ประมวลภาพพยาธิเข็มหมุด
รูปที่ 1  พยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis ตัวเมีย 
มีขนาดยาว 8-13 มิลลิเมตร กว้าง 0.3-0.5 มิลลิเมตร มีอวัยวะสืบพันธุ์ 2 ชุด ปลายหางแหลมและเรียว รูเปิดอวัยวะเพศ (vulva) เปิดที่ตอนกลางด้านท้อง อยู่ประมาณ 1/3 จากปลายหัว ตัวเมียออกไข่ได้ครั้งละประมาณ 11,000-15,000 ฟอง

รูปที่ 2  พยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis ตัวผู้
มีขนาดยาว 2-5 มิลลิเมตร กว้าง 0.1-0.2 มิลลิเมตร ปลายหางงอเข้าทางด้าน ventral มีอวัยวะเพศ(spicule) 1 อัน

รูปที่ 3  ไข่พยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis
ขนาด 50-60 x 20-30 ไมครอน มีลักษณะแบนข้างหนึ่ง (plano-convex shape) คล้ายรูปตัวอักษร D ไม่มีสี เปลือกไข่ค่อนข้างหนา เมื่อออกมาใหม่ๆ ภายในยังไม่เกิดตัวอ่อน ในภาวะที่เหมาะสม ไข่จะเจริญเป็นระยะติดต่อในเวลา 4-6 ชั่วโมง

รูปที่ 4  ภาพตัดขวาง (Cross-section) ของพยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis ในไส้ติ่งแสดงให้เห็น lateral alae เป็นส่วนที่ยื่นออกมาเล็กน้อย ตลอดลำตัวทั้ง 2 ข้าง

รูปที่ 5  วงจรชีวิตของพยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis
พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้บริเวณ cecum ของคนซึ่งเป็น definitive host เมื่อตัวผู้และตัวเมียผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะตาย ส่วนตัวเมียจะมาออกไข่บริเวณรอบทวารหนักในเวลากลางคืน และจะตายบริเวณนั้น เมื่อสัมผัสอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม ไข่ใช้เวลาประมาณ  4-6 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวอ่อนที่อยู่ภายในเจริญจนเป็นไข่ระยะติดต่อ เมื่อคนกินหรือหายใจเอาไข่เข้าไป ตัวอ่อนจะออกจากไข่บริเวณลำไส้เล็ก และเจริญเติบโตพร้อมลอกคราบ ต่อมาจะเจริญเป็นตัวแก่ไปอาศัยอยู่ที่ลำไส้บริเวณ cecum และลำไส้บริเวณข้างเคียง

รูปที่ 6  ส่วนหัวของพยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis
ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ที่ส่วนหัวมีลักษณะสำคัญคือ มีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ แผ่ออก 2 ข้าง (dorsal-ventral) เรียกว่า Cephalic alae

รูปที่ 7  การตรวจหาพยาธิเข็มหมุด Enterobius vermicularis ด้วยวิธี Scotch tape technique