การเจริญเติบโตและวงจรชีวิต (Development and life cycle)
<Egg><Miracidium><Sporocyst><Redia><Cercaria><Metacercaria>
Digenetic trematode (Fluke) ในวงจรชีวิตต้องอาศัยโฮสท์อย่างน้อย 2 ชนิด เพื่อการเจริญเติบโต
1. Definitive host มักเป็นพวก vertebrate เป็นโฮสท์ที่ปรสิตระยะตัวแก่ (เติบโตเต็มที่แล้ว) อาศัยอยู่ และมีการสืบพันธุ์แบบ sexual reproduction
2. Intermediate host ของพวก fluke ทุกชนิด ต้องอาศัย หอยน้ำจืด เป็นโฮสท์กึ่งกลาง ตัวที่หนึ่ง เพื่อให้ระยะตัวอ่อนใช้เป็นที่เพิ่มจำนวนแบบ asexual reproduction
เมื่อไข่และ spermatozoa ผสมพันธุ์กันแล้ว ไข่ที่ออกจากพยาธิใบไม้ตัวแก่จะผ่านออกจาก ร่างกายโฮสท์ สู่สิ่งแวดล้อมหรือปนเปื้อนในระบบนิเวศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยแหล่งน้ำจืด เพื่อการเจริญเติบโต ตามวงจรชีวิต มีลำดับดังนี้
Egg
ไข่ของพยาธิใบไม้เกือบทุกชนิดมีรูปทรงแบบไข่ไก่ และเกือบทุกชนิดมี operculum เป็นฝาเปิดปิด (ยกเว้นไข่ของพยาธิใบไม้เลือด ไม่มี operculum แต่มี spine เล็กหรือใหญ่ อยู่ด้านข้างหรืออยู่ส่วนปลายของไข่ก็ได้) ตัวอ่อนในไข่ออกจากไข่ทาง operculum
ไข่ของพยาธิใบไม้บางชนิดเป็น embryonated egg คือเมื่อออกจากพยาธิตัวแก่และออกนอกโฮสท์ จะมีตัวอ่อนระยะแรก (miracidium) เรียบร้อยแล้ว

 

ไข่บางชนิดเป็น non-embryonated egg ยังไม่มีตัวอ่อนระยะแรกภายในไข่ ไข่พวกนี้ต้องอาศัยแหล่งน้ำจืดและมีอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง และ ปริมาณ O2 เหมาะสม ตามต้องการ จึงจะเจริญพัฒนาเป็น embryonated egg ภายในไข่มี miracidium

Miracidium
ตัวอ่อนระยะนี้บอบบาง มี cilia รอบตัว ส่วนหน้ามี apical gland ใช้สร้าง enzyme สำหรับไชเข้าโฮสท์ตัวกลางที่ 1 (first intermediate host) พวกหอยน้ำจืดต่อไป

miracidium ของพยาธิใบไม้บางชนิด เมื่อฟักออกจากไข่แล้ว จะว่ายอยู่ในน้ำจืด แล้วจึงไชเข้าหอย แต่พยาธิใบไม้บางชนิด เช่น Opisthorchis   spp. ไข่ต้องถูกหอยกินเข้าไปก่อน แล้ว miracidium จึงฟักออกจากไข่ได้ (ตรงบริเวณหลอดอาหารของหอย)

miracidium ของพยาธิใบไม้แต่ละชนิด มี host species specific จำเพาะต่อหอยเฉพาะชนิด เมื่อเข้าสู่หอยที่เหมาะสมได้ จะสลัด cilia มี metamorphosis เปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น sporocyst ในหอย
Sporocyst

Sporocyst ที่เกิดขึ้นในหอย มีรูปร่างเป็นถุง ภายในมี stem cell และ germ cell ทำให้ sporocyst รุ่นแรกหรือ first generation of sporocyst นี้ สามารถเพิ่มจำนวน sporocyst แบบ asexual reproduction เกิด second generation of sporocyst จำนวนมาก ภายใน sporocyst รุ่นแรกแต่ละตัว และในวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ส่วนใหญ่ จะเรียก second generation of sporocyst เหล่านี้ว่า redia

Redia

Redia จึงเป็นระยะตัวออ่นอีกระยะหนึ่ง แต่ละตัวมีรูปร่างยาว มีรูเปิด birth pore มีปาก มี pharynx , intestine มีระบบขับถ่าย และมี germ cells ซึ่งคงความสามารถแบ่งตัว แบบ asexual reproductionได้ เกิดตัวอ่อนภายใน redia มากมาย ตัวอ่อนเหล่านี้คือ second generation of redia หรือมักเรียกว่า cercariae

Cercaria

Cercaria จะเบียดกันแน่นภายใน redia แต่ละตัว และจะออกจาก redia ทาง birth pore แล้วอาศัย enzyme จากต่อมต่างๆ เช่น penetration gland ช่วยให้ไชออกจากเนื้อหอย ว่ายสู่แหล่งน้ำเป็น free-living ได้ในเวลาสั้นๆ (24-48 ชม.)

cercaria (คลิกเมาส์) กระฉับกระเฉงว่องไวมักมีหาง ลักษณะหางจะจำเพาะกับแต่ละชนิดของพยาธิใบไม้ เช่น microcercous cercaria ของพยาธิใบไม้ปอด หางสั้นแบบ small, knoblike หรือ furcocercous cercaria ของพยาธิใบไม้เลือด มีหางยาวเป็นแฉก แบบ forked tail เป็นต้น
1 egg 1 miracidium 1 sporocyst
1 sporocyst rediae จำนวนมาก
1 redia cercariae จำนวนมาก
1 cercaria 1 metacercaria
cercaria ต้องหาโฮสท์ใหม่ คือ second intermediate host ที่จำเพาะเหมาะสมกัน โดยจะสลัดหางแล้วไชเข้าไปภายใน หรือเพียงเกาะที่ผิวของโฮสท์ตัวกลางที่สองนี้ เพื่อเจริญเป็นระยะ metacercaria
Metacercaria

ลักษณะเป็นถุงซีสต์ หรือเป็น encysted cercaria นั่นเอง metacercaria เป็นระยะติดต่อ(infective stage) เมื่อถูกกินโดย definitive host แล้วจะ excyst ได้พยาธิรุ่นเยาว์ ( juvenile fluke) เดินทางไปยัง habitat หรือ specific organ ของ fluke แต่ละชนิด (ภาพประกอบ 1), พยาธิใบไม้แต่ละชนิดจะมี second intermediate host ที่มีความจำเพาะ (ภาพประกอบ 2), (ภาพประกอบ 3)

ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย