ลักษณะทั่วไปของพยาธิใบไม้ที่เป็นปรสิตของคน (General morphology of Trematode, fluke)
พยาธิใบไม้ เป็น class หนึ่งใน Phylum Platyhelminthes

พยาธิใบไม้ที่เป็นปรสิตของคน อยู่ใน subclass Digenea ของ class Trematoda ซึ่งในวงจรชีวิตต้องอาศัย โฮสท์อย่างน้อย 2 ชนิด เพื่อการเจริญเติบโต จึงเรียกว่า Digenetic trematode (di แปลว่าสอง) และมีชื่อสามัญว่า fluke
<รูปร่างลักษณะ><ขนาด><ผิวหนัง><ระบบทางเดินอาหาร><ระบบขับถ่าย><ระบบประสาท><ระบบสืบพันธุ์>
รูปร่างลักษณะ (Body form)
ส่วนใหญ่มีรูปร่างคล้ายใบไม้ แบบ dorsoventrally flattened ลำตัวไม่เป็นปล้อง ไม่มีช่องว่างในลำตัว
[ยกเว้น พยาธิใบไม้เลือด Schistosoma    spp. (คลิกเมาส์) มีรูปร่างยาว คล้ายหนอนพยาธิตัวกลม]
ช่องปาก มีกล้ามเนื้อล้อมรอบเรียก oral sucker ใช้ยึดเกาะและดูดอาหาร พยาธิใบไม้ที่เป็นปรสิตของคนมักมี ventral sucker ด้วย ใช้ยึดเกาะกับอวัยวะของโฮสท์
Fluke ส่วนมากเป็น distome คือ มี ventral sucker อยู่ระหว่าง oral sucker และบริเวณกึ่งกลางของ
ลำตัว
ถ้า ventral sucker อยู่ปลายสุดของลำตัว เรียกรูปร่างลักษณะแบบนี้ว่า amphistome (amphi แปลว่า both หรือ on both sides) ถ้า มีventral sucker ในตำแหน่งอื่น ๆ เรียก distome ถ้าไม่มี ventral sucker มีแต่ oral sucker อย่างเดียวเรียก monostome (ventral sucker ที่มีขนาดใหญ่มากๆ มักเรียกว่า acetabulum)
ขนาด (Size)
Fluke ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ พวก heterophyids เป็น minute intestinal fluke ความยาวประมาณ 1.0 มม. ส่วนขนาดใหญ่สุด คือ Fasciolopsis buski    ขนาดประมาณ 2.0-7.5 ซม.
ในกรอบสี่เหลี่ยม คือ ขนาดที่ขยายใหญ่
ผิวหนัง (Tegument)
Phylum Platyhelminthes มีผิวหนังเป็น tegument ซึ่งเป็น nucleated cell เรียงตัวชั้นเดียว
แต่ละเซลไม่มี intervening cell membrane เชื่อมต่อกันเป็น syncytium
Scanning electron micrograph
tegument อาจเว้าเป็นร่อง (sunken epidermis) เป็นหลุม (pit) หรือพองเป็นตุ่มนูน (papillae) บางชนิดมีหนาม (spine) แทรกอยู่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ของ tegument และทำหน้าที่อื่นๆ เช่น รับความรู้สึก ต่อต้านน้ำย่อย และ ต่อต้านแอนติบอดี้ เป็นต้น ลักษณะภายนอกเหล่านี้มีความจำเพาะ- แตกต่างกันไปตามชนิดของพยาธิใบไม้ และแตกต่างไปตามตำแหน่งบนตัวพยาธิใบไม้นั้นๆ
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูคำอธิบาย
ระบบทางเดินอาหาร (Alimentary system)
อาหารที่ไม่ใช่สารสะลาย จะผ่านเข้าช่องปากไป pharynx , esophagus และแยกไปตาม intestine ทั้งสองทาง ตามแนวซ้ายขวาของลำตัว (fluke บางชนิดพบระบบทางเดินอาหารแยกเพิ่มเป็นกิ่งแขนง (คลิกเมาส์)ทั้งซ้ายและขวา) ปลายสุดของลำไส้จะตัน ไม่มีทางเปิดแบบทวารหนัก ดังนั้น กากอาหารจะถูกขับออกทางปาก
ระบบขับถ่าย (Excretory system)
ระบบนี้ทำหน้าที่ขับของเสียจากร่างกาย ควบคุมแร่ธาตุและแรงดัน osmotic ภายในร่างกาย กำจัดสารที่ไม่ต้องการหรือสารพิษออกจากร่างกาย ระบบนี้ประกอบด้วย flame cell หรือ flame bulb เป็น ciliated cell ที่เรียกว่า protonephridium กระจายทั่วลำตัว เซลเหล่านี้จะเปิดร่วมกันที่ collecting tubule และต่อรวมเป็น excretory bladder มีปลายเปิดด้านท้ายสุดของลำตัว
ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาทมีลักษณะแบบขั้นบันได เรียกว่า orthogon มีปมประสาท กระจายทั่ว บริเวณหลอดอาหารมีมากที่สุด ลำตัวแต่ละด้านซ้ายขวามีเส้นประสาท 3 เส้น ทอดยาวลงมาเป็น dorsal nerve, lateral nerve และ ventral nerve แต่ละเส้นถูกเชื่อมตามขวางด้วย interval transverse commissures
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)

ระบบสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย รวมอยู่ในตัวเดียวกัน เป็น hermaphrodite (ยกเว้น พยาธิใบไม้เลือด (คลิกเมาส์) ตัวผู้ ตัวเมีย อยู่แยกคนละตัว) การผสมพันธุ์เป็นแบบข้ามตัว cross-inseminate ถ้ามีพยาธิเพียงตัวเดียวก็ผสมพันธุ์ภายในตัวเดียวได้

อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้
Digenetic trematode (fluke) มักมี testes 2 อัน [ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือดมีมากกว่า] ลักษณะ testes กลม หรือรี หรือเป็นแขนงก็ได้
 
คลิ๊กอ่านรายละเอียดตามลำดับหมายเลข
น้ำเชื้อ spermatozoa จะผ่านมาถึง cirrus ปล่อยออกทาง cirrus pore มาที่บริเวณของ common genital atrium เป็นบริเวณใกล้กับ vental sucker มาก บริเวณนี้มีรูเปิดอีกรูหนึ่งคือ genital pore ของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย

อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (Female reproductive system)
มักมี ovary 1 อัน ลักษณะกลมหรือรี หรือเป็นเว้า เป็นร่อง หรือเป็นแขนงก็ได้ ไข่ จาก ovary จะผ่านมาตาม oviduct ในขณะที่ spermatozoa ที่ส่งมาจาก seminal receptacle ซึ่งเป็นถุงเก็บ spermatozoa ที่รับน้ำเชื้อเข้ามาทางปลายเปิดของ Laurer’s canal (canal นี้ มีปลายเปิดที่ผิว tegument ตรง dorsal surface ใช้เป็น vagina หรือทางรับ spermatozoa จากตัวอื่น)
เมื่อไข่และ spermatozoa ผ่านมาเรื่อยๆ จะพบกับสารสร้างเปลือกไข่และอาหารของตัวอ่อนส่งมาจาก vitelline gland ไข่และ spermatozoa จะเคลื่อนมาเรื่อย ๆ จนถึง ootype ซึ่งเป็นถุงพักให้มีการผสมพันธุ์กันที่นี่ ไข่จะได้รับสารหล่อลื่นจากต่อม Mehlis’gland ต่อมเหล่านี้จะอยู่ล้อมรอบ ootype เพื่อให้ไข่ที่ผสมแล้ว ไหลไปตามท่อมดลูกได้สะดวก จนผ่านออกที่ genital pore
Fluke บางชนิดไม่มี Laurer’s canal เชื้อตัวผู้ spermatozoa จากตัวอื่นจะเข้าทาง genital pore มาเก็บไว้ที่ seminal receptacle เช่นกัน  แล้วจึงเกิดการผสมพันธุ์กันดังกล่าว ถ้ามีพยาธิเพียงตัวเดียว spermatozoa จาก cirrus pore จะเข้าทาง genital pore ก็ผสมพันธุ์ภายในตัวเดียวได้
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย