การก่อโรคและอาการ (Pathogenicity and Symptom)
โรคติดเชื้อพยาธิใบไม้เกิดจากการกิน metacercaria ซึ่งเป็นระยะติดต่อ (infective stage) ที่ติดอยู่ในโฮสท์ตัวกลางระยะที่สอง หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ โฮสท์ตัวกลางระยะที่สองเป็นแหล่งของการติดเชื้อ (source of infection) โรคติดเชื้อพยาธิใบไม้เกือบทุกชนิดเป็นโรคที่เกิดจากการกิน (food borne parasitic infection) ยกเว้น โรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosoma    spp.) เท่านั้น ที่ไม่ได้เกิดจากการกิน เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดไม่มีโฮสท์กึ่งกลางตัวที่สองในวงจรชีวิต ทำให้ตัวอ่อน cercariae เมื่อออกจากหอยและว่ายอยู่ในน้ำจืดนั้นต้องไชเข้า definitive host ผ่านทางผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป ใน digenetic trematode ที่มีคนเป็น definitive host นั้นการก่อโรคเกิดจากพยาธิทั้งระยะตัวแก่ juvenile fluke และระยะไข่ ปัจจัยด้านปรสิตยังขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ปริมาณการติดเชื้อ ขนาดของปรสิต ระยะเวลาที่ติดเชื้อและอวัยวะที่เชื้ออาศัยอยู่ ( habitat) ส่วนปัจจัยด้านโฮสท์ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม อายุ ภาวะโภชนาการ ภูมิต้านทาน และอื่น ๆ ของร่างกาย
1. การเกิดพยาธิสภาพทางกายภาพ (Mechanical injury)
การเกาะดูดของพยาธิใบไม้
ทำให้ epithelium, mucosa
ได้รับการระคายเคือง ลำไส้เป็นแผล ปวดท้องแบบลำไส้บิดตัว
(colicky pain) ได้
Echinostoma spp.
มี spine ขนาดใหญ่รอบๆ
oral sucker ย่อมมี ulceration
กรณี minute intestinal fluke ถ้าเกาะกับ mucosa อย่างเดียว พยาธิสภาพน่าจะน้อย แต่ปรสิตพวกนี้ก่อผลเสียมากกว่า เพราะการที่ปรสิตเล็กมากๆ พยายามเกาะและกดบนผิว muscosa ที่มีความอ่อน และยืดหยุ่น ทำให้ตัวปรสิตหลุดผ่าน mucosa เข้าถึง circulation ไปตาม lymphatic vessel ได้ เกิดเป็น ectopic lesion ในอวัยวะอื่นๆ ระยะไข่ที่ปล่อยออกจากปรสิตตัวแก่ระหว่างที่อยู่ใน circulation, lymphatic vessel

ยังทำให้ไข่ไปติดอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่นที่หัวใจ สมองเกิดเป็น ectopic lesion ได้
สุดท้ายมี granulomatous reaction ล้อมรอบไข่ได้ด้วย
ทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นๆ
เสียหาย

ปรสิตพวกพยาธิใบไม้ปอด Paragonimus    spp. เมื่อ jurvenile fluke ที่ออกจาก metacercaria ในทางเดินอาหาร ไชออกสู่ช่องท้องผ่าน diaphragm ไปเนื้อปอด ไป bronchiole เจริญเป็นตัวแก่ ย่อม เกิด mechanical injury ตามตำแหน่งต่างๆ
mechanical injury จากพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini     ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น inflammation ทำให้เยื่อบุท่อทางเดินน้ำดี เกิด obstruction น้ำดีอุดตัน ทำให้มีตัวเหลือง ตาเหลือง และสุดท้ายเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นมะเร็งท่อน้ำดี (chlolangiocarcinma) ด้วย
มะเร็งท่อทางเดินน้ำดี
2. การแย่งอาหาร (Nutrition robbing)
การแย่งอาหารของปรสิตพวกพยาธิ ใบไม้ไม่เด่นชัดเหมือน พยาธิตืดและพยาธิตัวกลม นอกจากพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดใหญ่ F. buski     (the giant intestinal fluke) ที่มีผลต่อ vitamin B12 ในผู้ป่วย
3. การผลิตสารพิษ (Toxin production)
พยาธิใบไม้ในแต่ละที่อยู่อาศัยย่อมมี protein, enzyme และ excretory-secretory products ต่างๆ จาก metabolism นอกจากเป็นพิษโดยตรงต่อโฮสท์ ยังมีความเป็น antigen สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทำให้โฮสท์มีปฏิกิริยาทางภูมิต้าน และปฏิกิริยา hypersenitvity ได้ เช่น ทำให้มี blood eosinophilia, uticaria, pulmonary eosinophilia หรืออื่นๆ เป็นต้น
4. กลไกการกำจัดของระบบภูมิต้าน (Host immune defense mechanism)
ภูมิต้านทานของโฮสท์ทำให้ globet cell ในลำไส้หลั่ง mucous ทำให้ลำไส้บีบตัว ถ้าเชื้อปรสิตอยู่ในเนื้อเยื่อของอวัยวะอื่นๆ ภูมิต้านก่อให้เกิด inflammation เกิด granuloma มี obstruction และอื่นๆได้ เช่น granuloma ที่ล้อมรอบไข่ของพยาธิใบไม้เลือด ทำให้ผู้ป่วยมีตับโต ม้ามโต (Hepato-splenic disease) ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนเกิดเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย