Indication
                        1.  ให้ความชื้นร่วมกับอากาศหรือ O2 ที่หายใจเข้าไปในทางเดินหายใจ
                        2.  ให้ยาเข้าไปในทางเดินหายใจเพื่อรักษาโรคในปอดและหลอดลมโดยตรง
                        3.  ให้น้ำเข้าไปในปอดและทางเดินหายใจ เพื่อช่วยในการทำกายภาพบำบัดของทรวงอก(chest Physical therapy)
 
  Contraindication
                         -  ห้ามใช้น้ำกลั่น (Distilled water) เป็นตัวผสมกับยาที่จะใช้พ่น
 
  อุปกรณ์
- Medicated nebulizer
- สาย O2
- mask
- drug, NSS
- syringe
  Method
Click ที่ภาพเพื่อดูวิธีทำ (VDO)
ดูดยาใส่ในกระเปาะ (medicated nebulizer)
ผสมกับน้ำเกลือ ให้ได้ปริมาตรรวมประมาณ 2.5-4 มล. แล้วหมุนกระเปาะ บิดตามเกลียวให้แน่น
ต่อท่อแก๊สออกซิเจนที่ก้นกระเปาะ และต่อท่อกับเครื่อง air compressorที่สามารถอัดอากาศได้อย่างอัตโนมัติ
โดยไม่ต้องผ่านน้ำในเครื่อง Humidifier
เปิดอัตราไหลของแก๊ส 6-8 ลิตร/นาที
ต่อกระเปาะยากับ aerosol face mask ที่มีรูกลมเปิดที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้าง
นำไปครอบที่ปากและจมูกของเด็ก
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกปกติ ในท่านั่ง
เคาะกระเปาะยาเป็นระยะๆ เพื่อเคาะให้ยาที่ติดค้างข้างกระเปาะ ตกลงมาที่ก้นกระเปาะ
พ่นยาต่อจนกระทั่งยาหมดกระเปาะ หรือไม่เห็นละอองยา โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ10-15 นาที
           การให้ aerosol ด้วยวิธีนี้ แม้แต่ในผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่จำนวนยาเพียง 9-12 เปอร์เซ็นต์ของยา 
ที่ใส่ในกระเปาะเท่านั้นที่เข้าสู่ปอด ส่วนใหญ่จะค้างอยู่ในกระเปาะ หรือพ่นออกสู่บรรยากาศภายนอกการให้โดย face
mask ควรจับหรือยึดให้ face mask อยู่ชิดกับหน้ามากที่สุด เพราะถ้า facemask ห่างจากใบหน้าเพียง 2 ซม. จำนวน aerosol ของยาที่จะเข้าสู่ปอดจะลดลงไปถึง85 เปอร์เซ็นต์ 
           อนึ่งการใช้อุปกรณ์ nebulizer ควรสังเกตลักษณะ aerosol ที่เกิดขึ้นทุกครั้งบางครั้งกระเปาะยาที่ใช้หลายครั้ง 
อาจมีการรั่วซึม หรือละอองยาดูขนาดไม่ละเอียดเท่าที่ควร หรืออัตราการพ่นเป็นaerosol ลดลง ต้องเปลี่ยนกระเปาะ 
ยาใหม่ นอกจากการตรวจกระเปาะยาแล้ว ควรตรวจสภาพของเครื่องพ่นยา หรือ flowmeter เพราะเครื่องมือที่ใช้ เป็น
เวลานานอาจชำรุด แรงอัดอากาศลดลง หรืออัตราไหลของแก๊สลดลง ทั้งๆที่หมุนตั้งไว้ที่ตำแหน่งเดิมข้อผิดพลาด 
เหล่านี้ อาจเป็นผลให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะให้ยาที่ถูกต้องแล้วก็ตาม 

