามร่างกายเพิ่มขึ้น gingival hyperplasia และ tremor
สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ impairment of kidney function, ความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งที่ผิวหนังโดยเฉพาะเมื่อให้ร่วมกับ PUVA
3. Retinoids (Acitretin) มีฤทธิ์ในการควบคุม gene transcription และลดการอักเสบ (anti-inflammatory effect) เหมาะสำหรับโรคสะเก็ดเงินชนิด pustular psoriasis สามารถใช้ร่วมกับ PUVA (Re-PUVA) เพื่อให้ได้ผลการรักษาดีขึ้นในคนไข้บางรายโดยเฉพาะ psoriatic arthritis ขนาดของยาที่เหมาะสมสำหรับ sever psoriasis vulgaris และ erythrodermic psoriasis คือเริ่มด้วย 0.3-0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดที่ 0.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทุกๆ 3-4 สัปดาห์ สำหรับ pustular psoriasis เริ่มด้วยขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน และค่อยๆ ลดลงจนเหลือขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน โดยให้นาน 3-4 เดือน
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ อ่อนเพลีย มีขนตามร่างกายเพิ่มขึ้น gingival hyperplasia และ tremor สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่cheilitis, sicca syndrome, ผิวแห้ง คัน ฝ่ามือฝ่าเท้าลอก ผมร่วง ปวดกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น และเพิ่มliver enzyme สำหรับในหญิงวัยเจริญพันธ์ จำเป็นต้องคุมกำเนิดในช่วงที่ได้ยา และหลังหยุดยานาน 2 ปี เนื่องจากยาอาจมี teratogenic effect
4. Fumaric acid esters ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองแบบ Th2 เพิ่ม apoptosis ของ dendritic cell เหมาะกับการรักษาโรคสะเก็ดเงินชนิด psoriasis vulgaris ที่เป็นรุนแรงหรือดื้อต่อการรักษาชนิดอื่น
ผลข้างเคียงของยาที่พบได้ คือ คลื่นไส้อาเจียน, ท้องเสีย flushing เม็ดเลือดขาวต่ำ โดยเฉพาะลิมโฟไซย์ impairment of kidney function การรักษาเริ่มด้วยขนาดยาต่ำๆและค่อยเพิ่มจนขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 1.29 กรัมต่อวัน
5. Systemic glococorticoids โดยทั่วไปไม่ควรใช้ เพราะอาจทำให้เกิดการเห่อของโรคอย่างรุนแรงหลังจากหยุดยาได้
6. Biological therapy ได้แก่
a. Alefacept เป็น fusion protein ของ LFA-3 กับ Fc portion ของ human IgG ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการกระตุ้น T cell และยังก่อให้เกิด apoptosis ของ T cell ขนาดของยาที่เหมาะสมคือ 0.075 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อสัปดาห์ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือ 0.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อสัปดาห์ ฉีดเข้ากล้าม ให้นาน 12 สัปดาห์ ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง อย่างไรก็ตามควรตรวจระดับ CD4+ cell ในเลือดเป็นระยะในช่วงที่ผู้ป่วยรับยา
b. Efalizumab เป็น humanized monoclonal antibody ต่อ CD11a ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ LFA-1 ยาจึงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการกระตุ้น T cell และยับยั้ง T cell ไม่ให้เดินทางมาที่ผิวหนัง ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ
c. Etanercept เป็น fusion protein ของ TNF-receptor กับ Fc portion ของ human IgG มีฤทธิ์ในการแย่งจับ TNF กับ receptor บนผิวเซลล์จึงยับยั้งผลของ TNF-a ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดได้
d. Infliximab เป็น humanized monoclonal antibody ต่อ TNF-receptor มีฤทธิ์ในการแย่งจับ TNF กับ receptor บนผิวเซลล์จึงยับยั้งผลของ TNF-a ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 4-8 สัปดาห์ สำหรับผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ flushing ปวดศีรษะ แพ้ยาได้
เนื่องจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน และยังไม่มีการรักษาใดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด หลักการรักษาโดยรวมจึงควรให้การรักษาแบบ combination therapy เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น สามารถลดขนาดของยาและลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาได้ นอกจากนี้ไม่ควรให้รักษาแบบใดแบบหนึ่งเป็นเวลานาน ควรรักษาแบบ rotation therapy เพื่อลดขนาดยาโดยรวม ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงของการรักษ าและเพื่อให้โรคสงบได้เป็นเวลานาน
[ Top ]
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย