Indication (ข้อบ่งชี้)

                           1. สำหรับวัด central venous pressure (CVP)
                           2. สำหรับการทำหัตถการ Total และ Partial exchange transfusion
                           3. สำหรับการให้สารน้ำและยาในกรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน
                           4. สำหรับให้สารน้ำที่มีความเข้มข้นสูง (hypertonic solution) หรือให้ยากลุ่ม vasopressors
 

      Contra-indication (ข้อห้าม)

                            มีการอักเสบหรือติดเชื้อบริเวณสะดือหรือภายในช่องท้อง
 

      Materials (วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น)

                           1. สาย umbilical catheter ขนาด 5F (สำหรับทารกน้ำหนักต่ำกว่า 3.5 กก) หรือขนาด 8F
                                (สำหรับทารกน้ำหนักมากกว่า 3.5)
                           2. อุปกรณ์สำหรับตัดและเย็บผูกสายสะดือ ได้แก่ เข็มโค้ง, ไหมดำ No.3, needle holder,กรรไกรตัดไหม, iris
                                forceps,hemostat, ใบมีดพร้อมด้าม
                           3. สายวัดความยาว (measure tape)
                           4. 3-way stopclock 2 อัน
                           5. 10-ml syringe และ heparinized normal saline solution
                           6. สำลีและผ้าก๊อซที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อ และน้ำยาฆ่าเชื้อ povidone-iodine
 

      Procedure (วิธีการทำ)

                         1. วางทารกใต้ radiant warmer  จัดทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย  ตรึงทารกและขาทั้งสองข้างให้อยู่คงที่
                         2. คำนวณหรือประมาณความลึกของการใส่สายสวนสะดือทาง umbilical vein ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการใส่,
                              ดังนี้
                                     2.1 ใส่เพื่อวัด CVP  ทำโดยวัดระยะทาง (หน่วยเป็นเซนติเมตร) จากหัวไหล่ด้านใดด้านหนึ่งไปยังสะดือ
                                            (shoulder-umbilicus length) นำค่าที่ได้ไป plot กราฟมาตรฐานสำหรับการคำนวณหาระยะความลึก
                                            ของการใส่ umbilical vein catheter และบวกด้วย 0.5-1 ซม. (ความยาวของ umbilical stump) ค่าที่
                                            ได้จะเป็นความลึกของการใส่สายสวนสะดือทาง umbilical vein
                                   2.2  สำหรับการทำ partial หรือ total exchange transfusion รือเพื่อให้สารน้ำ หรือยาในกรณีฉุกเฉิน
                                            หรือเร่งด่วน  ให้ใส่ลึกเพียงผ่านผนังหน้าท้องของทารกและสามารถดูดเลือดได้คล่องไม่ติดขัด ก็เพียงพอ
                                            แล้ว ซึ่งโดยทั่วไป มักใส่ลึกไม่เกิน 2-5 ซม. ขึ้นกับน้ำหนักตัวเด็กทารก
                        3.  แพทย์ผู้ทำการหัตถการทำการใส่หมวกคลุม, ปิดปากและจมูกด้วย mask, ฟอกและขัดมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ,
                             สวมเสื้อคลุม และถุงมือปราศจากเชื้อ
                       4. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณรอบสะดือและสายสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ Povidone-Iodine
                       5. ตัดสายสะดือให้ผิวหน้าตัดเรียบและเหลือความยาวประมาณ 1 ซม. จากฐานของสายสะดือด้วยใบมีด
                       6. เย็บคล้องปลายตัดของสายสะดือด้วยไหมดำแบบหูรูด (purse string suture)
                       7. เตรียมสาย umbilical catheter ขนาดเหมาะกับทารกโดยต่อด้านปลายเปิดเข้ากับ 3-way stopclock และหล่อสาย
                           catheter ให้เต็มด้วย heparinized saliue solution
                       8. ใช้ hemostat จับปลายสายสะดือให้อยู่ในลักษณะตั้งฉากกับผนังหน้าท้องและตรวจหา umbilical vein ซึ่งจะมี 1
                            เส้น มักอยู่ทางขอบนอกของสายสะดือ ลักษณะผนังบางกว่าและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า umbilical artery
                            ที่มี 2 เส้น
                       9. ทำการ remove เศษก้อนเลือดที่แข็งตัวและอุดปากรูของเส้นเลือดออกสอดใส่ ถ่างขยายรูของ umbilical vein ด้วย
                            iris forceps และสอดใส่สาย umbilical  catheter อย่างนุ่มนวลให้ปลายสาย catheter พุ่งไปทางศรีษะของทารก
                            โดยให้มีความลึก ตามวัตถุประสงค์ของการใส่สวนดังกล่าวในข้อ 2
                     10. ต่อปลายสายอีกด้านหนึ่งของ umbilical catheter ที่มี 3- way stopclock ข้ากับสาย และขวดน้ำสารละลาย
                            ที่เตรียมไว้ ทำการไล่ฟองอากาศที่ค้างอยู่ในสายให้หมดก่อนเริ่มให้สารน้ำเข้าสู่ร่างกาย
                     11. ผูกรูดไหมที่เย็บคล้องสายสะดือไว้ให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดไหลซึมจากสายสะดือและป้องกันการเลื่อนหลุดของสาย
                            umbilical catheter
                     12. ทำการยึดสาย umbilical catheter ให้อยู่คงที่โดยใช้เทปกาวยึดระหว่างสาย catheter และผนังหน้าท้อง
                     13. ถ่าย x-ray เพื่อดูตำแหน่งปลายสาย umbilical catheter ในกรณีที่ใส่เพื่อวัด CVP โดยตำแหน่งที่เหมาะสม
                            คือปลายสวน catheter ควรจะอยู่เหนือกระบังลมประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร
                     14. ห้ามทำการดันสาย umbilical catheter ให้ลึกเข้าไปกว่าเดิมอีกหลังจากที่ได้ทำการผูกยึดสาย umbilical catheter
                            ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 

     Complications (ภาวะแทรกซ้อน)

                      1. การติดเชื้อ  เนื่องจากผู้ปฏิบัติขาดความระมัดระวังในด้านเทคนิคการทำหัตถการแบบปลอดเชื้อ
                      2. Thrombolic or embolic phenomenon
                      3. Hepatic necrosis เนื่องจากใส่สาย umbilical catheter เข้าไปใน portal system และ อาจทำให้เกิด portal
                          hypertension ในภายหลังได้
                     4. หัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากใส่สาย  umbilical catheter  ลึกเกินไปถึงหัวใจ
                     5. necrotizing enterocolitis  โดยเฉพาะถ้าคาสาย umbilical venous catheter ไว้นานเกิน 24 ชม.


บทเรียนอื่น ๆ   I   HomePage คณะแพทยศาสตร์   I   แบบประเมินบทเรียน