ข้อดี  ของการรักษาโดยใช้สูดฝอยละอองยาโดยผ่านทาง nebulizerได้แก่
           1.  วิธีใช้ง่าย สะดวก ไม่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย สามารถใช้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็กทารกจนถึงผู้ใหญ่ ใช้ได้ทั้งผู้ป่วย อาการรุนแรงในไอซียู จนกระทั่งถึงการรักษาที่บ้าน
           2. สามารถให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องได้ตลอดขณะพ่นยา
           3. ส่วนผสมที่เป็นน้ำเกลือจะมีส่วนช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ความเหนียวของเสมหะน้อยลงได้
          4.  สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีท่อหลอดลมคอและไม่หายใจเองโดยต่อกับ resuscitation bag หรือ เครื่องช่วยหายใจ
          5.  สามารถผสมยา2 ชนิดพร้อมกันได้ในขณะเดียวกัน เช่น salbutamol กับ sodium cromo-glycate เป็นต้น
 ข้อเสีย  ได้แก่
          1.  เครื่องมือมีราคาแพง
          2.  เครื่องพ่นยาหรือแท๊งค์แก๊สมีขนาดใหญ่ขนย้ายไม่สะดวก พกติดตัวไม่ได้
          3.  ใช้เวลาในการพ่นยาแต่ละครั้งค่อนข้างนานประมาณ5-15 นาที
         4.  มีโอกาสเกิดcontamination มากกว่าวิธีอื่น โดยเฉพาะถ้าต้องล้างกระเปาะเพื่อนำมาใช้ใหม่หรือต้องผสมน้ำเกลือกับยา
             ก่อนพ่นทุกครั้ง
         5.  ขนาดยาที่ใช้แต่ละครั้งสูงกว่าและราคาแพงกว่าที่ให้โดยวิธีอื่น

 ยาที่ใช้ในการบำบัดรักษาด้วยฝอยละออง
           1. Decongestant
           2. Bronchodilators
           3. Mucolytics
           4. Anti - inflammatory drug
           5. Anti - microbial agents
 

  Complication

                    -  preservative ในยาที่ใช้
                    -  ยาละลายเสมหะ และยาต้านจุลชีพ อาจทำให้เกิด bronchospasm ได้
                    -  ยาขยายหลอดลม ในบางราย
                    -  anticholinergic aerosol ถ้าใช้นานๆอาจทำให้เกิด glaucoma ในผู้ป่วยที่มีanterior chamber ตื้นอยู่แล้วได้
                    -  การใช้ยา b-agonists ขนาดสูงๆอาจทำให้มี cardiac arrythmia ได้
                    -  ควรใช้ O2  ในการพ่นยาของหลอดลมในเด็กที่มีอาการหอบมากๆเพื่อป้องกันภาวะ hypoxia เพราะขณะพ่นยา
อาจทำให้เกิด ventilation - perfusion mismatch มากขึ้น
 

  Evaluation

                    1.  ใช้ยาขยายหลอดลม ในขนาด 0.1 cc/kg/dose ของ ventolin nebuleหรือยาอื่นๆที่ต้องการ ผสมกับ normal saline
                          ให้มีปริมาตรอย่างน้อย 2.5-3 cc. เทใส่กระเปาะแล้วหมุนให้แน่น (20 คะแนน)
                    2.  ต่อสายออกซิเจนที่ก้นกระเปาะ โดยให้มี flow rate ~ 6-8 L/min โดยไม่ต้องผ่านน้ำในเครื่อง Humidifier
(20 คะแนน)
                    3.  ต่อปลายบนของกระเปาะยากับ aerosal face mask แล้วนำไปครอบที่ปากและจมูกของเด็ก(10 คะแนน)
                    4.  ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกผ่านทาง mask ปกติ ในท่านั่ง (10 คะแนน)
                    5.  เคาะกระเปาะยาเป็นระยะๆ เพื่อให้น้ำยาที่ติดค้างข้างกระเปาะตกลงมาที่ก้นกระเปาะ(10 คะแนน)
                   6.  พ่นยาต่อจนกระทั่งน้ำยาหมดกระเปาะ หรือไม่เห็นละอองยาเป็นควันสีขาวๆแล้วโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ
10 นาที (10 คะแนน)
                   7.  ในกรณีที่ผู้ป่วยหอบมาก สามารถใช้ยาขยายหลอดลมพ่น ได้ทุก 20 นาทีx 3 ครั้ง เมื่อดีขึ้น ก็ค่อยๆ เลื่อนระยะเวลาออกไป เป็นทุก1, 2, 3, หรือ 4 hrs ตามลำดับ (20 คะแนน)
 

Please send your answer to femd@md2.md.chula.ac.th

บทเรียนอื่น ๆ I HomePage คณะแพทยศาสตร์ I แบบประเมินบทเรียน