ตามปกติตัวแก่ของพยาธิไส้เดือนกลม
จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคน โดยรับสารอาหารที่ผ่านลงมา
เนื่องจากพยาธิไส้เดือนกลมไม่มีอวัยวะสำหรับยึดเกาะกับผนังลำไส้
ดังนั้นตัวแก่จึงอาศัยอยู่ในลำไส้ได้โดยการเคลื่อนที่ว่ายทวนการบีบตัวของลำไส้
(anti-peristalsis) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการบีบรัดของลำไส้อย่างรุนแรง
หรือในกรณีที่มีอาการท้องเดิน พยาธิจะว่ายทวนแรงบีบตัวของลำไส้ไม่ไหว
ในกรณีเช่นนี้อาจพบว่าผู้ป่วยจะถ่ายพยาธิออกมาเอง
พยาธิตัวเมียสามารถจะออกไข่ได้ถึงวันละ
200,000 ฟอง โดยพยาธิแต่ละตัวมีความสามารถในการออกไข่ชั่วชีวิตถึง
26 ล้านฟอง ไข่ที่เพิ่งออกมาในอุจจาระ จะมีภายในเป็น
unsegmented ovum ต่อเมื่อตกมาอยู่ในดินที่มีภาวะอุณหภูมิ
ความชื้น และออกซิเจนที่เหมาะสม ภายในเวลาประมาณ
2-3 สัปดาห์ จึงจะเจริญเป็นไข่ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ
พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญดังกล่าว
จะอยู่ที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส (21-30 องศาเซลเซียส)
อุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้จะทำให้การเจริญของตัวอ่อนช้าลง
แต่จะทำให้ไข่สามารถอยู่ได้นานขึ้น
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ไข่จะหยุดการเจริญที่ระยะ
8 เซลล์ ไข่ของพยาธิไส้เดือนกลมจะไม่ทนทานต่อความแห้ง
(desiccation) แม้ว่าจะทนทานกว่าไข่ของพยาธิแส้ม้า
ไข่พยาธิไส้เดือนกลมสามารถถูกทำลายได้โดยการถูกแสงแดดเป็นเวลานานกว่า
15 ชั่วโมง นอกจากนี้อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จะทำลายไข่ได้เช่นกัน
ไข่สามารถอยู่รอดได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในหน้าหนาว
(-8 ถึง -12 องศาเซลเซียส)
เมื่อคนกินไข่ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ
ตัวอ่อนจะถูกฟักจากไข่ที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนบน
ตัวอ่อนที่ออกมาจะมีขนาด 200-300 x 14 ไมครอน ตัวอ่อนดังกล่าวจะไชผ่านผนังลำไส้เข้าไปสู่ทางเดินน้ำเหลืองหรือเส้นเลือดดำฝอย
เมื่อตัวอ่อนผ่านเข้าไปในระบบ portal circulation จะผ่านตับและไปสู่หัวใจและปอด
ตามลำดับ โดยตัวอ่อนจะไปถึงบริเวณปอด ในช่วง 1-7
วัน หลังผู้ป่วยรับประทานไข่ซึ่งมีตัวอ่อนระยะติดต่อ
เนื่องจากตัวอ่อนขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือดฝอยของปอด
(pulmonary capillaries) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง
0.01 มม. ตัวอ่อนจึงสามารถดันหลอดเลือดฝอยแตก และเข้าไปอยู่ในถุงลม
(alveoli) อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าตัวอ่อน |