ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะเป็น regular rhythm โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจ 150 ครั้งต่อนาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เร็วกว่าปกติ (tachycardia) ลักษณะ QRS complex ปกติ ความผิดปกติที่พบคือมี P wave 2 ตัวนำหน้า QRS complex 1 ตัว มีระยะ PP interval คงที่และมีลักษณะที่เรียกว่าเป็น sawtooth configuration ซึ่งเข้าได้กับ atrial flutter หรือที่เรียกว่า 2:1 atrial flutter ลักษณะของ atrial flutter ในเด็กบ่อยครั้งที่จะไม่มีลักษณะของ typical sawtooth configuration แต่จะมี isoelectric line ระหว่าง P wave ลักษณะของ 2:1 atrial flutter แยกได้ยากจาก sinus tachycardia สิ่งที่อาจนำมาเป็นข้อสังเกตคือ ลักษณะของ positive หรือ negative wave ที่ตามหลัง QRS complex จะมีลักษณะหัวค่อนข้างแหลม และมีระยะเวลาจาก R wave มาถึง positive wave ดังกล่าวสั้นกล่าวปกติ ซึ่งลักษณะดังกล่าวไม่น่าจะเป็น T wave ควรจะเป็น P wave มากกว่า
        แต่ถ้ามีลักษณะดังในคลื่นไฟฟ้าหัวใจในรูปนี้ สามารถให้การวินิจฉัยเป็น atrial flutter ได้ง่าย เนื่องจากเป็น 3:1 flutter และมีลักษณะของ sawtooth configuration ชัดเจน

        ในบางครั้งผู้ป่วยที่มี atrial flutter อาจมีลักษณะของ irregular rhythm ได้ โดยมี atrial rate 375 ครั้งต่อนาที และมี ventricular rate 125 ครั้งต่อนาที ในบางครั้งจะดูคล้าย atrial fibrillation ได้

        แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มี atrial enlargement มาก จะมีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังรูปนี้ได้


        ในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะต้องดูลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้ครบทั้ง 12 leads ดังในคลื่นไฟฟ้าหัวใจในรูป
ในกรณีที่ดูเฉพาะใน lead V4R, V1-V4 จะไม่เห็นลักษณะของ P wave อาจให้การวินิจฉัยเป็น atrial fibrillation แต่ถ้าดูใน lead I และ II ก็สามารถให้การวินิจฉัยเป็น atrial flutter ชนิดที่มี variable atrioventricular conduction ได้
        การรักษา atrial flutter ที่ดีที่สุด ได้แก่การทำ synchronized cardioversion การรักษาโดยการให้ยา เช่น digoxin ส่วนใหญ่ไม่สามารถหยุด atrial flutter ได้ แต่จะทำให้มี ventricular rate ช้าลงเท่านั้น มีรายงานที่พบว่า amiodarone สามารถหยุด atrial flutter ได้
ผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยรายที่ 3 ผู้ป่วยรายที่ 4 ผู้ป่วยรายที่ 5