ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยรายนี้มีลักษณะเป็น regular rhythm โดยมี QRS rate ช้ากว่าปกติ ลักษณะของ QRS complex เข้าได้กับลักษณะของการมี right bundle branch block ( มี rSR' ใน right chest leads (V4R และ V1) มี slurred S ใน left chest leads (I,aVL และ V6) และมีความผิดปกติที่เห็นชัดเจนคือมีความผิดปกติในความสัมพันธ์ของ P wave และ QRS complex โดยมีลักษณะดังนี้
        1. มี P wave axis ปกติ มี P wave นำหน้า QRS complex ทุกครั้งและมี PR interval ที่คงที่
        2. มี P wave 2 ตัว นำหน้า QRS complex 1 ตัว โดย P wave ทั้ง 2 ตัวมีลักษณะเหมือนกันและมีระยะ PP interval คงที่
ลักษณะดังกล่าวเข้าได้กับ type II second degree atrioventricular block (2:1 AV block)
        ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะเป็น regular rhythm แต่มีอัตราเร็วกว่าปกติ (tachycardia) โดยมี QRS rate 270 ครั้งต่อนาที มี narrow QRS complex และลักษณะที่พบคือไม่มี P wave นำหน้า QRS complex ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก P wave ซ่อนอยู่ใน QRS complex การวินิจฉัยจึงเป็น supraventricular tachycardia โดยอาจเป็น atrioventricular reentry tachycardia (AVRT) หรือ atrioventricular nodal reentry tachycardia (AVNRT)
        เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีอาการของ cardiovascular instability การรักษาจึงต้องให้การรักษาฉุกเฉิน โดยเริ่มต้นจากการดูแลเรื่อง ระบบทางเดินหายใจ ช่วยหายใจในกรณีที่จำเป็น หลังจากนั้นจึงหยุด tachycardia โดยการทำ cardioversion ทันที สำหรับผู้ป่วยที่เปิดเส้นเลือดได้อย่างรวดเร็ว อาจรักษาโดยการให้ adenosine ในขนาด 0.1-0.2 mg/kg ทางหลอดเลือดดำ โดยการให้อย่างรวดเร็ว (double syringes method)
        ในกรณีที่เป็น sinus tachycardia จะพบว่ามี P wave นำหน้า QRS complex และโดยทั่วไปอัตราการเต้นของหัวใจมักไม่เกิน 180 ครั้งต่อนาที ในเด็กวัยทารก ในกรณีที่ถึงแม้ว่าจะเห็น P wave นำหน้า QRS complex แต่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 200 ครั้งต่อนาที ก็สามารถให้การวินิจฉัยเป็น supraventricular tachycardia ได้
ในบางกรณีของ supraventricular tachycardia อาจพบมี irregular rhythm ได้
        ในบางครั้งจะเห็น P wave นำหน้า QRS complex ซึ่งจะพบได้ในกรณีของ ectopic atrial tachycardia และในบางครั้งจะพบว่ามี QRS duration กว้างกว่าปกติได้ (supraventricular tachycardia with bundle branch block) ซึ่งส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็น right bundle branch block
ผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยรายที่ 3 ผู้ป่วยรายที่ 4 ผู้ป่วยรายที่ 5