อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงหลัก (Major features)
คัน (Pruritus)
ผื่นแพ้บริเวณใบหน้าหรือแขนขาด้านนอกในเด็กเล็ก (Facial and extensor eczema in infant and children) (รูปที่ 1 และ 2)
รูปที่ 1
รูปที่ 2
ผื่นแพ้บริเวณแขนขาด้านในในเด็กโตและผู้ใหญ่Flexeral eczema in adults (รูปที่ 3 และ 4)
รูปที่ 3
รูปที่ 4
ผื่นแพ้แบบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ Chronic and relapsing dermatitis
ประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัว first degree relative เป็นโรคภูมิแพ้ atopy (Personal and family history of atopic disease)
อาการและอาการแสดงรอง (Associated features)
ผิวแห้ง(Xerosis)(รูปที่ 5)
มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง(Cutaneous infection)
ผื่นแพ้แบบไม่จำเพาะที่มือและเท้า(Nonspecific dermatitis of hands and feet)(รูปที่ 6)
โรคผิวหนังIchthyosis, เส้นลายมือมากกว่าปกติ(palmar hyperlinearity), โรคผิวหนังชนิด keratosis pilaris
โรคผิวหนังเกลื้อนน้ำนม (Pityriasis alba)
ผื่นแพ้บริเวณหัวนม (Nipple eczema)(รูปที่ 7)
การตอบสนองของผิวหนังเป็นสีขาวภายหลังถูกขูดขีด (White dermatographism and delayed blanch response)
ต้อกระจก (Anterior subcapsular cataracts), keratoconus
ระดับ IgE ในซีรั่มเพิ่มขึ้น
การทดสอบผิวหนังชนิด immediate-type hypersensitivity ให้ผลบวก
เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อย
มีถุงใต้ตา (Dennie-Morgan infraorbital folds) หรือมีรอยคล้ำรอบตา (orbital darkening)
ใบหน้าแดงหรือซีดขาวกว่าปกติ (erythema or pallor)
ผิวหนังบริเวณรอบรูขนยกนูนขึ้น (perifollicular accentuation)
สิ่งแวดล้อมและอารมณ์มีผลต่อการดำเนินโรค
รูปที่ 5
รูปที่ 6
รูปที่ 7
การวินิจฉัย
ทำโดยซักประวัติผู้ป่วยและประวัติครอบครัว รวมถึงการตรวจร่างกาย เพื่อหาอาการและอาการแสดงตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้ป่วยจะต้องมีอาการและอาการแสดงหลัก (Major features) อย่างน้อย 3 ข้อ ร่วมกับมีอาการและอาการแสดงรอง (Associated features) อย่างน้อย 2 ข้อ จึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค
สำหรับอายุที่เกิดโรคที่น้อยที่สุด คือแรกเกิด โดยพบว่า ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยเกิดผื่นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ร้อยละ 60 ของผู้ป่วย เกิดผื่นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 1 ปี และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเกิดผื่นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 40-60 ของผู้ป่วย ยังคงมีผื่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ อาการของผู้ป่วยแบ่งได้เป็น 3 วัยคือ
1. วัยทารก
(infantile atopic dermatitis) คือตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี ผื่นมักเป็นระยะเฉียบพลัน (acute or subacute stage) มีตุ่มน้ำเล็กๆ หรือมีน้ำเหลือง ขอบเขตไม่ชัดเจนมักพบทั้ง 2 ข้างของร่ายกายเท่าๆ กัน (symmetrical) ในเด็กเล็กอายุกว่า 6 เดือน มักพบผื่นบริเวณใบหน้า รอบปาก ศรีษะ บางครั้งอาจพบผื่นบริเวณลำตัวด้วย ในเด็กอายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป มักพบผื่นบริเวณด้านนอกของแขนขาเนื่องจากเด็กเริ่มคลาน
2. วัยเด็ก
(childhood atopic dermatitis) คือตั้งแต่ 2 ปีถึงวัยรุ่น มักเป็นผื่นแบบเรื้อรัง (chronic stage) เห็นเป็นผื่นหนาเป็นร่อง (lichenification and fissure) มักพบบริเวณข้อพับ คอ รอบเปลือกตา ไม่ค่อยมีน้ำเหลือง
3. ผู้ใหญ่
(adult atopic dermatitis) มีลักษณะคล้ายกับที่พบในวัยเด็ก แต่พบผื่นแพ้บริเวณมือ หัวนม และริมฝีปากมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องผื่นแพ้บริเวณมือเรื้อรัง โดยไม่มีผื่นบริเวณอื่นร่วมด้วย
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย