พยาธิไส้เดือนกลม เป็นพยาธิตัวกลมที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาพยาธิตัวกลมที่อาศัยในลำไส้ของคน
ซึ่งพบได้บ่อยมากจนได้ชื่อว่า roundworm of man
โรคที่เกิดจากพยาธิไส้เดือนกลม เป็นโรคที่อยู่คู่กับมนุษย์มานานนับศตวรรษ
ซึ่งพบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน (Tropics) และเขตชิดร้อน
(Subtropics) โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความร้อนชื้น
(warm & moist) ตลอดจนในเขตอบอุ่น (temperate regions)
ในหมู่ประชากรที่อยู่อาศัยกันโดยไม่ถูกสุขลักษณะ
คาดว่ามีมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรโลก ที่ติดโรคพยาธิไส้เดือนกลม
ซึ่งบางประเทศอาจมีอัตราความชุกถึง 80% อัตราการเกิดโรคเท่ากันทั้งเพศชายและเพศหญิง
แต่จะพบในเด็ก (น้อยกว่า 10 ขวบ) มากกว่าผู้ใหญ่
เนื่องจากโรคพยาธิไส้เดือนกลมอาจแพร่แบบ hand-to-mouth
เด็กได้รับไข่ที่ปนเปื้อนในดินโดยตรงระหว่างการเล่น
หรือรับประทานดินโดยตรง โดยเฉพาะในที่ซึ่งผู้คนยากจน
เนื่องจากปัญหาด้านสาธารณสุข โรคพยาธิไส้เดือนกลมมักพบร่วมกับโรคพยาธิปากขอ
(hookworm) และพยาธิแส้ม้า (whipworm) สำหรับประเทศไทย
โรคพยาธิไส้เดือนกลมพบได้ในทุกภาค โดยมีอัตราการตรวจพบ
1.48% (พ.ศ. 2534) แต่ภาคใต้จะมีอุบัติการสูง (5.9%)
รองจากพยาธิปากขอ ตารางที่ 1 เป็นข้อมูลเปรียบเทียบอัตราความชุกของโรคพยาธิไส้เดือนกลมในภาคต่างๆ
ระหว่างปี พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2534 |